Skip to main content
sharethis

สฤษดิ์ มีตาลิป
สำนักข่าวประชาธรรม


ระหว่างที่สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่าน ต่างพุ่งความสนใจไปที่รัฐธรรมนูญ การลงประชามติ และถูกโน้มนำไปสู่การเร่งวันคืนให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว การเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนไหวผลักดันของชนชั้นนำ อันประกอบด้วยภาครัฐ ราชการ กลุ่มพรรคการเมือง  รวมไปถึงปัญญาชน และนักวิชาการทั้งหลาย ปัญหาของคนชายขอบ คนเล็กๆ จึงกลายเป็นปัญหาที่ถูกลืมทิ้งไว้  ปัญหาคนไร้สัญชาติเป็นหนึ่งในปัญหาดังกล่าว


นโยบายย่ำเท้าอยู่กับที่ ไม่มีความชัดเจน


สืบเนื่องมาจากมติ ครม.วันที่ 18 .. 2548 เรื่องการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล มาถึงวันนี้ก็กินเวลาเข้าไป 2 ปีกว่า กับนโยบายการแก้ปัญหาของกลุ่มคนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (สำรวจแบบ 89) ซึ่งดูเหมือนจะยังไม่เห็นรูปร่างแนวทางออกอย่างชัดเจน หรือจะเป็นแค่เพียงนโยบายแบบให้ความหวังลมๆ แล้งๆ กับชาวบ้านเช่นเคย 


เพราะสภาพในปัจจุบันการสำรวจดังกล่าวคงมิใช่แนวทางการแก้ปัญหาให้เห็นถึงสภาพของตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาทางด้านการควบคุมไปด้วย เพราะในหลายพื้นที่ เริ่มมีการเอาคนนอกหรือแรงงานที่อพยพเข้ามาในภายหลังเข้าร่วมการสำรวจ มีการเก็บเงิน (บนโต๊ะและใต้โต๊ะ) และการสร้างกลไกเครื่องมือในการเลือกปฏิบัติสำหรับการสำรวจ อีกทั้งในเรื่องของขบวนการการออกบัตรที่ยังล่าช้าอยู่อันเป็นผลมาจากขาดงบประมาณในการสนับสนุน ส่งผลทำให้ผู้ที่เข้าข่ายการได้รับการสำรวจต้องตกหล่นไปอีกครั้งหนึ่ง เชื่อมโยงมาจากขบวนการการจัดการที่ยังไม่ดีพอนั่นเอง


หากมองเข้าไปในประเด็นดังกล่าว เงื่อนไขหลักหรือตัวแปรที่จะผลักดันให้กลไกขับเคลื่อนก็คงจะไม่พ้นเรื่องของงบประมาณ  ถ้าหากจับตาดูกระแสอย่างใกล้ชิด ในช่วงของรัฐบาล พ...ทักษิณ ชินวัตร เราจะเห็นได้ว่ามีจำนวนเม็ดเงินเป็นพันล้านที่มีการโอนถ่ายเพื่อการพัฒนาไปตามเจ้ากระทรวงต่างๆ อย่างคึกคัก แต่แล้วทำไมกระทรวงมหาดไทยซึ่งถือว่าเป็นกระทรวงในระดับต้นๆ จึงสะดุดกับปัญหาเรื่องนี้ หรืออาจจะเป็นเรื่องของการให้น้ำหนักความสำคัญในปัญหาที่ต่างกัน จนทำให้เกิดปัญหาของการถ่ายโอนงบประมาณเพื่อการแก้ปัญหาให้บุคคลที่ไม่มีสถานะดังกล่าว


นัยยะหนึ่งของเนื้อหาดังกล่าว มีการกล่าวถึงการแบ่งเบาภาระงบประมาณของรัฐ คือ สำหรับงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามโครงการฯ เห็นควรปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.. 2549 ที่ได้รับหรือพิจารณาใช้จากเงินเหลือจ่ายไปดำเนินการในโอกาสแรกก่อน หากยังไม่เพียงพอให้กระทรวงมหาดไทยเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2550 ตามความเห็นของสำนักงานงบประมาณ ซึ่งหากเกิดการขาดงบประมาณมาสนับสนุนในการแก้ปัญหา ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าหนักใจเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เห็นภาพปัญหารางๆ ที่กำลังตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  และปฏิเสธไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับกลุ่มคนดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถูกละเมิดสิทธิ ในหลายๆ ประเด็นและปัญหาทางสังคมที่นับวันจะทวีความรุนแรง หากผู้ที่ดูแลยังไม่ให้น้ำหนักกับการแก้ไขสภาพปัญหาเท่าที่ควร


หากดูยอดสถิติที่กรมการปกครองได้ทำไว้ มีประเด็นที่น่าสนใจว่าสถิติจำนวนของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศมีจำนวนที่เป็นสถิติตัวเลขที่สูงมากโดยแบ่ง ออกเป็น 18 กลุ่ม ได้ดังนี้


 






































































































































































































ลำดับที่


ชนกลุ่มน้อย


ยอดเดิม


ถือหนังสือสำคัญประจำตัวต่างด้าว


ได้รับสัญชาติไทยตาม ม.7 ทวิ


ลงรายการสัญชาติไทยตามทะเบียนบ้าน


ยอดเพิ่ม/ลด/เกิดตาย/เปลี่ยนกลุ่มออกนอกประเทศ


ยอดปัจจุบัน


หมายเหตุ


1


บุคคลบนพื้นที่สูง


247,775


 -


  -


 23,870


+11,195


235,100


20 จังหวัด


2


อดีตทหารจีนคณะชาติ


13,143


2,789


4,922


-


+ 622


13,908


แม่ฮ่องสอน,พะเยา,เชียงใหม่,เชียงราย


3


จีนฮ่ออพยพ


7,814


4


จีนฮ่ออิสระ


16,581


-


-


-


-2965


13,616


แม่อ่องสอน,เชียงใหม่,เชียงราย


5


ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า


13,826


-


-


-


+2,776


13,616


9 จังหวัด


6


ผู้หลบหนีเข้าจากพม่า(มีถิ่นที่อยู่ถาวร)


13,000


-


-


-


+650


13,650


9 จังหวัด


7


ผู้หลบหนีจากพม่า(ผู้มาใช้แรงงาน)


101,845


-


-


-


+5,092


106,937


9 จังหวัด


8


ญวนอพยพ


33,335


96


20,898


-


+402


12,743


13 จังหวัด


9


ผู้หลบหนีจากลาว


15,713


-


-


-


-7,073


8,640


9 จังหวัด


10


เนปาลอพยพ


1,500


-


-


-


-507


993


.ทองผาภูมิจังหวัดกาญจนบุรี


11


อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา


851


560


169


-


-


122


ยะลา,สงขลา,นราธิวาส


12


ไทยลื้อ


8,926


2,161


1,925


-


+242


5,082


เชียงใหม่,เชียงราย,พะเยา


13


บุคคลบนพื้นที่สูง (เผ่าตองเหลือง)


93


-


-


-


-


93


น่าน,แพร่


14


ผู้อพยพเชื้อสายไทย(เกาะกง กัมพูชา)


7,715


6,441


-


-


+63


1,337


.ตราด


15


ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา


6,265


-


-


-


+313


6,578


.ตราด


16


ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย


7,849


-


-


-


+392


8,241


.ตาก,ประจวบฯ,ระนอง,ชุมพร


17


ชุมชนบนพื้นที่สูง


7,303


-


-


-


-


7,303


ตาก 5 อำเภอ


18


แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย


92,612


-


-


-


-


92,612


54 จังหวัด


 


รวม


596,146


12,047


27,914


23,870


+11,242


543,557


 


*อ้างอิงข้อมูลจากฝ่ายการทะเบียนชนกลุ่มน้อยส่วนกลางทะเบียนราษฎร์ สำนักบริหารการทะเบียน มกราคม 2542


จากตัวเลขสถิติ สามารถบ่งบอกได้ชัดว่ากลุ่มคนที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนนั้นยังปรากฏอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ตัวเลขดังกล่าวยังไม่นับรวมกับสถิติรวมของกลุ่มองค์พัฒนาเอกชนต่างๆที่ได้ร่วมสำรวจและจัดเก็บข้อมูล (เพราะอย่างในบางกรณีของการสำรวจโดยภาครัฐก็ยังมีปัญหาอยู่มากอย่างเช่น โครงการมิยาซาว่า ที่ทำการสำรวจแล้วไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน)


แต่หากพิจารณามองนอกกรอบการแก้ไขปัญหาในแบบเฉพาะหน้าของมติ ครม.ที่ว่าด้วยการแก้ไขสภาพปัญหาการกำหนดสถานภาพบุคคล ก็ยังมีปัญหาที่ทับซ้อนอยู่อีกคงไม่ใช่เป็นการหาทางออกที่แท้จริง เพราะอย่างกรณีของชาวเขาที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลานานซึ่งเป็นกลุ่มที่น่าจะได้รับซึ่งสัญชาติไทย ก็ยังต้องประสบกับข้อกฎหมายบางข้อที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวต้องตกสภาพเป็นคนไร้สัญชาติ (. 7 ทวิ วรรค 3) ไม่ผ่านหลักเกณฑ์ในการพิจารณาทั้งๆ ที่ อาศัยอยู่นาน 


หรือกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นเอง ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนฝั่งไทยทางฝั่งเขตมะริด ทวาย ตะนาวศรี และมาเมื่อครั้งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยได้เสียดินแดนทางแถบนี้ไปให้กับพม่า ในสัญญาการร่วมรบกับประเทศอังกฤษ คนไทยที่เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้เลยต้องถูกกลืนเข้าไปเป็นของประเทศพม่า ซึ่งทางรัฐพม่าก็มิได้ยอมรับว่ากลุ่มคนไทยดังกล่าวเป็นพลเมืองประเทศพม่า จนมาถึงในสมัยปัจจุบันรัฐไทยเองก็ไม่ได้มองว่ากลุ่มคนดังกล่าวนี้เป็นคนไทย และก็ยังเป็นประเด็นการถกเถียงกันมาจนถึงปัจจุบันเสมือนการโยนกันไปโยนกันมา อันนี้ยังไม่รวมกลุ่มปัญหาอื่นๆ อีกอาทิเช่นกลุ่มลาวอพยพ เป็นต้น


คนชายขอบกับการมีส่วนร่วมแก้ปัญหา


อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าทางออกเพื่อสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาน่าจะมีการแก้ปัญหาแบบการมีส่วนร่วม ทางภาครัฐก็น่าจะเปิดโอกาสให้ หลายฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมถึงเจ้าของปัญหาได้สะท้อนปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขควบคู่ไปด้วย เพราะในหลายพื้นที่ก็มีองค์กรที่ทำงานและให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับกลุ่มคนดังกล่าวอยู่ ซึ่งข้อมูลและข้อเท็จจริงน่าจะชี้ชัดถึงสภาพปัญหาได้ดีกว่าในระดับหนึ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานในส่วนของระบบราชการซึ่งอาจจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและค่อนข้างล่าช้า ไม่ทันต่อสถานการณ์  ซึ่งในส่วนของภาครัฐน่าจะเข้าใจตรงนี้ได้ เพราะจริงๆแล้ว ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันเพื่อการแก้ปัญหา ก็น่าที่จะหาเครื่องมือรวมไปถึงวิธีการที่จะนำพาสู่ทางออกของปัญหามาปรับใช้  หรืออย่างเช่นการทำงานเชื่อมโยงระหว่างกระทรวงเอง


ทั้งนี้ เพราะอย่างกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม ก็ยังมีงานที่ได้รับมอบหมายงานอย่าง เช่น เรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดูแลงานผ่านต่อมาจากกระทรวงการต่างประเทศเรื่อง "อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ" เพื่อนำเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ประเทศไทยเข้าร่วมด้วย ซึ่งในประเด็นก็มีการพูดถึงเรื่องของสิทธิต่างๆรวมถึงในเรื่องการสิทธิในการครองสัญชาติ ก็นับว่าเป็นปัจจัยที่หนุนเสริมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในตัวอนุสัญญาฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มองค์กรต่างๆ รวมถึงเจ้าของปัญหาสามารถจัดทำรายงานควบคู่ไปด้วยได้ ถ้าพิจารณากันไปแล้วก็สามารถทำงานเชื่อมโยงบนเส้นทางปัญหาเดียวกันได้ ไม่ใช่จะเป็นแต่ในเรื่องของการอ้างอิงข้อมูลเพื่อยกมาประชันกันในเรื่องของความถูกต้องทางด้านตัวเลขเพียงอย่างเดียว


เพราะถ้าหากรัฐยังเลือกปฏิบัติอยู่ในแนวสายทางการแก้ปัญหาเดิมแล้วเหมือนการโยนหินถามทางอยู่อย่างนี้ ก็คงจะเป็นไปได้ยาก การเดินทางของกลุ่มคนดังกล่าวก็จะไม่ถึงฝั่งฝัน.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net