Skip to main content
sharethis


Mount Muria พื้นที่แถบภูเขาไฟเก่า ในแถบตอนกลางของเกาะชวา (Java) จะเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ แห่งใหม่ของอินโดนีเซีย ( ที่มาภาพ : http://english.aljazeera.net )


 


 


ประชาไท - อินโดนีเซียเริ่มมองหาแหล่งพลังงานทดแทนให้กับประเทศ โดยมีแผนการสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ถึง 4 โรง (4 reactors) ในแถบภูเขาไฟเก่า ตอนกลางของเกาะชวา


 


รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนการที่จะสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ จำนวน 4 โรง ในในแถบภูเขาไฟเก่า ตอนกลางของเกาะชวา (Java) ซึ่งเป็นแผนการระยะยาวในการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในประเทศ รวมถึงการหาพลังงานทดแทนอื่นๆ แทนที่น้ำมันและถ่านหิน


 


โดยโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ถึง 4 โรง (4 reactors) จะกินเนื้อที่ประมาณสนามฟุตบอล 600 สนาม ซึ่งสถานที่ตั้งจะอยู่ใกล้กับย่านเกษตรกรรมในเมือง Balong  โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างถึง 10 กว่าปี และคาดว่าโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แห่งแรกใน 4 โรงนี้ จะก่อสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2015


 


ผู้สังเกตการณ์ให้ความกังวลถึงสถานที่ที่ก่อสร้าง , เพราะถึงแม้ในเขตบริเวณ Mount Muria จะเป็นเขตภูเขาไฟเก่าที่สงบมาแล้ว 3000 กว่าปี แต่เนื่องด้วยความเสี่ยงของภูมิประเทศอินโดนีเซีย ที่อยู่ในเขตวงแหวนภูเขาไฟ (ring of volcanoes) และเกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆ อาจจะไม่เหมาะสำหรับการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์


 


รวมถึงความกังวลจากชุมชนใกล้เคียงในย่านที่ตั้งของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่ , ซึ่งมีจำนวนครอบครัวเกษตรกร ถึง 5000 คน อาศัยอยู่ในแถบนี้ "ไม่มีที่อื่นที่จะสร้างแล้วหรือ? ถ้าเขาเริ่มซื้อที่ดินเพื่อที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้า เราจะทำยังไง? เราจะไปทำงานอะไร" -- Kemin เกษตรกรในเมือง Belong กล่าว


 


ทั้งนี้ในประเทศอินโดนีเซียก็มีความเห็นที่สนับสนุนและคัดค้านการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์นี้


 


Walhi กลุ่มรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซีย ก็ได้เริ่มออกเคลื่อนไหวรณรงค์ต่อต้านแผนการนี้ของรัฐบาล , ซึ่งเป็นห่วงถึงการรับประกันความปลอดภัยจากรัฐบาล หากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น  Arief Zayyn ตัวแทนของกลุ่มกล่าวว่า " ที่นี่คือประเทศอินโดนีเซีย และเรากังวลว่าถ้ามันเกิดอะไรขึ้น เราจะไม่สามารถควบคุมเทคโนโลยีชั้นสูงนี้ได้"


 


ส่วนหน่วยงาน Indonesia's National Nuclear Energy Agency (Batan) ของรัฐบาลอินโดนีเซีย ก็ได้ออกมายืนยันถึงความปลอดภัย รวมทั้งอ้างถึงการขยายตัวในการใช้พลังงานของประเทศอินโดนีเซีย ที่จะต้องมีแหล่งพลังงานแบบใหม่มารองรับ.


 


 


--------------------------------- 


ที่มา :


http://english.aljazeera.net/NR/exeres/4F625D97-7199-4A93-8F8C-C38C475E3082.htm


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net