Skip to main content
sharethis

14 ก.ย. 2549 - นายยรรยง พวงราช รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้รับหน้าที่ประธานคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเปิดเผยว่าตนได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเร่งตรวจสอบบริษัทอีก 16 แห่ง ทันทีที่มีผู้ร้องเรียนว่าบริษัทดังกล่าวเข้าข่ายมีความผิดตามมาตรา 36 และ 37 แห่งพรราชบัญญัติ (พรบ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 โดยมาตรา 36 ว่าด้วยการถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) การช่วยเหลือ และสนับสนุนให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ การร่วมประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว ส่วนมาตรา 37 ว่าด้วยคนต่างด้าวฝ่าฝืนทำธุรกิจต้องห้าม


 


บริษัททั้ง 16 แห่ง ที่ถูกร้องเรียน ประกอบด้วยธุรกิจสายการบิน ธุรกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ห้างค้าปลีก และธุรกิจที่ดิน โดยมีรายนามดังนี้


 


1.)     บริษัท วิลลิช เซลส์ แอนด์ คอนแทรคติ้ง จำกัด


2.)     บริษัท เคี่ยน หวู มาร์เก็ตติ้ง จำกัด


3.)     บริษัท เอ็นเอ็นทีแอล (ประเทศไทย) จำกัด


4.)     บริษัท อิซูมิ เซนโคชะ (ประเทศไทย) จำกัด


5.)     บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (ไทยแอร์เอเชีย)


6.)     บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเคชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)


7.)     บริษัท Bolero-Tak Wu Holdings (UCOM-DTAC)


8.)     บริษัทไทย สกาย แอร์ไลน์ จำกัด


9.)     บริษัท บูรภาลุมพินี แลนด์ จำกัด


10.)  บริษัท เทเลนอร์ สัญชาตินอร์เวย์


11.)  บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด (ห้างคาร์ฟูร์)


12.)  บริษัท ซีเม็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด


13.)  บริษัท ฮัทชิสัน แคท ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด


14.)  บริษัท ดีเอชแอล โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด


15.)  บริษัท เอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (ห้างเทสโก้ โลตัส)


16.)  บริษัท สยามซิตี้ ซีเมนต์ จำกัด (มหาชน)


 


ทั้งนี้ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าการตรวจสอบทั้ง 16 บริษัทจะยึดแนวทางเดียวกับการตรวจสอบความเป็นนอมินีของการซื้อขายหุ้น บมจ.ชินคอปอร์เรชั่น (SHIN) ซึ่งตรวจสอบในประเด็นโครงสร้างผู้ถือหุ้น การเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้น และการได้รับสิทธิประโยชน์ของการถือหุ้น อาทิ สิทธิในการออกเสียง หรือการรับเงินปันผล


 


ทั้งนี้หากผลการตรวจสอบออกมาชัดเจนว่าบริษัทใดมีความผิดตามมาตรา 36 และ 37 จะต้องมีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1 แสนบาทจนถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเลิกการประกอบธุรกิจ หรือเลิกกิจการ หรือเลิกเป็นผู้ถือหุ้น


 


นอกจากนี้ นางสาวรสนา โตสิตระกูล ว่าที่วุฒิสมาชิกกรุงเทพฯ แกนนำเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการกฤษฎีกามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตการบินของสายการบินแอร์เอเชียเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยระบุว่าทางเครือข่ายฯได้ตรวจสอบตัวเลขผู้ถือหุ้นในแอร์เอเชีย ปรากฏว่าผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่คนไทยในบริษัทเอเชีย เอวิเอชั่น มีอยู่เกินว่าร้อยละ 49 ซึ่งเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ประกอบกิจการของคนต่างด้าว


 


ทางเครือข่ายฯ จึงได้ยื่นหนังสือต่อกรมการขนส่งทางอากาศเพื่อให้สั่งเพิกถอนในอนุญาตการบิน แต่ทางกรมการขนส่งฯ ไม่ดำเนินการ จึงมีการร่างสำนวนเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลปกครองต่อ เนื่องจากอธิบดีกรมการขนส่งฯ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ขณะเดียวกันก็ทราบว่าทางกรมขนส่งฯ ได้ส่งข้อกฎหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ดังนั้นทางเครือข่ายฯ จึงรอฟังความให้ชัดเจนเสียก่อน


 


จากนั้นเครือข่ายฯ ได้ยื่นเรื่องต่อกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางอากาศ แต่ก็ได้รับจดหมายตอบจากกรมขนส่งทางอากาศว่าบริษัทไทยเอวิเอชั่นได้ขอเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นตามกฎหมายแล้ว แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น เพราะความจริงไทยแอร์เอเชียได้กระทำผิดกฎหมายตั้งแต่ 23 ม.ค.-14 ก.พ. ดังนั้น กรมการขนส่งฯ จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย เพราะขณะนี้กฤษฎีกาตีความออกมาชัดเจนแล้วว่าบริษัทไทยเอวิเอชั่น หรือ ไทยแอร์เอเชีย กระทำการผิดกฎหมายจริง


 

นางสาวรสนา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เชิญอธิบดีกรมการขนส่งภายในมาร่วมประชุมด้วย และอธิบดีได้ชี้แจงถึงความถูกต้องของโครงสร้างในการถือหุ้นของบริษัทไทยแอร์เอวิเอชั่น ที่มีคนไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 51 แล้ว แต่เท่าที่ทราบข้อมูลมา ผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นผู้ถือหุ้นเพียงรายเดียว แต่ตามกฎหมายระบุสัดส่วนว่าต้องเป็นผู้ถือหุ้นสามัญ ดังนั้น ผู้ถือหุ้นคนไทยที่เป็นรายย่อย หรือเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องร่วม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net