Skip to main content
sharethis


ทักษิโณมิกส์ ฤา จะสู้สิงคโปร์นอมิกส์  การใช้ "ทุน" ไล่ล่าอาณานิคมทั่วโลกของสิงคโปร์ เพื่อความอยู่รอด และเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรของตนสมควรจะได้รับการประนาม หรือ เป็นตัวอย่างที่น่าศึกษา

 


ในขณะที่ผู้นำสิงคโปร์คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน จึงใช้อำ นาจรัฐ ทรัพย์สินและรัฐวิสาหกิจของรัฐเป็นเครื่องมือในการลงทุน และไล่ล่าเมืองขึ้นเพื่อหา รายได้มายก ระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยการอุดหนุนด้านการศึกษายกระดับประชาชนให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นนักการเงิน นักบริหาร นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรือ นักเขียนโปรแกรม  และแรง งานมีฝีมือ ระดับสูง ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศ และ ทำให้สามารถ ทำงานที่มีรายได้สูง ทั้งประเทศ


 


อัตราการอ่านออกเขียนได้ของชาวสิงคโปร์สูงถึงร้อยละ 97 และอัตราผู้รู้ 2 ภาษาสูงถึงร้อยละ 55


 


ชาวสิงคโปร์ทุกคนมีอพาร์ตเม๊นท์อยู่ สลัมไม่มี และมีสาธารณูปโภคอย่างดีเทียบเท่าประเทศ ที่พัฒนาแล้ว


 


อัตราการว่างงานก็มีเพียงร้อยละ 3


 


แต่ยุทธศาตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในทางปฎิบัติที่ตรงกันข้ามกับที่เขียนแผนไว้ กลับวางไว้ที่การใช้แรงงานราคาถูกอย่างเข้มข้น ผลกำไรของบริษัทมาจากการกดค่าแรง และการถลุง ทรัพยากรธรรมชาติ (ที่มีจำกัด) และสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้นด้วยการเลี่ยงกฎหมาย


 


งบประมาณการศึกษาจึงมีแต่ถูกตัด  และผลักดันให้คิดจากต้นทุนที่แท้จริง ทำให้ระบบการ ศึกษามีราคาแพง ถึงกับต้องกู้เงินกันเรียนแล้ว ในขณะที่สิงคโปร์นั้นนักศึกษาทุกคน ขอทุนการศึกษา โดยไม่ต้องจ่ายคืนได้ถึงร้อยละ 65 - 85


ของไทยปล่อยให้เอกชนค้ากำไรจากระบบการศึกษาที่ประชาชนไม่มีทางเลือกโดยการให้ลอยตัวค่าเล่าเรียน เป็นการผลักดันให้ผู้ด้อยโอกาสต้องออกจากระบบการศึกษากลายเป็นแรงงานราคาถูก ( หรือ เป็นโจร) ที่ไม่มีอำนาจต่อรอง


 


ผู้นำของไทยกลับทำตรงกันข้าม คือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและครอบครัวเป็นที่ตั้ง พร้อมที่จะฮุบเหยื่อที่เขานำมาอ่อย เพื่อรับผลประโยชน์ที่เป็นค่านายหน้า ค่าสินบน หรือหุ้น จำนวนหนึ่งเข้ากระเป๋าตนเองแลกกับการเปิดทางให้ทุนต่างชาติเข้ามาฉกฉวยทรัพยากรธรรมชาติ และทำลายทุนไทยที่อ่อนแอกว่า( เช่น กรณีห้างค้าปลีกยักษ์) โดยไม่คำนึงว่าในระยะยาว ประเทศชาติจะเสียหายมากมายขนาดไหน  แม้แต่ฐานทัพก็ยังยอมให้สิงคโปร์เข้ามาใช้ได้


 


ส่วนรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การประปา การสื่อสารโทรคมนาคม สถานีวิทยุโทรทัศน์ และ ป... ล้วนดำเนินนโยบายตรงกันข้าม  คือ แทนที่จะใช้ "ทุน หรือ ทรัพย์สิน" ของชาติเพื่อ ปกป้องและรับใช้ให้บริการประชาชนในราคาเหมาะสม หรือให้ความรู้ความคิดกับประชาชน ผู้เป็นเจ้าของ "ทุน" ซึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดิน แต่กลับบริหารด้วยนโยบายหากำไรสูงสุด ยิ่งกว่าธุรกิจเอกชนเพื่อผลประโยชน์เข้ากระเป๋าฝ่ายบริหารและพนักงานโดยไม่คำนึงความเดือดร้อนของประชาชน


 


ร้อยละ 80 ของรายการวิทยุและทีวีเป็นเรื่องบันเทิง เป็นเรื่องชีวิตส่วนบุคคลทั้งในบ้าน ในมุ้ง และในห้องน้ำที่ไร้รสนิยม ไร้สาระ ไม่ได้เพิ่มความรู้ ความคิด หรือ สติปัญญาแก่คนในชาติ


 


ประเทศสิงคโปร์เป็นเกาะที่มีความยาวจากทิศตะวันออกจดตะวันตกเพียง 42 กิโลเมตร ( 26 ไมล์) และ 23 กิโลเมตร ( 14 ไมล์) จากเหนือจดใต้ รวมพื้นที่ทั้งหมดเพียง 699 ตารางกิโลเมตร (240 ตารางไมล์) ใหญ่กว่าภูเก็ตซึ่งมีขนาด 539 ตารางกิโลเมตรเล็กน้อยเท่านั้น


 


ประชากร ชาวสิงค์โปร์มีเพียง  4.35 ล้านคน (น้อยกว่ากรุงเทพฯ) ทรัพยากรธรรมชาติมีน้อย แต่ที่มีมาก คือ ทรัพยากรบุคคล หรือ มันสมอง  ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทย  รัฐบาลสิงค์โปร์จึง ต้องหาทางอยู่รอดในการหารายได้มาพัฒนาประเทศด้วยการใช้ "มันสมองและทุน" ในการไล่ล่า อาณานิคมไปทั่วโลก ในยุค "ทุนครอบโลก" (Globalization) ที่กติกาการค้าเสรีโลกเปิดโอกาสให้อย่าง เต็มที่


 


ประเทศสิงค์โปร์ช่วยตัวเองไม่ได้ แม้แต่น้ำดื่มน้ำใช้ก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ  แรงงานก็ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีแรงงานรายวันเดินทางมาเช้ากลับเย็นจากประเทศมาเลย์เซียวันละ  4 แสน 5 หมื่นคน


 


นาย ลี กวน ยู นายกรัฐมนตรีคนแรกจึงต้องวางยุทธศาสตร์สร้างชาติสิงค์โปร์ที่เกิด ใหม่อย่าง ไม่เหมือนใคร  โดยคำนึงถึงข้อจำกัดของความป็นเกาะที่ไร้ทรัพยากรธรรมชาติ มีประชากรน้อย มีขนาด ของตลาดเล็กที่พึ่งตัวเองไม่ได้ นี่คือปัญหา หรือ โจทย์ที่ท้าท้ายนายลี กวน ยู


 


เนื่องจากสิงค์โปร์เป็นเกาะเล็กๆที่มีประชากรเพียง 4.35 ล้านคน และไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้สร้างความหวั่นไหวให้กับนายลี กวน ยู ซึ่งได้รับการเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก  สิ่งที่ท้า ทายเขาคือจะสร้างเอกลักษณ์ และจิตสำนีกของความเป็นชาติจากความหลากหลาย ของประชากรที่ล้วน อพยพมาจากดินแดนอื่นๆทั้งสิ้นได้อย่างไร


 


ลี กวน ยู มองเห็นจุดแข็ง และความได้เปรียบของสิงค์โปร์ 2 ประการ คือ


1.  ทำเลของประเทศที่อยู่ใต้สุดของแหลมมลายูซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาค และ


2. ระบบเศรษฐกิจการค้าเสรีของโลกที่กติกาการค้าเสรีเปิดโอกาสให้อย่างเต็มที่


 


ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของนายลี กวน ยูจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อ จำกัดและจุด แข็งของตน


 


การหารายได้มาพัฒนาประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรจำนวน 4.35 ล้านคนโดย หวังพึ่งการเก็บภาษีอากร และภาษีอื่นๆจากประชากรจำนวนเท่านี้ และมีกำลังซื้อเพียง เท่านี้ย่อม ไม่เพียงพออย่างแน่นอน


 


ยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งในหลายๆด้าน คือ การสร้างกลไก และ โครงสร้างของรัฐ และสถาบันทุก สถาบันมาสนับสนุนและรองรับการเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการลงทุนของภูมิภาค


ในช่วงแรกสิงคโปร์เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการพัฒนาการผลิตสินค้าอิเล็กโทรนิกส์และคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อเกิดวิกฤตดอทคอมโลกเมื่อปี 2003 สิงคโปร์ก็หันมาส่งเสริมสินค้าไฮเทกระดับสูง เช่นด้านอาวุธ ด้านไบโอเท็ก หรือ เทกโนโลยี่ชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งไม่ไหวตัวไปกับภาวะของตลาด


 


ผิดกับไทยเรายังมะงุมมะหงาหราอยู่กับการส่งออกสินค้าเชิงเดี่ยวเพียงไม่กี่ตัว เช่น กุ้ง ไก่ แช่แข็ง พอถูกสหรัฐและอียูบีบด้วยมาตราการกล่าวหาว่าเราทุ่มตลาด (Anti-Dumping)  เราก็ต้องยอม แลกด้วยการเปิดเสรีด้านตลาดเงิน ตลาดทุนและภาคบริการ รวมทั้งต้องยอมรับข้อตกลงทรัพย์สิน ทางปัญญาอย่างเข้มข้น ซึ่งจะทำให้ประชาชนทั้งประเทศต้องยากจนลงในระยะยาว


 


รัฐบาลสิงคโปร์ได้ตั้งบริษัทเพื่อการลงทุนของรัฐ ( Government of Singapore Investment Corporation-GIC) และบริษัทเครือข่าย  อันได้แก่ Temasek Holdings  และ Temasek -Linked Companies- TLCs


 


Temasek Holdings  เป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยรัฐบาลสิงค์โปร์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังสิงค์โปร์  เป็นเจ้าของในนามรัฐบาล เทมาเส็กเปรียบเสมือนขีปนาวุธของสิงค์โปร์ที่ใช้ใน การไล่ล่าอาณานิคมไปทั่วโลกแทนเรือปืนในอดีต ประเทศไทยเป็นเป้าหมายหนึ่งในการถูกไล่ล่า เพราะมีพื้นที่กว้างใหญ่ อยู่ใกล้กับสิงค์โปร์ มีนักการเมืองเห็นแก่ได้ ขาดสำนึกปกป้องแผ่นดิน และผลประโยชน์ของชาติ  และมีทรัพยากรมาก จึงต้องยึดให้ได้


 


ทรัพย์สินของเทมาเส็กมีประมาณครึ่งหนึ่งของจีดีพีของประเทศไทย หรือ 2.5 ล้านๆบาท และเป็นผู้บริหารกองทุนขนาดเท่ากับจีดีพีของประเทศไทย หรือ 106  พันล้านเหรียญยู.เอส.


 


นาง Ho Ching  ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการบริหารตั้งแต่ก่อตั้งและดำรงตำแหน่ง มาจน กระทั่งปัจจุบัน  นาง โฮ ชิง เป็นภรรยาของ นาย Lee Hsien Loong ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และเป็นลูกชายของนาย ลี กวน ยู ผู้ก่อตั้งประเทศสิงค์  นี่คือ บางส่วนของการลงทุนของเทมาเส็ก


 


ทุนของเทมาเส็ก จีไอซี และ ทีแอลซี ได้เข้ามาซื้อกิจการ หรือ ถือหุ้นอยู่ในบริษัทบลูชิปส์ในตลาด หุ้นไทยเกือบทุกบริษัท เช่นธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารยูโอบี ธนาคารทหารไทย ธนคารไทยพาณิชย์ บริษัทชิน บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ๊าส์ บริษัท ช.การช่าง อิตาเลียนไทย  ชิโน-ไทย  ปตท.  ปตท.สผ.  ไทยออยล์ เซเว่น อีเลเว่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ฯลฯ


อาณาจักรของเทมาเส็ก


 
























ด้านการเงินและการธนาคาร


ด้านโทรคมนาคมและสื่อมวลชน


ด้านอุตสาหกรรม่และเทคโนโลยี่


ด้านคมนาคมและการขนส่ง


DBS Bank (28% as of 2004)


PT Bank Danamon Indonesia (link) (56%)


Bank Internasional Indonesia (link) (28%)


Bank of China (10% since 31th August)


Hana Financial (9.06%)


ICICI Bank (9% as of 2004)


Fullerton Fund Management


China Minsheng Banking Corporation


China Construction Bank (5.1%) (1/7/05)


NIB Bank Pakistan (72.6%) (7/7/05)


Shin Corp.       ( 49.00 %)


Singapore Telecommunications (63% as of 2004)


ST Telemedia (100%)


MediaCorp (100% as of 2004)


Telekom Malaysia (5% as of 2004)


TeleSystem (2.6%)


Tata Teleservices     ( 9.9 %), India.


Bharti Tele-Ventures Ltd. (30.8 %), India.


Starhub (63%)


Global Crossing (71%)


PT Indo Sat  (41%)


Equinix (35%)


Singapore Technologies (link)


Keppel Corporation (link)


SembCorp Industries (link)


Dongfeng Motor Group,China (5 %)


Brookstone Inc., U.S.


Welspun India,Ltd.      ( 14 % )


ด้านเภสัชกรรม


Quintiles (16% as of 2004)


Matrix Laboratories (14% as of 2004)


Bumrungrad Hospital,Thailand (6 %)


Temasek Life Science (33%)


 


PSA International (100% as of 2004)


Airport Authority of Thailand


SIA (57% as of 2004)


Jetstar Asia Airways (19% as of 2004)


Qantas (3% as of 2004)


Tiger Airways (11% as of 2003)


SpiceJet


Neptune Orient Lines (68% as of 2004)


SMRT Corporation (54.8% as of 2005)


SembCorp Logistics (link)


Cisco Security (100%)


ด้านอสังหาริมทรัพย์


ด้านโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม


ด้านพลังงาน


อื่นๆ


CapitaLand (44.5% as of 2005)


Mapletree Investments (100%)


Keppel Land (link)


The Ascott Group (link)


Raffles Holdings      ( 35%)


Surbana Corporation (100%)


Keppel Offshore and Marine


Singapore Technologies Engineering (link)


SembCorp Marine (link)


Singapore Power (100%)


PowerSeraya (100%)


Senoko Power (100%)


Tuas Power (100%)


Sembcorp Utilities


City Gas


Gas Supply


China Power


Chartered Semiconductor Manufacturing (link)


STATS ChipPAC (link)


Wildlife Reserves Singapore (88%)


Aetos Security Management (100%)


MPlant (14.73%)


Mahindra & Mahindra (4.7%),2005


Amtel Holland Holdings (invested US$70M)(8/7/05)


Source: Temasek Holdings


 


การที่ Temasek Holdings เข้ามาซื้อบริษัทชินคอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นเจ้า ของบริษัทอื่นๆอีก มากมาย  น่าจะเป็นสัญญานเตือนภัย ว่า นโยบายเศรษฐกิจเปิด ที่เอื้อประโยชน์ให้บริษัทใหญ่ๆไม่กี่กลุ่ม


 


รวมทั้ง กฎหมายต่างๆตั้งแต่ พ... ทุนรัฐวิสาหกิจ พ... การประกอบอาชีพ ของคน ต่างด้าว พ... ตลาดหลักทรัพย์ นโยบายของบีโอไอ พ... เขตเศรษฐกิจพิเศษ นโยบาย เทิร์นคีย์  จะต้องทบทวนแก้ไขเพื่อรับใช้คนไทยส่วน ใหญ่ที่เป็นผู้ด้อยโอกาส และเป็นคน ยากจนหรือว่า คงไว้เพื่อให้คนต่างชาติ และกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม ตบเท้าเข้ามา ตักตวงอย่างที่ผ่านมา


 


โดยกลไกรัฐที่กินเงินเดือนภาษีอากรของประชาชนต้องมาทำหน้าที่ปกป้องรักษาผลประโยชน์ของคนต่างชาติ และกลุ่มทุนจำนวนน้อย  และรังแกคนไทยที่พยายามปกป้องสิทธิของตนและสิทธิของแผ่นดิน โดยปราศจากกลไกและระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ


 


กรณีที่รัฐบาลไปต่อรองทำข้อตกลงการค้าเสรี โดยการขอวงจรดาวเทียมจากจีน โดยแลกกับการ เปิดตลาดด้านสินค้าเกษตรที่ยอมสังเวยเกษตรกรผู้ปลูกหอมกระเทียม และพืชผักอื่นๆนับแสน ครอบ ครัวต้องยากจนล้มละลายเพราะถูกสินค้าเกษตรจากจีนที่ดั๊มพ์ราคาให้ถูกกว่าเข้ามาตีตลาด


 


หรือกรณีที่ไปทำข้อตกลงการค้าเสรีกับออสเตรเลียให้เช่าดาวเทียมไอพีสตาร์ โดยแลกกับ การเปิดตลาดและลดภาษีสินค้าผลิตภัณฑ์นม และโคเนื้อได้ทำให้เกษตรกรโคนม และโคเนื้อในภาค อีสานนับแสนๆครอบครัวต้องล้มละลายในระยะยาว


 


ผลประโยชน์ทั้งหมดที่แลกด้วยอาชีพและชีวิตของเกษตรกรไทยกลับไปตกกับสิงคโปร์เมื่อเทมา


เส็กซื้อกิจการของชินคอร์ปไป


 


หากคนไทยยังไม่ตระหนักถึงภยันตรายของระบบ "ทุนครอบโลก" ( globalization) หรือ ระบบการค้าเสรีที่เราถูกล้างสมองด้วยยาพิษทางความคิดให้ติดกับดักนี้ เมืองไทยและคนไทยจะ เหลือแต่ชื่อ สิงคโปร์จะกลายเป็นเมืองหลวง ประเทศไทยจะกลายเป็นจังหวัดของสิงคโปร์


 


มันสมองของคนไทย แรงงานไทย แผ่นดินและทรัพยากรธรรมชาติที่บรรพ บุรุษใช้ชีวิตแลกเพื่อ ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์ ได้ใช้เป็นแหล่งทำกิน กลับถูกยาพิษทางความคิดเรื่องค้าเสรีวางกับ ดักให้เรา ต้องเปิดประเทศให้กับทุนที่ใหญ่กว่า ให้กับคนที่ฉลาดกว่า แม้แต่ประเทศสิงค์โปร์ซึ่งมี ขนาดใหญ่กว่า เกาะภูเกตเพียงเล็กน้อย และมีประชากรน้อยกว่ากรุงเทพฯ สามารถเข้ามาตักตวง หาผลประ โยชน์เป็นผู้บงการและกำหนดชะตากรรมของคนไทย


 


บทความนี้ ต้องการเสนอให้เห็นภาพยุทธศาสตร์การสร้างชาติของสิงคโปร์ซึ่ง "ล้ำเส้น" และ "ล้ำแดน" ผลประโยชน์ของคนไทยที่กลุ่มนักธุรกิจ  นักการเมือง รวมทั้งข้าราชการ ระดับสูง ที่มีสายตาสั้น และละโมภในผลประโยชน์ส่วนตนเฉพาะหน้าซึ่งใน ระยะยาวอาจจะ ทำให้ประเทศ ไทยกลายเป็นเมืองขึ้น แหล่งทรัพยากร และแหล่งป้อนแรงงานให้กับสิงคโปร์ (ที่เปรียบเสมือน เมืองหลวง) เหมือนยุคล่าอาณานิคมในอดีตที่อังกฤษกระทำต่ออินเดีย และเมืองขึ้นอื่นๆทั่วโลก


 


ความผิด และคนที่ควรประนาม หรือ บอยคอต คือ นักการเมือง ข้าราชการ คนไทยบาง กลุ่ม หรือ สิงคโปร์ เป็นโจทย์ที่ขอฝากให้คิดครับ


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net