Skip to main content
sharethis

 


 


คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2549 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ  แห่งชาติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรม ดังนี้


 


1. ให้มีคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและความยุติธรรมเรียกโดยย่อว่า "กสย" เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "The National Committee on Civil Liberties and Justice" เรียกโดยย่อว่า "NCCJ"


 


ประกอบด้วยบุคคล ดังนี้ ศาสตราจารย์ กระมล  ทองธรรมชาติ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ และประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานกรรมการ  พลตำรวจโท จำรัส  จันทรขจร อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจและกรรมการตุลาการศาลปกครอง ผู้ทรง      คุณวุฒิ   เป็น รองประธานกรรมการ


 


คณะกรรมการประกอบด้วย  รองศาสตราจารย์ จุรี  วิจิตรวาทการ  อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์  รองศาสตราจารย์ สุนีย์   สินธุเดชะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศาสตราจารย์ สมบูรณ์  สุขสำราญ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร และผู้ว่าราชการจังหวัด  ศาสตราจารย์         ติน  ปรัชญพฤทธิ์ อดีตรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ศาสตราจารย์ ชุมพร  ปัจจุสานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์ ศุภชัย  ยาวะประภาส อาจารย์คณะรัฐศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


 


ศาสตราจารย์ นันทวัฒน์  บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์     จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายเรวัต  ฉ่ำเฉลิม  อดีตอัยการสูงสุด  นายสถิตย์  เล็งไธสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา   พลตำรวจโท วิเชียรโชติ  สุกโชติรัตน์ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม  และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต   แห่งชาติ  นายเชาวน์  อรรถมานะ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ  และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  รองศาสตราจารย์ นพนิธิ  สุริยะ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  นายแพทย์  บรรลุ   ศิริพานิช   อดีต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ                       


 


นายขวัญชัย   วศวงศ์  อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทยและอธิบดีกรมราชทัณฑ์  นายพินิต  อารยะศิริ   อดีตเลขาธิการ        วุฒิสภาและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ   พลตำรวจเอก นภดล  สมบูรณ์ทรัพย์  ผู้อำนวยการศูนย์พิสูจน์บุคคลผู้ประสบธรณีพิบัติภัยสึนามิ   โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรม  เป็นกรรมการและเลขานุการ


 


2. ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้


 


2.1 ส่งเสริมหน่วยงานภาครัฐในฝ่ายบริหารในการให้ความเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์   ความเสมอภาค  สิทธิ  เสรีภาพ  ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย


 


2.2 ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี  นายกรัฐมนตรี   เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว   ทั่วถึง  เท่าเทียม  และมีประสิทธิภาพประสิทธิผล


 


2.3  ประสานและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานของรัฐในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา   และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน


 


2.4  จัดทำรายงานสรุปการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เสนอต่อนายกรัฐมนตรี


 


2.5  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่นายกรัฐมนตรี  หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย


 


3. เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่  ให้คณะกรรมการมีอำนาจ  ดังนี้


 


3.1 รับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชน   ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่ของคณะกรรมการ  และคณะกรรมการเห็นว่าปัญหาหลักการหรือแนวทางการปฏิบัติสำคัญควรแก่การรับไว้พิจารณา  โดยให้รวมถึงการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายการก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและการทุจริตและประพฤติมิชอบ  ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม


 


3.2 ประสานให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ   หน่วยงานอื่นของรัฐ   และเจ้าหน้าที่ของรัฐมาให้ถ้อยคำ  ความเห็น  หรือส่งเอกสาร  หรือวัตถุอื่นใดให้คณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมายให้กระทำการแทน


 


3.3  ไต่สวนและ/หรือสอบสวนเรื่องใด ๆ ในอำนาจหน้าที่  ในกรณีเป็นปัญหาสำคัญ            ทั้งนี้  อาจขอหารือกรอบการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีก่อนก็ได้


 


3.4  แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือบุคคลใดให้กระทำแทนคณะกรรมการแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ


 


3.5 จัดให้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่และการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เหมาะสมเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุผล


 


3.6 ประสานงานกับองค์กรทั้งภายในและต่างประเทศ   รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ       ที่เกี่ยวกับหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้  เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ


 


ทั้งนี้  เว้นแต่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอิสระเพื่ออำนวยความยุติธรรมและ        ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้


 


4. เพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพให้ปฏิบัติ  ดังนี้


 


4.1 องค์ประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด  โดยอาจจำแนกตามประเภทของเรื่องพิจารณา  แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการที่มีอยู่


 


4.2 ให้สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม  ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการพร้อมทั้งจัดสถานที่และบุคลากรให้คณะกรรมการตามความจำเป็นและเหมาะสม  และให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลที่เป็นหรือมิได้เป็นข้าราชการให้ทำหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการ   โดยได้รับค่าตอบแทนได้ 


 


4.3 เบี้ยประชุม  ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยเบี้ยประชุมกรรมการ  และระเบียบราชการอื่น  โดยให้ทำความตกลงกับกรมบัญชีกลาง  กระทรวงการคลัง


 


4.4ให้สำนักงบประมาณ   จัดสรรงบประมาณให้คณะกรรมการตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ 


 


4.5 ให้ส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ  หน่วยงานของรัฐ  ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการ   ในกรณีที่มีปัญหาให้ประธานกรรมการรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาหรือสั่งการได้


 


 


ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่  16 มกราคม  2549  เป็นต้นไป  


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net