Skip to main content
sharethis

"ในอนาคตจะพัฒนาพื้นที่รอบเขื่อนเป็นเชิงธุรกิจท่องเที่ยว โดยจะหารือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งหากมีรายได้เชิงธุรกิจเข้ามาก็จะต้องมีการหารือกับกรมธนารักษ์ในการแบ่งผลประโยชน์"นายไกรสีห์ กรรณสูต กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บมจ. กฟผ.กล่าว


 


วันนี้ (28 ก.ย.) นายไกรสีห์ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจการเช่าที่ราชพัสดุเพื่อการดำเนินกิจการของ  บมจ.กฟผ.กับนายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมธนารักษ์


 


นายไกรสีห์ กล่าวว่า หลังจาก 24 มิ.ย.ที่ผ่านมา กฟผ.ได้แปลงสภาพเป็น บมจ.กฟผ. และมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน คือ เขื่อนและที่ดินที่ตั้งอยู่ในบริเวณเขื่อน อ่างเก็บน้ำ และพื้นที่หัวงาน จำนวน 21,920 ไร่ มูลค่า 23,269 ล้านบาท ให้แก่กระทรวงการคลังไปแล้ว


 


ส่วนอสังหาริมทรัพย์อื่นที่ บมจ.กฟผ.ใช้ในการดำเนินงานก่อนการแปลงสภาพ ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของ บมจ.กฟผ. ต่อไป เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ อาคารทีทำการฯ เป็นต้น


ขั้นตอนต่อไป บมจ.กฟผ. ต้องเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ ตามเงื่อนไขกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 2542


ในลักษณะเหมาจ่าย โดยใน 5 ปีแรก จัดเก็บค่าเช่า 120-147 ล้านบาทและเพิ่มค่าเช่าร้อยละ 10 ทุก 5 ปี รวมทั้งสิ้น 9,443 ล้านบาท และเสียค่าธรรมเนียมการจัดให้เช่าในครั้งแรกเป็นเงิน 115 ล้านบาท


โดย กฟผ. ได้เช่าที่ดินที่ตั้งของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 21 แห่ง เช่น เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์ เขื่อนท่าทุ่งนา เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนน้ำพุง เขื่อนสิรินธร เขื่อนปากมูล เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติติ์ เขื่อนบางลาง เขื่อนรัชชประภา เขื่อนแม่งัด เขื่อนห้วยกุ่ม เขื่อนแก่งกระจาน และโรงไฟฟ้าลำตะคอง โรงไฟฟ้าบ้างขุนกลาง โรงไฟฟ้าบ้างยาง โรงไฟฟ้าบ้านสันติ โรงไฟฟ้าคลองช่องกล่ำ โรงไฟฟ้าห้วยกุยมั่ง และพื้นที่หัวงานของเขื่อนต่างๆ จำนวน 38,377 ไร่ ระยะเวลาการเช่า 30 ปี รวมเงินค่าใช้จ่าย 9,443 ล้านบาท


 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net