Skip to main content
sharethis

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
Dr. Tarmizi   Taher  M.D อธิการบดี มหาวิทยาลัยอิสลาม Azzahra และประธานอำนวยการศูนย์มุสลิมสายกลาง  ประเทศอินโดนีเซีย
 
 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

(ในงานสัมมนานานาชาติเรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสันติภาพ จัดโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.) ที่โรงแรมซี.เอส.ปัตตานี เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2548 โดย ผศ.จิระพันธ์ เดมะ สรุปความเป็นภาษาไทย)

 

 
 

 

 

 

 

ปัจจุบันมนุษย์กำลังเผชิญหน้ากับโลกที่ไร้พรมแดน เป็นยุคที่โลกกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมในโลกได้ถูกเปิดกว้างขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีความหวังมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเราก็ได้เผชิญกับวิกฤตการณ์โลกด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

 

วิกฤติที่ใหญ่ที่สุดที่เรากำลังประสบก็คือความแตกแยกกันในสังคม สาเหตุมาจากความแตกต่างของแต่ละบุคคล ความเชื่อในลัทธิชาตินิยม และ ความอวดรู้ของพวกบ้าคลั่งศาสนา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และกฎเกณฑ์ของพระเจ้าเปราะบางลง สถานการณ์เหล่านี้ส่งผลให้มนุษย์ ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล และทำให้บันทอนความสูงส่งของความเป็นมนุษย์

 

 

 

 

 

บ่อยครั้งที่เราสามารถพบเห็นผู้คนที่มักจะพร่ำพูดถึงความชาญฉลาด และความเลิศของหลักคำสอนของพระศาสดา แต่มักจะมีผู้คนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่นำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติปรากฏเป็นรูปธรรมให้ประจักษ์ 

 

 

 

 

 

I. สันติภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกทำลายโดยกลุ่มก่อการร้ายเพียงไม่กี่คน

 

 

 

 

 

โลกยุคปัจจุบัน  เรากำลังเผชิญหน้ากับยุคไร้พรมแดน หรือยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคที่เปิดประตูแห่งความหวังของมนุษยชาติ  แต่ในขณะเดียวกัน เป็นยุคที่เราต้องเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤตหลากหลายรูปแบบที่เข้ามาหาเราด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

 

ภาวะวิกฤตที่ที่เรากำลังเผชิญกันในสังคมเรา เนื่องจากสังคมเรามีจุดด้อยในด้าน การสานความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันเนื่องจากเหตุผลของความเป็นปัจเจกบุคคล

 

 

 

 

 

ท่านศาสตราจารย์ อีริชช์ ฟรอมม์  นักปรัชญา และจิตวิทยาวิเคราะห์ เรียกผู้คนกลุ่มดังกล่าวว่า "คนไร้หัวใจ" ซึ่งเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยนิดในสังคม

 

 

 

 

 

พวกเขามีความคิดว่า  พวกเขาได้รับการบัญชา หรือการอนุมัติจากพระเจ้าให้สามารถเข่นฆ่าผู้คน ทั้งทารกไร้เดียงสา  เด็กและสตรี โดยคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีความผิด (เข้าใจว่าได้ทำตามหลักศาสนาปรากฏการณ์เช่นนี้ มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้กับผู้คนทุกศาสนา (ที่คลั่ง หรือนับถือศาสนาแบบสุดกู่แบบผิดๆ) 

 

 

 

 

 

ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของมนุษยชาติได้แสดงให้เราได้ประจักษ์ว่า พวกเขาเหล่านั้นมีทั้งที่เป็น มุสลิม ชาวคริสเตียน ยิว ฮินดู หรือชาวพุทธ และสังคมปัจจุบันยังปรากฏให้ประจักษ์อีกเช่นกันว่า ชุมชนทุกชุมชนที่นับถือศาสนาต่างกัน แต่ก็เป็นเพื่อนบ้านกัน   

 

 

 

 

 

ในคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ.ได้ทรงกล่าวในซูเราะฮ.(บท) อัลมาดีนะ อายะ(โองการ) ที่ 32  ความว่า : "แท้จริงผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งโดยมิใช่เป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากการบ่อนทำลายในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่งว่าเขาได้ฆ่ามนุษย์ทั้งมวล" 

 

 

 

 

 

และท่านนะบีมูฮัมหมัด (ซอลลอลลอฮูอาลัยฮิวะซัลลัม(ขอความสันติจงมีแด่ท่าน)) ได้กล่าวเมื่อครั้งที่ท่านเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ครั้งสุดท้ายความว่า "จงปกป้องชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่นและจงให้เกียรติต่อผู้อื่น"

 

 

 

 

 

และในอีกหะดิษ(วัจนะ) หนึ่ง ท่านนะบีมูฮัมหมัดได้กล่าวว่า "คุณจะไม่ถูกนับว่าเป็น อุมมะฮ.(ประชาชาติ) ของฉัน แม้เขาจะเป็นผู้ดะวะห์(เผยแพร่ศาสนา) แต่กลับเป็นผู้ฆ่า(ทำลาย) และตายไปกับ as-habiyah (ผู้หยิ่งยะโสในการนับถือศาสนา และเชื่อมั่นว่าตนเองหรือพวกตน คือผู้ที่นับถือศาสนาของอัลลอฮ.ที่ถูกต้องที่สุด และเหนือกว่ากลุ่มอื่นๆ) 

 

 

 

 

 

II.  ยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง

 

 

 

 

 

หลังสิ้นสุดสงครามเวียดนาม  ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์หนึ่งของความ ขัดแย้งที่ยิ่งใหญ่ของโลก   ประเทศอเมริกามหาอำนาจของโลก ซึ่งมีความเหนือกว่าทั้งจำนวนทหารที่มีศักยภาพ และเทคโนโลยีทางอาวุธยุทโธปกรณ์เหนือกว่าเวียดนามซึ่งมีแต่นักรบเท้าเปล่า ดูพื้นๆ และในมือถืออาวุธที่แสนจะธรรมดา  บทเรียนจากสงครามครั้งนั้น ให้ข้อสรุปว่า "ในสนามรบปืนอาจจะไม่สำคัญเท่ากับตัว (จิตใจ) ของคนที่ถือปืน"

 

 

 

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ฝ่ายก่อการร้ายใช้ในการโจมตีอเมริกาในวันที่  11 กันยายน 2001 ส่งผลทำให้ยุทธศาสตร์เพนตากอน (ทหาร) ของอเมริกาจำต้องปรับเปลี่ยนยกเครื่องครั้งยิ่งใหญ่ เดิมคิดเพียงใช้ยุทธศาสตร์การป้องกันศัตรูจากภายนอกที่จะเข้ามาก่อกวน หรือทำลาย ซึ่งความจริงแล้วศัตรูของประเทศในปัจจุบันกลับกลายเป็น บุคคล หรือกลุ่มคนจากภายในประเทศกระทำเสียเอง

 

 

 

 

 

จากสภาพการณ์ที่แปรเปลี่ยนไปเช่นนี้  การรักษาความมั่นคง หรือความสงบภายในของแต่ละชาติจะต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆในการป้องกันการก่อการร้าย ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือประเทศอินโดนีเซียก็ตาม ประเทศยิ่งมีพื้นที่กว้างใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งมีอัตราเสี่ยงจากภายในมากขึ้นเท่านั้น

 

 

 

 

 

III.  การปรับเปลี่ยนการจัดการ หรือการเข้าถึงสันติภาพ  และภราดรภาพ 

 

 

   

 

 

เป็นสัจจะธรรมเสมอว่า "ย่อมจะไม่มีสันติภาพในหมู่คนที่มีความเชื่อแตกต่างกัน" ศาสนาสามารถใช้เป็นบันไดสู่สันติภาพหรือภราดรภาพ หรือนำไปสู่ความขัดแย้ง (Turmoil) ได้

 

 

 

 

 

ทุกวันนี้มีมุสลิมกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยของสังคมเป็นผู้ทำให้เกิดความขัดแย้งในบรรดาประเทศมุสลิม ประเทศคริสเตียน ประเทศฮินดู และประเทศพุทธ 

 

 

 

 

 

กลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้ ส่วนใหญ่อาจเป็นมุสลิมมากกว่าคริสต์เตียน หรือฮินดูในบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์รีพัพลิคกา ได้ลงความเห็นสรุปว่า กลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้เป็นผู้ที่ไร้ศาสนา

 

 

 

 

 

ปัจจุบันนี้มีศัตรูที่ไม่รู้ว่าคือใคร อยู่ที่ไหน มีผู้บริสุทธิ์หลายคนตกเป็นเหยื่อ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเผชิญหน้ากับปัญหานี้ โดยที่ :

 

 

            - ผู้นำทุกๆศาสนาต้องร่วมมือกันในการป้องกันการก่อการร้าย และช่วยกันเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นหูเป็นตา และสร้างระบบเตือนภัยในกับสังคมหรือชุมชนของตน

 

 

            - สมาชิกของแต่ละศาสนาต้องตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเอง และถ้ามีสิ่งใดหรือผ้ใดที่น่าส่งสัยก็ให้แจ้งหน่วยรักษาความมั่นคงของรัฐ

 

 

 

 

 

บรรดาศาสนาต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่ใดๆก็ตาม ต้องไม่หลีกเลี่ยงในการมีส่วนร่วมกับชุมชน และแสดงพลังเพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเมือง  และการเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการแก้ปัญหาของชุมชน

 

 

 

 

 

ต้องพึงระวังไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งอันเนื่องจากความยากจน (ความต่างของรายได้)   และความอยุติธรรมต่างๆ ในสังคม

 

 

 

 

 

ส่วนด้านศาสนา ต้องพึงระวังในการตีความ การทำความเข้าใจที่ถูกต้อง นำมาสนับสนุนกระบวนการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม

 

 

 

 

 

ภาคศาสนาน่าจะบทบาทผลักดันการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง มีคุณธรรม และยุติธรรมเกิดขึ้นในสังคม

 

 

 

 

 

ความเจริญพัฒนาทางเศรษฐกิจ อาจจะบั่นทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนได้

 

 

 

 

 

ในสังคมที่ขาดความเสมอภาค และอยุติธรรม ตลอดจนความเฉื่อยชาไม่เอาจริงเอาจังในการแก้ไข ฝ่ายศาสนาจะต้องพยายามปรับตัว เพื่อสามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคง  ความเป็นเอกภาพ และความปลอดภัยของสังคม

 

 

 

 

 

ฝ่ายศาสนาจะต้องพยายามเรียนรู้ และปรับตัวกับวิวัฒนาการของความต้องการของสังคมเหล่านี้ ให้ทันกับสถานการณ์ทางสองแพร่งที่ยุ่งยากนี้ของสังคม

 

 

 

 

 

และอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญของฝ่ายศาสนาคือ กระบวนการเรียนรู้ และการก้าวทันกับบริบทของการพัฒนา เน้นการพัฒนาความตระหนัก และความเข้าใจกับความสลับซับซ้อนของวิวัฒนาการของสังคมร่วมสมัยทุกระดับ

 

 

 

 

 

ฝ่ายศาสนาอาจจะต้องละทิ้งกรอบบทบาทเดิมๆที่มีต่อสังคม สู่บทบาทของการชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องของกระบวนการพัฒนาก้าวสู่สภาวะใหม่ของความเจริญของสังคม

 

 

จากพันธกิจดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายศาสนาจะหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้นจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมไม่ได้

 

 

 

 

 

ที่ไหนก็ตามที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายศาสนาจะต้องเข้ามีบทบาท ในฐานะเป็น "ครูแห่งสันติภาพศึกษา" ในการพัฒนาสมาชิกของสังคม ให้สามารถดำรงอยู่ได้กับทุกสภาวการณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถปรับตัวอยู่ได้กับภาวะคุกคาม ความกลัว และมีใจกว้างในการยอมรับความแตกต่างที่เกิดขึ้นในสังคม

 

 

 

 

 

นอกจากภาคส่วนที่กล่าวมาแล้ว ภาครัฐบาลก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการกำหนดนโยบาย และการกำกับการนำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติอย่างจริงจัง ฝ่ายศาสนาสามารถจะช่วยชี้นำให้สังคมเข้าใจวิธีการปรับตัว เข้าใจถึงการนำ อดีตมาเป็นฐานในการเปลี่ยนถ่ายสู่ปัจจุบันและอนาคต

 

 

 

 

 

ผลกระทบจากการมีหลากหลายศาสนาในโลกนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้นับถือศาสนาแต่ละศาสนาจะต้องมีความเข้าใจ การยอมรับสภาพการมีหลากหลายศาสนาและวัฒนธรรม ให้โอกาส  พื้นที่ และความเสมอภาค เพื่อความปรองดอง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ

 

 

 

 

 

ทุกกลุ่มของสังคมควรจะสามารถประสานสัมพันธ์ หรือร่วมมือกันได้ ประชากรในอาเซียนประมาณ แปดพันล้าน ในอนาคตมีความจำเป็นที่จะต้องประสานสัมพันธ์กัน ใช้ทรัพยากรร่วมกัน  จะต้องมีการทบทวนวิถีชีวิต การจัดการทางสังคม เพื่อความอยู่รอดอย่างมีสันติสุข เสรีภาพ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

 

 

 

 

 

ชาวอาเซียนจะต้องหันมาดูศาสนาของ แต่ละสังคม เพื่อค้นหาคำตอบในเรื่องนี้ที่ถูกต้องและเหมาะสมกันต่อไป

 

 

 

 

 

คำตอบในประเด็นนี้ คือ ภาคศาสนาควรมีการปรับพัฒนาการถ่ายทอด การเรียนรู้เกี่ยวกับสันติภาพ ไม่เพียงแต่จะสอนเฉพาะบริบทของสังคมเดี่ยวเช่นเคยปฏิบัติกันมาในอดีต แต่ต้องเปิดกว้างสู่บริบทสังคมหลากหลายศาสนาและวัฒนธรรม และก้าวสู่สังคมภายนอก ซึ่งมีทั้งความเจริญ  ความลำบาก ความยากจนและอื่นๆเช่นกัน

 

 

 

 

 

คำตอบเหล่านั้น จะเป็นวิสัยทัศน์ของแต่ละบุคคลที่ไม่ตกอยู่ในกับดักและความคับแคบในการนับถือศาสนาเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต จะต้องเรียนรู้การปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกัน สามารถร่วมกันจัดการกับบริบทใหม่ของสังคม ขจัดความกลัว ความหวาดระแวง และการครอบงำที่ไม่พึงประสงค์ของสังคม เพื่อสานให้เกิดความมั่นคงจากภายในของสังคมเราเอง

 

 

 

 

 

ขอเน้นย้ำว่า ภาคศาสนามีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้ความเข้าใจด้านสันติภาพ (สันติภาพศึกษา) สามรถจรรโลงโลกที่มีหลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่อ ให้เกิดสันติสุขที่มั่นคงได้

 

 

 

 

 

สมาชิกในสังคมทั้งเพศหญิงและชายได้รับโอกาสอย่างเหมาะสม ร่วมสรรค์สร้างรูปแบบการจัดระเบียบสังคมที่มีความยุติธรรม และสันติสุข ไม่มุ่งแข่งขันด้านการสะสมอาวุธ หรือการใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มเหงกันเพื่อผลประโยชน์ของผู้ที่เหนือกว่า เพราะความหวาดระแวงกันและกัน

 

 

 

 

 

ในสถาบันอุดมศึกษาควรสนับสนุนให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดโลกวิชาการสู่สังคม สังคมที่เป็นวิทยาศาสตร์ สามารถเข้ากันได้กับสังคมที่เน้นทางศาสนา สรรค์สร้างสังคมหลากหลายวัฒนธรรมของอาเซียนเป็นสังคมสันติสุข มีความสมานฉันท์ มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แก่อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป

 

 

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net