รู้จัก "สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่"

งานแผ่นดินไหวของไทย เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 เมื่อประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มีการจัดตั้งสถานีแผ่นดินไหวแห่งแรกของไทย ณ เชิงดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

เหตุผลที่ต้องติดตั้งที่เชิงดอยสุเทพ เนื่องจากทีมงานของหน่วยสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ ร่วมกับผู้แทนฝ่ายไทยคือ กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้รับผิดชอบร่วมกันสำรวจความเหมาะสมทางเทคนิคในการติดตั้งเครื่องตรวจแผ่นดินไหวไปทุกตารางนิ้วของประเทศแล้ว มีความเห็นว่า สมควรติดตั้ง ณ บริเวณดังกล่าว เพราะมีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่เหมาะสมอันจะทำให้ผลการตรวจวัดมีคุณภาพดี มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เหมาะสมกับการวางโครงข่ายสถานีแผ่นดินไหวโลก (Global Seismograph Network) อันต่อมาพัฒนาเป็นเครือข่ายสถานีแผ่นดิน ไหวแบบดิจิตอลของโลก (Global Digital Seismograph Network: GDSN) มีโครงสร้างพื้นฐานเหมาะสม ไม่อยู่ใกล้กับถนนหลวง ทางรถไฟและชายทะเลที่เป็นแหล่งคลื่นรบกวนสำคัญ เป็นต้น

งานแผ่นดินไหวของไทยจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมาภายใต้การกำกับดูแลของกรมอุตุนิยมวิทยา มีหน้าที่ในการ เฝ้าระวังตรวจวัดแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นประจำทุกวัน จัดทำรายงานข้อมูลแผ่นดินไหว เผยแพร่ความรู้ด้านแผ่นดินไหว ออกประกาศแผ่นดินไหวที่มีผล กระทบต่อประชาชน ดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือแผ่นดินไหว ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านแผ่นดินไหวและอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ในส่วนของสถานีตรวจแผ่นดินไหวต่าง ๆ ที่ปัจจุบันมีประมาณ 20 สถานีทั่วประเทศ มีหน้าที่ในการเฝ้าระวังตรวจวัดแผ่นดินไหวรายงานรหัสข้อมูลแผ่นดินไหวประจำวันไปยังกรมอุตุนิยมวิทยา

จะเห็นได้ว่า สถานีแผ่นดินไหวเชียงใหม่ นอกจากเป็นเครือข่ายสถานีแผ่นดินไหวของไทยแล้ว ยังเป็นเครือข่ายสถานีแผ่นดินไหวของโลกภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา สถานีแผ่นดินไหวแห่งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นทั้งในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ (hardware) เทคนิควิธีในการตรวจวัด (software) และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน (peopleware)

จึงทำให้สถานีแผ่นดินไหวเชียงใหม่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานของสถานีทั้งด้านเทคโนโลยีและประสิทธิภาพในการตรวจวัด จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไปในวงการตรวจวัดแผ่นดินไหวของโลก เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของสถานีมีผลงานเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การอ้างอิงผลงานของสถานีในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ การเผยแพร่ผลงานวิชาการในวารสารอุตุนิยมวิทยา วารสารภูมิศาสตร์ของสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย และการเผยแพร่ผลงานวิชาการในการประชุมต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท