Skip to main content
sharethis
Event Date

 

หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สันมีความยินดีขอเชิญฟัง ศิลปินเสวนาโดยอะนีดาโยเออาร์ลี(กัมพูชา) และมาเรียทานิคูชิ(ฟิลิปปินส์) เนื่องในนิทรรศการMissing Links นิทรรศการงานภาพเคลื่อนไหวจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในวันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคมพ.ศ.2558 เวลา14.00-17.00 น. 

ณ ห้องสมุดวิลเลียมวอร์เรนซอยเกษมสันต์2 ถนนพระรามที่1 แขวงปทุมวัน 

(สามารถเดินทางโดยรถไฟฟ้าลงสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ)

การบรรยายครั้งนี้เกี่ยวเนื่องกับนิทรรศการMissing Links โดยจะดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษและแปลสรุปเป็นภาษาไทย

 สำหรับนิทรรศการMissing Links เปรียบเสมือนพื้นที่ในการสืบค้นและการย้อนกลับมามองอดีตอีกครั้งถึงเรื่องราวการรับรู้ของผู้คนในระหว่างช่วงการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่การพัฒนาอุตสาหกรรมการพัฒนาเข้าสู่สังคมเมืองรวมถึงการอพยพย้ายถิ่นฐานในพื้นที่บริเวณแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้โดยนำเสนอผ่านภาพเคลื่อนไหวจากการสร้างของศิลปินจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสนใจและทำงานเกี่ยวกับช่วงเวลาของการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่ผ่านบริบทของตัวศิลปินทั้งที่เกิดจากแรงขับของการล่าอาณานิคมหรือจากตัวศิลปินเองรวมถึงผลสืบเนื่องสู่ปัจจุบันนิทรรศการแบ่งการนำเสนอเป็น2ช่วงเวลา(2ภาค) และแต่ละช่วงจะจัดแสดงประมาณ3เดือนโดยภาคแรกModernization and Urban Conditions นิทรรศการช่วงแรกมุ่งความสนใจไปที่เรื่องราวของการก้าวเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่และสภาวะของสังคมเมืองซึ่งผลงานวิดีโอUntitled (Celestial Motors) ของมาเรียทานิคูชิได้จัดแสดงอยู่ในภาคนี้ผลงานชิ้นนี้มาเรียมุ่งความสนใจไปที่การศึกษารายละเอียดของรถJeepney ซึ่งถือเป็นยานพาหนะหลักในย่านชุมชนเมืองของกรุงมะนิลาถือว่าเป็นนวัตกรรมท้องถิ่นของประเทศฟิลิปปินส์ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถของคนในท้องถิ่นในการปรับใช้รถJeep ทหารที่ถูกทิ้งไว้จากช่วงการยึดครองของชาวอเมริกันและชาวญี่ปุ่นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2

ส่วนนิทรรศการภาคที่สองDiaspora and Identity (จัดแสดงตั้งแต่วันที่1สิงหาคม) จะพูดถึงประเด็นการอพยพย้ายถิ่นฐานการพลัดถิ่นแรงงานและอัตลักษณ์การเคลื่อนตัวที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงระหว่างและหลังสงครามเย็นส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลทางการเมืองและเศรษฐกิจในผลงานวิดีโอบันทึกการแสดงสดNeang Nheak หรือเทพธิดางูโดยอะนีดาโยเออาลีร่วมกับกลุ่มแขมร์อาร์ตและสตูดิโอรีโวลต์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกัมพูชาระหว่างความดั้งเดิมและความเป็นสมัยใหม่ผ่านการใช้เรื่องเล่าในตำนานกับการร่ายรำแบบดั้งเดิมในพื้นที่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ผลงานชิ้นนี้เปรียบได้กับการเคลื่อนย้ายและการเดินทางค้นพบตัวเอง

 

เกี่ยวกับผู้บรรยาย

สตูดิโอ รีโวลต์ (อะนีดา โยเอ อาร์ลี และ มาซาฮิโระ ซูกาโน)

Neang Neak (Serpent Goddess)

ประเทศกัมพูชา/สหรัฐอเมริกา, 2012, 3:50 นาที

 

สตูดิโอ รีโวลต์ ( ชิคาโก/พนมเปญ/โอซาก้า)เป็นแลปมีเดียที่ดำเนินการโดยกลุ่มศิลปินอิสระสองคน คืออะนีดา โยเอ อาร์ลี และ มาซาฮิโระ ซูกาโน เพื่อผลิต   ผลงานภาพยนตร์ วิดีโอ งานจัดวาง และงานแสดงสด ในเมืองพนมเปญ ประเทศกัมพูชา แลปแห่งนี้เป็นการใช้พื้นที่ร่วมกันของศิลปินแสดงสด อะนีดา โยเอ อาร์ลี และนักสร้างภาพยนตร์ มาซาฮิโระ ซูกาโน ผลงานภาพยนตร์ของมาซาฮิโระ พูดถึงการทบทวนบรรทัดฐานทางวัฒนธรรมและการเมือง ที่จำกัดจินตนาการและทำให้การรับรู้ของเราเสื่อมถ้อยลง อาร์ลี แสดงการอ่านบทกวีและแถลงการณ์เกี่ยวกับการก้าวข้ามอัตลักษณ์ และพรมแดนของตัวเธอเอง ผลงานที่ทั้งคู่ทำงานร่วมกันสร้างความเป็นไปได้ในการยืนอยู่นอกกรอบเรื่องเล่าตามธรรมเนียมที่สืบทอดกันมา สตูดิโอ รีโวลต์ ยังรุดไปข้างหน้าอีกขั้นในการกระตุ้นให้ผู้ชมมีส่วนร่วม และเรียกร้องสิทธิของตนเองกับโลกนี้

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2544 สตูดิโอ รีโวลต์ ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของศิลปะร่วมสมัยในเมืองพนมเปญ โดยแสดงผลงานมากมายทั้ง งานฉายภาพยนตร์ งานนิทรรศการ และโครงการศิลปะสาธารณะ ผลงานการร่วมมือชิ้นแรกของสตูดิโอ รีโวลต์ 1700% Project: Mistaken For Muslim (2010) ภาพยนตร์เกี่ยวกับอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชังชาวมุสลิมหลังเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งได้รับรางวัล LinkTV’s One Chicago One Nation online film competition  สตูดิโอ รีโวลต์  มีผลงานภาพยนตร์สารคดีขนาดยาว Cambodian Son ซึ่งชนะรางวัลสารคดียอดเยี่ยมจากเทศกาล San Francisco’s CAAMFest 2014 และเทศกาล Lebanon’s Cultural Resistance Film Festival

 

มาเรียทานิคูชิ

มาเรียทานิคูชิเกิดเมื่อปีพ.ศ.2524 เมืองดูมาเกตเต้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์จบการศึกษาระดับปริญญาโทเมื่อปีพ.ศ.2552 สาขาทัศนศิลป์จากมหาวิทยาลัยGoldsmiths ประเทศอังกฤษมาเรียเคยแสดงผลงานเดี่ยวที่carlier|gebauer เบอร์ลินและIbid ลอนดอน(2005) Silverlens สิงคโปร์และกรุงมะนิลา(2014) Art Statements, Art Basel 44 สวิตเซอร์แลนด์(2013) และEcho Studies, Jorge Vargas Museum กรุงมะนิลา(2011)และนอกจากนั้นยังร่วมแสดงในนิทรรศการกลุ่มอีกมากมายอาทิเช่น8th Asia Pacific Triennial of Contemporary Art, Queensland Art Galleryบริสเบนออสเตรเลีย(2015) Don’t You Know Who I Am? Art After Identity Politics, Museum of Contemporary Art (MHKA), Antwerpโดยภัณฑารักษ์Anders Kreuger และNav Haq Material, Memory, Fluxia กรุงมิลาน(2014) Conversations in Amman, Khalid Shoman Foundation กรุงอัมมานจอร์แดนโดยภัณฑารักษ์Adriano Pedrosa, The Philippine Contemporary: To Scale the Past and the Possible, Metropolitan Museum of Manila กรุงมะนิลาโดยภัณฑารักษ์Patrick Flores(2013) Without a Murmur, Museum of Contemporary Art and Design กรุงมะนิลาโดยภัณฑารักษ์Joselina Cruz, A Reader of Materials and a Writer of Forms, MOT International กรุงบรัสเซลส์โดยภัณฑารักษ์Lucy Macdonald (2013) ปัจจุบันอาศัยและทำงานอยู่ที่กรุงมะนิลา

 

กิจกรรมในครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม

รายละเอียดเพิ่มเติมหรือสำรองที่นั่งกรุณาติดต่อหอศิลป์บ้านจิมทอมป์สันโทร. 02 612 6741

Email: pr_artcenter@jimthompsonhouse.comeducation@jimthompsonhouse.com

FB: The Jim Thompson Art Center

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net