Skip to main content
sharethis
Event Date

“ร่วมกันสร้างโลกเย็นที่เป็นธรรม” เนื่องในโอกาสที่การประชุมย่อยของอนุสัญญาสหประชาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งแรกของปี 2554 จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงต้นเดือนเมษายนนี้ คณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม (Thai Working Group for Climate Justice: TCJ)และเครือข่าย จึงจัดกิจกรรมเพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกในการตอบโจทย์หยุดโลกร้อนอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 9.00 – 18.00 น. สถานที่:โรงแรมรอยัลรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนินกลาง เวทีเสวนา: ภาคป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในมุมมองความสำพันธ์เชิงอำนาจ WORKSHOP:REDD – THE POLITICAL ECONOMY PERSPECTIVE ภาคป่าไม้ ในฐานะที่เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนของโลก จึงถูกนำมาเชื่อมโยงกับการลดโลกร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลายเป็นหนึ่งในประเด็นการเจรจาเรื่องโลกร้อน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในเวทีเจรจาฯ ภายใต้คำว่า “การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่าในประเทศกำลังพัฒนา” หรือ เรดด์ (REDD: Reducing Emission from Deforestation and Degradation in Developing Countries) นอกจากนี้ ยังมีโครงการปลูกป่าเพื่อการค้าคาร์บอนเครดิต ทั้งที่พยายามเข้าไปอยู่ในกลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM ภายใต้กรอบการเจรจา และตลาดค้าคาร์บอนอย่างสมัครใจ ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ โครงการเหล่านี้มีผลเกี่ยวโยงกับประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีพื้นที่ป่าดั้งเดิมซึ่งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนชั้นดี จึงเป็นเป้าหมายของโครงการปลูกหรือรักษาป่าเพื่อซื้อขายคาร์บอน อย่างไรก็ดี การนำภาคป่าไม้มาเกี่ยวโยงกับการค้าหรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในสังคมโลก ถึงความเหมาะสมและผลกระทบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิทธิของคนพื้นเมืองและคนที่อาศัยอยู่ในป่า และผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้จัดเวทีเสวนาครั้งนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้สังคมเข้าใจและเท่าทันประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกรณีศึกษาจากประเทศต่างๆในภูมิภาค 9.00 – 9.15 กล่าวเปิดและแนะนำงาน 9.15 – 11.00 ทำความรู้จักกับ REDD: การลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า - ภาพรวม (ที่มา, แนวคิด, ผู้เกี่ยวข้องหลัก, กระบวนการ, และรูปแบบที่มีการเจรจา ณ ปัจจุบัน ฯลฯ) - การเงินเรื่อง REDD (ธนาคารโลก, UN, ตลาด, การออฟเซ็ต) - FPIC (Free, Prior and Informed Consent/กลไกการแจ้งล่วงหน้าและความเป็นอิสระ) และ safeguards (การป้องกัน) 11.00 – 11.15 พัก อาหารว่าง 11.15 – 12.00 ถาม/ตอบ 12.00 – 12.30 บริบทของเรดด์ในเอเชีย และกรณีศึกษา - กรณีศึกษาจากประเทศอินโดนีเซีย 12.30 – 13.30 พัก อาหารกลางวัน 13.30 – 14.45 - กรณีศึกษาจากประเทศฟิลิปปินส์ ไทย กัมพูชา และลาว 14.45 – 15.30 ประเด็นสำคัญจากกรณีศึกษา และเปิดวงสนทนา 15.30 – 16.30 อาหารว่าง พร้อมทั้งแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมสมอง “เราต้องการอะไรและจะทำอย่างไร?” 16.30 – 17.15 นำเสนอผลจากการระดมสมองกลุ่มย่อย 17.15 – 18.00 สังเคราะห์ และอภิปรายประเด็นสำคัญ **เวทีเสวนาใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และมีการแปลเป็นภาษาไทยด้วยหูฟัง**

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net