Skip to main content
sharethis

 

"บ้าน" ใน มิติกายภาพอาจหมายถึงสิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาเพื่อทำหน้าที่คุ้มแดดกันฝน มีผนังกั้นเพื่อกันลมและอันตรายนานา หรือหากมองจากคุณค่าด้านจิตใจบ้านเปรียบเสมือนชายคาพักใจ เป็นจุดเริ่มต้นของหน่วยความสัมพันธ์ทางสังคมที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า "ครอบครัว" และไม่ว่าจะมองจากมิติกายหรือใจบ้านยังคงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
 
มนุษย์ ต้องการบ้านเพื่อที่จะมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย แต่บางครั้งความต้องการดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้น ระหว่างทาง และปลายทางของการสร้างความขัดแย้ง โดยมีความเหลื่อมล้ำเป็นผู้ร้ายตัวจริง
สถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เริ่มงานสร้างบ้านที่เป็นอาคารแบบต่างๆบนผืนดินทั่วประเทศ พร้อมไปกับการปลูกบ้านแห่งการใส่ใจลงบนผืนใจของสมาชิกในชุมชน มีความสมานฉันท์เป็นรูปธรรมของความสำเร็จในโครงการบ้านมั่นคง และกระบวนการฟื้นฟูชุมชนผู้ประสบภัยสึนามิ
 
บ้านมั่นคง บนรากฐานชุมชนที่เข้มแข็ง
ชุมชนแออัดขนาดใหญ่ 3,752 แห่ง เป็นที่อยู่ของครอบครัว 1.14 ล้านครัวเรือน และหมายถึง 5.13 ล้านคนดำรงชีวิตอยู่ในนั้นต้องเผชิญกับความเหลื่อมล้ำนานานับประการ ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการพัฒนาเมืองเพิ่มขึ้นที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัย ของคนจนในเมืองถูกทำลายโดยการไล่ที่ เวนคืน เพื่อก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค อาคารธุรกิจการค้า ปัจจุบันมีชุมชนแออัดที่มีปัญหาการถูกไล่ที่ประมาณ 445 ชุมชน ซึ่งหมายถึง 99,827 ครัว เรือน ส่วนชุมชนแออัดอื่นๆ แม้จะยังไม่ถูกไล่ที่โดยตรง แต่การอยู่อาศัยในที่ดินบุกรุก/บุกเบิกที่เช่าแบบไม่มีสัญญาเช่า หรือเช่าปีต่อปี ก็ล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนที่มีปัญหาที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย ปัญหาที่ดินสะท้อนความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เพราะขณะที่รัฐและเอกชนเป็นเจ้าของที่ดินจำนวนมาก แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน ในสังคมกลับมีคนจำนวนมากที่ไม่มีที่ดินในการอยู่อาศัย
 
ด้วย สถานะการศึกษาที่ต่ำส่งผลให้คนจนในเมืองส่วนใหญ่มีรายได้น้อยเพราะต้องทำมา หาเลี้ยงชีพในฐานะแรงงานไร้ฝีมือ หากจะประกอบกิจการส่วนตัวก็ขาดแคลนเงินลงทุน แต่กลับมีภาระค่าใช้จ่ายบางด้านสูงกว่าคนทั่วไปในเมือง เนื่องเพราะไม่ได้รับการยอมรับสถานภาพการอยู่อาศัยของคนจนในเมือง ทำให้ต้องเสียค่าน้ำประปา-ไฟฟ้าแพงกว่าปกติถึง 5-10 เท่า และแม้รัฐบาลจัดทำโครงการเพื่อช่วยเหลือ เช่น กองทุนชุมชนเมือง ธนาคารประชาชน หลายชุมชนไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งได้ หรือเท่าที่มีอยู่พบว่าคนยากจนสุดไม่สามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากกลุ่มเกรงว่าจะชำระคืนไม่ได้ จึงยังคงต้องพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ
 
นอกจากนี้ระบบการบริหารจัดการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นระบบโครงสร้างแนวดิ่ง (Vertical Structure) ที่ แยกอำนาจหน้าที่ตามภารกิจของหน่วยงานต่างๆ โดยมีกฎหมาย ระเบียบต่างๆที่เป็นการบังคับควบคุมที่ไม่เอื้อหรือส่งเสริมให้เกิดการแก้ไข ปัญหาหรือพัฒนา กระบวนการทำงานที่คนจนไม่มีโอกาสได้รับรู้ เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ไม่มีพันธมิตรเข้าไปหนุนช่วย ยิ่งทำให้คนจนในเมือง ซึ่งมีความอ่อนแอจากหลายๆสาเหตุแล้ว ยิ่งขาดโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
 
ความเหลื่อมล้ำเป็นปัจจัยสำคัญของความขัดแย้งที่สะสมและรับรู้ว่าเป็นปัญหายาวนานของชุมชนแออัดในเมือง โครงการ "บ้านมั่นคง" เป็นอีกหนึ่งความหวังของการคลี่คลาย บนแนวคิดที่ให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเองและชาวบ้านจะเปลี่ยนบทบาทจาก "ผู้รับประโยชน์" หรือ "ผู้ขอความช่วยเหลือ" เป็น "เจ้าของโครงการ" เน้นให้เกิดความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการเช่าระยะยาว การมีกรรมสิทธิ์จะเป็นพื้นฐานให้เกิดการร่วมกันสร้างชุมชนที่มั่งคง เพราะบ้านมั่นคงไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างที่อยู่อาศัยให้มั่นคงเท่านั้น แต่เน้นการสร้างชุมชนที่มั่นคงเข้มแข็ง ตลอดจนการแก้ปัญหาร่วมกันทั้งเมือง
 
เป้า หมายสำคัญของบ้านมั่นคง คือ การที่คนจนในชุมชนแออัดมีทั้งที่อยู่อาศัยที่มั่นคง เกิดสังคมน่าอยู่ และพึ่งตนเองได้ ซึ่งจุดเริื่มต้นเริ่มจากการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมในการดำเนินโครงการ ไม่ใช่หน่วยงานภายนอกมาจัดการให้ หากต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อเป็นกลไกที่จะ เปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมในระดับเมือง เชื่อมโยงการพัฒนาทั้งจากชุมชนและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เช่น เทศบาล องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา ฯลฯ ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาชุมชนจะกำหนดแผนการพัฒนาเมืองร่วมกันโดยอาศัยฐานข้อมูล ที่มาจากการสำรวจข้อมูลชุมชน
 
การ สำรวจข้อมูลชุมชนเป็นเครื่องมือที่มีพลัง เพราะการสำรวจข้อมูลชุมชนไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงอย่าง เดียว แต่ยังเป็นการส่งเสริมให้แกนนำ/กลุ่ม องค์กรชุมชนในเมืองเดียวกันได้มีโอกาสรู้จักกันมากขึ้น เกิดการทำงานร่วมกัน มีคนเข้ามาร่วมทำงานมากขึ้นและเมื่อต้องนำข้อมูลมาสรุปวิเคราะห์ร่วมกัน ช่วยให้ทุกคนที่เข้าร่วมกระบวนการได้รู้จักชุมชนตนเอง รู้ภาพรวมของชุมชนเมือง และเมื่อต้องมีการคัดเลือกชุมชนนำร่องชุมชนได้ร่วมกันสร้างหลักเกณฑ์การคัด เลือกชุมชน ถือเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญ เพราะเมื่อหลักเกณฑ์มาจากการมีส่วนร่วมในการสร้าง การตัดสินใจในการเลือกชุมชนนำร่องก็จะเป็นการยอมรับร่วมกัน จากนั้นจะมีการสำรวจข้อมูลรายละเอียดของครัวเรือนที่อยู่อาศัยในชุมชนนำร่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น พร้อมกันนั้นจึงได้ประสานกับสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นให้สถาปนิกชุมชนมาร่วม จัดกระบวนการวางผังร่วมกับชุมชน โดยเน้นการวางผังที่จะเอื้อให้เกิดการอยู่อาศัยร่วมกันเป็นชุมชน
 
เมื่อ ได้ผังชุมชนแล้วจะได้มีการตั้งกลุ่มผู้รับผิดชอบในแต่ละด้าน เ่ช่น การจัดทำรายละเอียดปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคในลักษณะของแผนโครงการพร้อมราย ละเอียดงบประมาณที่จะเสนอขอรับการสนับสนุน ซึ่งกระบวนการในการทำงานร่วมกันนี้เป็นการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม ได้แก้ปัญหาร่วมกัน เป็นโอกาสของการเรียนรู้และรู้จักกันของแกนนำในชุมชนได้เป็นอย่างดี นอกจากการเรียนรู้ในชุมชนแล้ว โครงการนำร่องนั้นยังเป็นแบบฝึกหัด เวทีในการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงสำหรับชุมชนอื่นที่จะได้เตรียมความพร้อม เมื่อถึงคราวของชุมชนตนเองในอนาคต
 
อย่างไร ก็ตามโครงการบ้านมั่นคงไม่ได้เน้นเฉพาะการมีที่อยู่ที่มั่นคงเท่านั้น แต่ชุมชนจะต้องสร้างระบบการดูแลซึ่งกันและกันในชุมชนควบคู่ไปด้วย การรณรงค์เรื่องกลุ่มออมทรัพย์จึงมีความสำคัญ ถือเป็นรากฐานที่สำคัญก่อนที่ชุมชนจะมีบ้านและที่ดินอยู่อาศัยที่มั่นคง การรวมตัวกันตั้งกลุ่มไม่เพียงแต่ทำให้ชุมชนมีฐานการเงินของตนเอง ยังสามารถตัดเงินบางส่วนจากกลุ่มออมทรัพย์มาใช้ในโครงการหรือการจัดระบบดูแล กันของชุมชน อาทิ ระบบการดูแลผู้สูงอายุ การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ฯลฯ และยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มออมทรัพย์เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ชุมชนได้เรียนรู้ ระบบบริหารจัดการร่วมกัน เอื้อให้เกิดการรวมตัวที่แน่นแฟ้นขึ้น
 
ผลสำเร็จที่เกิดจากโครงการบ้านมั่นคงที่เิกิดขึ้นคือ ชุมชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน 158 ชุมชน/ 9,849 ครัวเรือน อีก 204 ชุมชน/ 17,622 ครัวเรือน มีสัญญาเช่าระยะยาวรายบุคคล และ ได้รับความยินยอมให้ปลูกสร้างปรับปรุงที่อยู่อาศํยจำนวน 57ชุมชน/2,267 ครัว เรือน ที่สำคัญไปกว่านั้นพบว่ากระบวนการในโครงการบ้านมั่นคงได้ช่วยลดปัญหาความ เหลื่อมล้ำความขัดแย้งต่างๆที่มีอยู่ นำไปสู่ความสมานฉันท์ได้เป็นอย่างดี ทั้งการที่เกิดการจัดการตัวเองของชุมชน เมื่อคนจนมีความมั่นใจในพลังความสามารถในการจัดการของชุมชน ความเหลื่อมล้ำจะค่อยๆ หายไป เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับที่เป็นการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน/เจ้าของ ที่ดินกับชุมชน
 
กระบวนการ แก้ปัญหาที่ทำเป็นชุดทั้งเมืองอย่างรอบด้าน ทั้งเรื่องที่ดิน การพัฒนาสาธารณูปโภค การปรับปรุงบ้าน การพัฒนาการออม/ทุนของชุมชน สวัสดิการ ฯลฯ ทำให้เกิดพลังร่วมทั้งในระดับชุมชนที่ทุกคนมีพื้นที่ที่จะมาร่วมทำงานและ ระดับเมืองที่ทุกภาคส่วนสามารถใช้บทบาทของตนเองมาร่วมสนับสนุนการแก้ปัญหา ได้เต็มที่
 
 
สึนามิ: วิกฤตแห่งโอกาสในการสร้างความสมานฉันท์
สึ นามิเป็นพิบัติภัยที่นำความสูญเสียมาสู่ทุกกลุ่มคนโดยไม่แยกเชื้อชาติ เพศ หรือชนชั้น แต่ภายหลังจากผ่านวิกฤตความเดือดร้อนเฉพาะหน้าในช่วงต้น ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเรื่องต่างๆ ก็ค่อยเผยออกมาให้เห็นชัดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องที่ดินซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานเดิม แต่การเกิดคลื่นสึนามิถล่มทำให้เปิดภาพปัญหาเรื่องที่ดินของชาวบ้านที่อาศัย อยู่ชายฝั่งทะเลมายาวนาน มีความชัดเจนและรุนแรงขึ้น จากที่ พอช.เข้าไปทำงานในพื้นที่ประสบภัยสึนามิได้เห็นภาพความเหลื่อมล้ำใน กระบวนการแก้ไขปัญหา และฟื้นฟูชุมชนผู้ประสบภัยสึนามิ เช่น การให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐได้เน้นช่วยเหลือผู้ที่มีทะเบียนบ้านใน พื้นที่ก่อน ส่วนผู้ที่อาศัยอยู่บ้านเช่า หรือเช่าที่ดินปลูกบ้าน แม้จะอยู่มายาวนาน 10 กว่าปี และประสบความสูญเสียทุกอย่างเช่นเดียวกันจะยังไม่สามารถได้รับการช่วยเหลือ หรือคำตอบเรืื่่องการช่วยเหลือที่ชัดเจน และหากขยายฐานการมองจากระดับครัวเรือนไปสู่ชุมชน พบว่าในจำนวน 412 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิมีถึง 81 หมู่บ้านที่มีปัญหาไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่อยู่อาศัย
 
หมู่บ้านที่ประสบภัยส่วนใหญ่เป็นหมู่บ้านประมงที่อยู่อาศัยทำมาหากินกับทะเลมายาวนานนับ 100 ปี แม้ชุมชนเหล่านี้จะอยู่อาศัยมายาวนาน แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินสาธารณะที่ดูแลโดยหน่วยงานต่างๆ เช่น หน่วยอนุรักษ์ป่าชายเลน บางพื้นที่เป็นที่ดินเอกชน บางพื้นที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อน พื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดินรุนแรง ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่อาศัยอยู่ในที่ดินซึ่งเอกชนมีเอกสารสิทธิ์ แต่ไม่ได้เป็นผู้อยู่อาศัย หรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน บางพื้นที่มีความขัดแย้งเรื่องที่ดินก่อนเกิดสึนามิ แต่เมื่อเกิดสึนามิแล้วปัญหารุนแรงขึ้น ชาวบ้านไม่สามารถกลับไปสร้างบ้านในที่เดิมได้
 
จาก วิกฤตที่มีความเหลื่อมล้ำเป็นปัจจัยส่งให้เกิดความขัดแย้ง ชุมชนผู้ประสบภัยสึนามิสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ในหลายเรื่อง เช่น การจัดการดูแลตนเองของกลุ่มผู้ประสบภัยที่ื่พักในศูนย์ที่พักชั่วคราว ซึ่งการที่ผู้ประสบภัยได้ร่วมกันทำงานทำให้เกิดการจัดระบบร่วมกัน ไม่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องของบริจาค สามารถสร้างกติกาการอยู่ร่วมกันในศูนย์ที่พักชั่วคราว เช่น การที่จะจัดว่าใครสามารถเข้าอยู่อาศัยเป็นชุดแรกในบ้านพักชั่วคราวที่ ก่อสร้างเสร็จก็มีการกำหนดหลักเกณฑ์ร่วมกัน ที่ช่วยไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและเป็นหลักเกณฑ์ที่มองเชิงการช่วยเหลือ เกื้อกูลเป็นสำคัญ
 
การ ร่วมกันแก้ไขปัญหาฉุกเฉินเฉพาะหน้าในช่วงแรกได้พัฒนาสู่การร่วมกันวางแผนที่ จะฟื้นฟูชุมชนในเรื่องต่างๆ เช่น ที่อยู่อาศัย อาชีพและรายได้ การพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน การฟื้นฟูจิตใจ การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม โดยมีการส่งเสริมการเรียนรู้ เชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประสบภัย จัดระบบชุมชนผู้ประสบภัยที่เสียหายรุนแรงให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการ ชุมชน และยังได้มีการจัดทำข้อเสนอต่อนโยบายรัฐในการสนับสนุนการฟื้นฟูชุมชนผู้ ประสบภัยโดยให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการ
 
กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมจากชุมชน ผ่านกลไกอนุกรรมการการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ประสบธรณีพิบัติ 6 จังหวัด เริ่มต้นจากการตรวจสอบข้อมูลปัญหาที่ดินชุมชนผู้ประสบภัย โดยแต่ละจังหวัดให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการและเครือข่าย ชุมชนในพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งนำมาสู่ข้อยุติในการแก้ปัญหาที่ดิน 13 พื้นที่ 1,156 ครัวเรือน ดังนี้
  • การออกเอกสารสิทธิ์รวมของชุมชนปากเตรียม จ.พังงา ที่ใช้เงินซื้อที่ดินตกสำรวจ
  • การ แบ่งปันที่ดินรัฐซึ่งมีหนังสือรับรองที่หลวง(นสล.) ที่ชุมชนบ้านทุ่งหว้าอาศัยอยู่เดิม มาจัดผังชุมชนใหม่ ให้เป็นที่ดินอยู่อาศัยของชุมชนส่วนหนึ่งและคืนให้หน่วยงานรัฐส่วนหนึ่ง
  • การ รับรองสิทธิ์การอยู่อาศัยของชุมชนในที่เดิม โดยการร่วมกันรังวัดขอบเขตชุมชน พื้นที่ส่วนกลางให้ชัดเจน จัดเป็นสิทธิ์ร่วมกันของชุมชน ให้แก่ บ้านหัวแหลม-สังกาอู้ จ.กระบี่ และอีก 7 ชุมชนในจังหวัดตรัง
  • การจัดพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมสภาพมาเป็นที่รองรับชุมชนที่ต้องย้ายขึ้นมาอยู่ในที่ที่ปลอดภัย
  • การจัดอนุญาตให้ชุมชนที่อาศัยอยู่บนที่ดินสาธารณะที่มี นสล. ได้มีการจัดสิทธิ์การอยู่อาศัยอย่างถูกต้องตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
 
สำหรับชุมชนที่ยังไม่ได้ข้อยุติก็ได้ข้อมูลแนวทางที่ชัดเจนขึ้น เช่น พื้นที่ที่มีความขัดแย้งที่ดินระหว่างชุมชนกับเอกชน 3 พื้นที่บ้านแหลมป้อม บ้านในไร่ บ้านทับตะวัน จ.พังงา หรือในพื้นที่ที่แผนการใช้ที่ดินยังไม่ชัดเจน อย่างเกาะพีพี ได้ให้มีการจัดทำข้อมูลให้ชัดเจนขึ้น รวมถึงการประชุมร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนใน จ.สตูล 11 พื้นที่ กรณีที่ดินที่มีปัญหาขัดแย้งกับเอกชน คณะกรรมการได้มีแนวทางให้มีการตรวจสอบกระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ และพยายามที่จะให้มีการเจรจาต่อรองเพื่อให้เอกชนแบ่งที่ดินคืนเป็นที่อยู่ อาศัยเดิมบางส่วน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่เสนอปัญหาเข้ามาใหม่ ประกอบด้วย กระบี่ 12 หมู่บ้าน ภูเก็ต 10 ชุมชนและพังงาอีก 9 ชุมชน
 
นอกจาก นี้การที่ชุมชนได้มีโอกาสในการตัดสินใจเลือกว่าจะอยู่ที่ไหน อยู่แบบไหน มีกลุ่มองค์กรของตนเองมาบริหารจัดการร่วมกัน ทำให้ชุมชนมีความมั่นใจ เชื่อมั่นในการรวมพลังกันแก้ปัญหา สามารถประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงาน ผู้ที่มาช่วยสนับสนุนได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียม ยิ่งไปกว่านั้นมีการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนผู้ประสบภัยอันดามันขึ้นมา โดยมีการจัดแลกเปลี่ยนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
 
จาก ประสบการณ์ของชุมชนที่เข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟูเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย โดยมีปัญหาที่ดินเป็นหลักสามารถที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสนั้น มีสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการแก้ปัญหาในแนวทางสมานฉันท์ คือ
  1. การเปิดพื้นที่ให้ผู้ประสบภัยได้ลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตนเอง
  2. การ จัดทำข้อมูลให้ชัดเจนและใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหา เพราะมีชาวบ้านลุกขึ้นมาสำรวจข้อมูลในศูนย์พักชั่วคราว จึงรู้ว่ามีชาวบ้านจำนวนมากมีปัญหาเรื่องเอกสารสิทธิ์ และการที่ชุมชนได้ร่วมกันทำข้อมูลประวัติการอยู่อาศัยของชุมชน ทำให้มีข้อมูล/ข้อเท็จจริงในการพูดคุย แทนการใช้ความรู้สึก หรือทัศนคติซึ่งเดิมอาจมีทัศนคติในด้านลบต่อกัน
  3. การ จัดกระบวนการวางผังชุมชน/การวางแผนพัฒนาพื้นที่ทั้งบริเวณ โดยสถาปนิกเข้ามาช่วย การที่ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการวางผังช่วยไม่ใหเกิดความขัดแย้ง ทั้งยังป้องกันความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในช่วงต่อไป
  4. การ จัดตั้งคณะอนุกรรมการร่วมทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น โดยให้ได้รับรู้ข้อมูลชุดเดียวกัน ในการนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาต่อคณะอนุกรรมการฯ ส่วนกลาง ก็จะเป็นแนวทางเชิงสมานฉันท์ในการแก้ปัญหามากขึ้น
  5. การ สื่อสารเรื่องราวของผู้ประสบภัยสู่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง หาแนวทางแก้ปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นความขัดแย้งมากขึ้น รวมทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ปัญหาของชุมชนสู่สาธารณะเื่พื่อนำไปสู่การแก้ไข โดยไม่สามารถละเลยได้ สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ที่น่าสนใจพบว่าชาวบ้านหลายชุมชนได้ใช้วิธีการเสนอเรื่องร้องเรียนไปที่ หน่วยงานต่างๆ เพื่อเร่งรัดให้แก้ปัญหา โดยไม่ได้ฝากความหวังไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
...
 
ใน การดำเนินการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยโดยตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำที่มีอยู่ว่า เป็นมูลเหตุแห่งความขัดแย้ง ซึ่งบทเรียนจากการดำเนินงานของ พอช.ในโครงการบ้านมั่นคง และการฟื้นฟูชุมชนที่ประสบภัยสึนามิ ให้สัมฤมธิผลอันสำคัญ เมื่อเลือกวิถีทางสมานฉันท์ในการแก้ปัญหา ที่สำคัญเป็นความสมานฉันท์ที่มาจากผู้ที่เป็นเจ้าของปัญหา ที่รู้ว่าสำคัญที่การร่วมคิด ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองไปข้างหน้าเพื่อเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น การร่วมทำ นำมาสู่การรู้จัก ได้เรียนรู้จากกัน จนก่อเกิดความเห็นใจที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล บนกติกาที่มาจาก ภายในชุมชน ระหว่างชุมชน และต่อระบบสังคมใหญ่ ที่ได้ร่วมสร้างเป็นข้อตกลง
ที่ยอมรับร่วมกัน
 
 
เรียบเรียงจากเอกสารสัมมนาวิชาการประจำปี 2548 ของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
เรื่อง สร้างความสมานฉันท์บนความขัดแย้งที่ซ่อนเร้น กรณีศึกษาโครงการบ้านมั่นคง และผู้ประสบภัยสึนามิ ซึ่งมี มูลนิธิชัยพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เป็นองค์กรร่วมจัด เมื่อวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2548 ณ โรงเรียนแอมบาสเดอร์ พัทยา
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net