Skip to main content
sharethis


1 มี.ค.52 เวลาประมาณ 10.30 น. เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์รวมตัวกันที่สี่แยกประจวบฯ เพื่อแจกแถลงการณ์เกี่ยวกับ ใครได้ ใครเสียอะไรจากเวทีประชุมสุดยอดอาเซียน ซัมมิท ที่โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 600 คน และเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไปที่สัญจรไปมาว่าอาเซียนคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเครือข่ายพันธมิตรสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 


 


 







แถลงการณ์


ในวาระการประชุมอาเซียนชะอำ-หัวหิน  ที่คนไทยควรรู้เท่าทัน


ท่ามกลางการโหมประโคมของรัฐบาลให้คนไทยร่วมทำตัวเป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับเวทีประชุมอาเซียน ซัมมิท ครั้งที่ 14 "อย่าทำตัววุ่นวาย หากใคร กลุ่มไหนประพฤติตัวนอกกรอบนี้ ต้องพร้อมรับเสียงก่นด่าในข้อหาทำลายภาพพจน์ที่ดีของชาติ...หนักถึงขั้นทำลายชาติไปเลย


รู้เท่าทันกรอบการค้าที่รัฐบาลไทยไม่เคยบอกคนไทย


เรากำลังจะมุ่งสู่การค้าเสรีในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียน และประเทศคู่ค้าเช่น ญี่ปุ่น จีน อินเดีย


เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย เป็นต้น กรอบการค้าเสรีเวทีระหว่างประเทศที่เนื้อหาส่วนใหญ่เน้นเอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมแข่งขันระดับโลกได้  ขณะเดียวกันภาคเกษตรคือส่วนที่รัฐบาลไทยเจรจาเอาไปแลกและอยู่ในสภาวะต้องเสีย เช่น มะพร้าว น้ำมันปาล์ม กาแฟ นม ข้าวโพด และอื่นๆ รวม 23 ชนิด 


การกระตุ้นเศรษฐกิจโดยอาเซียนทางแหล่งอาหาร หายนะทางสุขภาพ ก็พอจะบอกได้ว่า เป็นการเปิดประตูรับอุตสาหกรรมหนัก มีมลพิษสูงเช่น ปิโตรเคมี โรงถลุงเหล็ก ให้ประเทศคู่ค้า อย่างจีน ญี่ปุ่น อินเดีย โดยใช้แหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติสำรอง 1 ใน 3 ของโลก มีแหล่งถ่านหิน แหล่งแร่ธาตุ มีชายฝั่งทะเลร่องน้ำลึก เกื้อหนุนอุตสาหกรรมที่ย้ายมารออยู่ก่อนแล้ว จูงใจให้นักลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่กำลังมองหาพื้นที่ในการย้ายอุตสาหกรรมมลพิษสูงออกจากประเทศตัวเองจากการถูกบีบบังคับด้วยกฎหมายสิ่งแวดล้อม ถูกกดดันจากนานาชาติให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โครงการพัฒนาเซาเทิร์นซีบอร์ดของไทยเป็นเป้าหมายหลัก ความต้องการพลังงานที่เข้มข้นจากอุตสาหกรรมหนักสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาสายส่งไฟฟ้าแรงสูงอาเซียนที่ต้องเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน,นิวเคลียร์ตลอดแนว ตั้งแต่จังหวัดประจวบฯ ชุมพร ลงไปทุกจังหวัดถึงสงขลาเพื่อเตรียมการรอรับอุตสาหกรรมกลุ่มนี้


ข้อสัญญาทางสิ่งแวดล้อมที่ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายรุนแรงที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ  ไม่ได้มีความหมายที่ให้ความคุ้มครองได้ครอบคลุมถึงมลพิษที่มีต่อประชาชนและสภาพแวดล้อม ไม่มีข้อห้ามการขนย้ายขยะพิษ ไม่มีการหารือถึงปัญหาการเพิ่

มปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการประชุมอาเซียน ก็พอจะบอกได้ว่า อนาคตของไทยและอาเซียนจะเต็มไปด้วยกองขยะพิษทางอุตสาหกรรมและที่กองกากกัมมันตภาพรังสี สร้างความหายนะทางสิ่งแวดล้อม เพิ่มมลพิษในแหล่งอาหาร ทำลายสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


หากจะมองหาความมั่นคง ปลอดภัยของประชาชนในหมู่ประเทศอาเซียน ยังมองไม่เห็นความหวังตราบใดที่การวางกรอบการพัฒนาของอาเซียนเน้นการเอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มทุนอุตสาหกรรม และไม่ได้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ได้คำนึงถึงสมดุลและความเป็นธรรมจากการพัฒนา เมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชนส่วนใหญ่จึงยังไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากการค้าเสรีของอาเซียน และถ้าประชาชนลุกขึ้นมาคัดค้านโครงการอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ไม่ต้องการ ก็อย่ามาว่ากัน เพราะเราไม่ได้เลือก


                                               


 กลุ่มพันธมิตรด้านสิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net