Skip to main content
sharethis

 



หมายเหตุ: บทความแปลชุด "สื่อในเอเซีย" แปลและเรียบเรียงโดย สุภัตรา ภูมิประภาส นี้เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน (สิทธิชุมชน) ในประเทศไทย


 


 


 


บทนำ


 


บทความแปลชุดนี้* เป็นรายงานนำเสนอในการสัมมนานานาชาติ เรื่อง "การหมิ่นประมาท: การสร้างเวทีระดับภูมิภาคเพื่อสนับสนุนเสรีภาพสื่อ" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ที่โรงแรมสันติกา เมืองจ๊อกจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย โดยผู้ร่วมสัมมนาเป็น นักข่าว นักกฎหมาย และนักรณรงค์เพื่อเสรีภาพสื่อจากประเทศอินโดนีเซีย ติมอร์ตะวันออก กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ออสเตรเลีย


 


ประสบการณ์ ชะตากรรมและการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อของประเทศต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในการสัมมนานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ และชวนถกเถียง ย้อนแย้งในหลายประเด็น


 


ทั้งความก้าวหน้าและความถดถอยของสื่อ และคำถามต่อหลักการแห่งจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อ


 


สื่อ มิได้ต่อสู้อยู่เพียงในห้องประชุมข่าว หรือแข่งขันกันในสนามข่าวเท่านั้น


แต่ศาลได้กลายเป็นสนามการต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อด้วย


 


สื่อเป็นได้ทั้งผู้คุกคาม และผู้ถูกคุกคาม


 


ที่ฟิลิปปินส์ ผู้ดำเนินรายการวิทยุถูกจับกลางห้องส่ง และถูกพิพากษาจำคุก 6 ปี เพราะเล่าข่าวเรื่อง ส.ส.หญิงต้องวิ่งเปลือยกายอยู่กลางโรงแรมเพราะหนีสามีนักการเมืองอารมณ์ร้าย


           


นักข่าวที่ถูกลอบสังหารต้องกลายเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาท เมื่อพยายามที่จะร้องหาความยุติธรรม


 


            ประธานาธิบดีฟ้องร้องเพื่อเอาสื่อเข้าคุก


 


            สถิติการคุกคามสื่ออย่างรุนแรงนับได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถึงขั้นต้องมีการเตรียมโทรศัพท์สายด่วน และหน่วยงานฉุกเฉินไว้รองรับ


 


ที่อินโดนีเซีย นักข่าวถูกลงโทษจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา เพราะเขียนบทความกระตุ้นให้มีการสอบสวนเรื่องการคุกคามทางเพศที่ไม่อาจพิสูจน์ได้จนถึงที่สุด


 


            สื่อบางแห่งต้องปิดกิจการเพราะล่มจมจากการถูกศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับจำนวนมหาศาลในคดีหมิ่นประมาท


 


            ขณะที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งอินโดนีเซียต่อสู้อย่างแข็งขันเพื่อกำจัดกฎหมายทั้งปวงที่คุกคามเสรีภาพสื่อ คำร้องเรียนของสาธารณชนที่ถาโถมเข้ามาเรื่องสื่อไร้จรรยาบรรณก็เป็นอีกประเด็นท้าทายที่อาจยากลำบากกว่า สื่อจำนวนมากถูกเรียกว่า "นักข่าวซองขาว" หรือ "นักข่าวแบล็คเมล์"


 


ที่กัมพูชา ประเทศเดียวในอุษาคเนย์ที่มีการยกเลิกโทษอาญาในคดีหมิ่นประมาทที่สื่อถูกฟ้องร้อง แต่นักข่าวบอกว่า "นั่นเป็นเพียงความงดงามที่ฉาบหน้าไว้" ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ยังมีกฎหมาย "ข้อมูลเท็จ" ไว้ให้ผู้มีอำนาจใช้เป็นเครื่องมือในการส่งนักข่าวเข้าคุก


 


            นักข่าวต้องทำงานในภาวะที่หวาดกลัวว่าอาจตกเป็นจำเลยในข้อหาให้ "ข้อมูลเท็จ" หรือตกเป็นเป้าหมายของการฆาตกรรม และยังไม่เคยมีฆาตกรในคดีสังหารนักข่าวคนใดถูกนำตัวมาลงโทษในกระบวนยุติธรรม


 


            ความเป็นจริงอีกด้านหนึ่ง คือ องค์กรสื่อเกือบทั้งหมดเลือกที่จะเข้าอิงฐานอำนาจทางการเมือง ทั้งพรรครัฐบาล พรรคฝ่ายค้าน จนกลายเป็นปัญหาที่ยากจะแก้ไข


 


ที่ติมอร์ตะวันออก ประเทศที่ประกาศตัวว่ายังเป็นหน่ออ่อนของประชาธิปไตย กำลังขะมักเขม้นกับการร่างกฎหมายสื่อที่มีฐานรากของการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และอยู่บนหลักการสิทธิเสรีภาพ ที่เคารพสิทธิมนุษยชนของคนทุกคน


 


            แต่การร่างกฎหมายคุ้มครองสื่อและเสรีภาพในการแสดงออกนั้น ยังคงต้องเผชิญกับการท้าทายที่ยากยิ่ง


 


            ขณะที่สื่อร้องเรียนว่าถูก "คุกคาม"จากคณะสอบสวนของยูเอ็นให้เปิดเผยข้อมูลของแหล่งข่าวที่อาจเกี่ยวข้องกับกรณีลอบสังหารประธานาธิบดี สื่อก็ถูกกล่าวหาเช่นกันว่า "คุกคาม"ผู้ที่ถูกพาดพิงถึงในเหตุการณ์เดียวกัน


           


ฯลฯ


 


การสัมมนาฯนี้ ร่วมจัดโดย


ARTICLE 19 โครงการณรงค์สากลเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก


AJI องค์กรพันธมิตรนักข่าวอิสระ ประเทศอินโดนีเซีย


DRSP- USAID ครงการสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตย


 


*แปลและเรียบเรียงโดย สุภัตรา ภูมิประภาส


 


 


00000


 


โปรดติดตามตอนต่อไป


มองสื่อนอก 1: บทเรียนการต่อสู้ของสภาการ นสพ.แห่งอินโดนีเซีย ว่าด้วยโทษหมิ่นประมาททางอาญากับสื่อ


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net