Skip to main content
sharethis

องค์กรฟอร์ตี้ฟายไรต์เรียกร้อง บ.ธรรมเกษตร จํากัด ถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทต่อ 14 คนงานข้ามชาติเมียนมาทันที หลังกลุ่มคนงานฟ้อง กสม.ปมละเมิดสิทธิ แนะทางการไทยควรลดการเอาผิด ทางอาญากับการหมิ่นประมาท

ภาพกลุ่มคนงานดังกล่าวเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 ก.ค.59

6 ก.พ.2561 องค์กรฟอร์ตี้ฟายไรต์ออกแถลงการณ์เรียกร้องบริษัท ธรรมเกษตร จํากัด ควรถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาต่อคนงานข้ามชาติ 14 คนจากเมียนมาทันที และเสนอให้ทางการไทยควรลดการเอาผิด ทางอาญากับการหมิ่นประมาท ทั้งนี้ศาลแขวงดอนเมืองที่ กรุงเทพฯ  มีกําหนดเริ่มพิจารณาในคดีนี้ตั้งแต่ วันพรุ่งนี้ (7 ก.พ.61)  และคาดว่าจะใช้เวลาสามวัน  หากศาลตัดสินว่ามีความผิดคนงานเหล่านี้อาจได้ รับโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี 

“ประเทศไทยควรคุ้มครองคนงานข้ามชาติและนักปกป้องสิทธิ  ซึ้งออกมาร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติมิชอบและให้ลดการเอาผิดทางอาญากับการหมิ่นประมาทโดยเร่งด่วน” เอมี สมิธ (Amy  Smith) ผู้อํานวยการบริหารฟอร์ตี้ฟายไรต์ กล่าว  พร้อมระบุว่า คดีลักษณะนี้เกิดขึ้นทั่วไปในประเทศไทย  ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกต้นทุนราคาแพงที่ผู้แจ้งข้อมูลและผู้บอกเล่าความจริงต้องจ่ายเพียงเพราะการใช้สิทธิของตน   

ฟอร์ตี้ฟายไรต์อธิบายถึงที่มาของกรณีดังกล่าวว่า ในวันที่ 7 ก.ค.2559  คนงาน 14 คนยื่นจดหมายร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวหาว่า บริษัทธรรมเกษตร จํากัด บริษัทเลี้ยงไก่ของคนไทยใน จ.ลพบุรี ละเมิด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน  โดยมีการจ่ายค่าแรงให้คนงานต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด  ไม่มีการจ่ายค่าล่วงเวลาและมีการยึดเอกสารประจําตัวของพวกเขา รวมทั้งหนังสือเดินทาง  ในวันที่  6 ต.ค.2559  บริษัทธรรมเกษตร จํากัด แจ้งข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาตามมาตรา 137  และ 326  ของประมวลกฎหมายอาญาต่อคนงาน 14 คน  กล่าวหาว่าการร้องเรียนของพวกเขากับ กสม.ทำลายชื่อเสียงของ บริษัท คนงานทั้ง  14  คนซึ่งประกอบด้วยชาย 9  คนและหญิง 5  คน มีภูมิ ลําเนาอยู่ที่ภาคพะโค  เมียนมา  

สำหรับมาตรา 137 ของประมวลกฎหมายอาญากําหนดเป็นความผิดอาญาฐาน “แจ้งข้ อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน”  ซึ่ง “อาจทําให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย” และกําหนดโทษจําคุกไม่ เกินหกเดือน  และ/หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  ในทํานองเดียวกัน มาตรา  326  กําหนดเป็นความผิดอาญาฐาน “ใส่ความ” ผู้อื่น “ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทําให้ ผู้อื่นนั้นเสีย ชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง”  และกําหนดโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี  และ/หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ   

ในวันที่ 19 ก.ย.2560 ภาคประชาสังคม  กลุ่มธุรกิจ  และสมาชิกรัฐสภา 87 คนและกลุ่ม  ได้ ยื่นจดหมายร่วมถึง นายกรัฐมนตรี กระตุ้นให้ทางการคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกของคนงานและนักเคลื่อนไหวด้านแรงงาน และประกันให้มีการคุ้มครองสิทธิด้านแรงงาน   

“รัฐบาลและภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต้องเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้รวมถึงหน้าที่ในการสอบสวนข้อกล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน” เอมี สมิธกล่าว และเสนอด้วยว่า ทางการควรยุติอุปสรรคขัดขวางที่ไม่เป็นธรรมนี้และประกันให้คนงานได้รับความยุติธรรม  

นอกจากนี้แถลงขององค์กรฟอร์ตี้ฟายไรต์ ยังระบุด้วยว่า ในวันที่ 4 พ.ย. 2559 บริษัท ธรรมเกษตร จํากัดยังฟ้องคดี ต่ออานดี้  ฮอลล์  (Andy  Hall) นักปกป้องสิทธิมนุษยชนชาวอังกฤษ โดยกล่าวหาว่าเขาได้ทําความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา  และละเมิด พ.ร.บ.ว่าด้ วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 เนื่องจากการใช้ โซเชียลมีเดียเรียกร้องให้เกิดความเป็นธรรมและให้มีการชดเชยอย่างเพียงพอต่อคนงานข้ามชาติ 14 คน  โดยศาลอาญากรุงเทพใต้มีกําหนดนัดพร้อมในวันที่ 4 มิ.ย.นี้   

ในวันที่ 24  ต.ค. 2560 บริษัทธรรมเกษตร จํากัด ยังได้แจ้งข้อหาลักทรัพย์ต่อคนงานสองคนคือ ยินยินและโซยาง และสุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงานโครงการของเครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีฐานสมาชิกและทํางานกับคนงานข้ามชาติจากเมียนมาที่อาศัยและทํางานในประเทศไทยโดย บริษัท ธรรมเกษตร จํากัด ฟ้องคดีกับศาลจังหวัดลพบุรี กล่าวหาว่าคนงานข้ามชาติและเจ้าหน้าที่  MWRN  “ลักทรัพย์”  โดยเป็นบัตรตอกลงเวลาของคนงาน หลังจาก คนงานได้ แสดงบัตรดังกล่าวให้ กับเจ้าพนักงานตรวจแรงงานจากสํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดลพบุรีดูเพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนข้อร้องเรียนว่าต้ องทํางานติดต่อกันเป็นเวลานาน ศาลจังหวัดลพบุรีจะเริ่มไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 19 ก.พ. 2561 เพื่อพิจารณาว่าจะรับฟ้องคดีหรือไม่    

ฟอร์ตี้ฟายไรต์ อธิบายว่า สิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกได้ รับการคุ้มมครองตามข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International  Covenant  on  Civil  and  Political  Rights-ICCPR)  ซึ่งไทยเป็นรัฐภาคี ตามกฎหมายระหว่างประเทศ การจํากัดเสรีภาพในการแสดงออกอาจกระทําได้เมื่อมีการกํ าหนดเป็นการเฉพาะในกฎหมาย เมื่อได้สัดส่วน และเมื่อจําเป็นเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ที่ชอบธรรม โทษอาญาสําหรับการหมิ่นประมาทซึ่งรวมถึงโทษจําคุกถื อเป็นการลงโทษที่ไม่ได้ สัดส่วน ซึ่งละเมิดสิทธิที่จะมี เสรีภาพในการแสดงออก 

ในวันที่ 31 พ.ค.2560 ทางการไทยและภาคธุรกิจแสดงพันธกิจที่จะดําเนินการตามหลักการชี้นําแห่ง สหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน หรือ หลักการชี้นำ  (U.N.  Guiding  Principles  on  Business  and  Human  Rights)  โดยในบรรดาพันธกรณีข้อต่างๆ หลักการชี้นํากําหนดให้รัฐควร“คุ้มครองไม่ให้เกิดการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชน ในเขตแดนและ/หรือเขตอํานาจศาลของบุคคลที่สาม รวมทั้งในหน่วยงานธุรกิจ” และประกันว่า “จะไม่มีการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ที่ชอบธรรมด้วยความสงบของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน”   

คณะทํางานแห่งสหประชาชาติว่าด้วยประเด็นสิทธิมนุษยชนและบรรษัทข้ามชาติและหน่วยงานธุรกิจอื่นๆ (คณะทํางานฯ) ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญอิสระจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างเดือน มี.ค. และ เม.ย. 2561  เพื่อประเมิ นการดําเนินงานของประเทศไทยตามหลักการชี้นํา คณะทํางานฯจะนําเสนอข้อสรุปของ คณะทํางานฯ ในที่ประชุมของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนหลังจากเสร็จภารกิจการเยือน 

บริษัท ธรรมเกษตร จํากัด ควรถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาต่อคนงานข้ามชาติ 14 คน  และอานดี้ ฮอลล์ และข้อหาลักทรัพย์ต่อยินยิน โซยาง และสุธาสินี แก้ วเหล็กไหล โดยทันที  ฟอร์ตี้ฟายไรต์ กล่าว  พร้อมเสนอในรัฐบาลไทยยังควรลดการเอาผิดทางอาญากับการหมิ่นประมาทโดยทันที เพื่อแก้ไขให้กฎหมายไทยสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานระหว่างประเทศ   

“ในฐานะผู้หญิงและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน ดิฉันคิดว่าถ้ารัฐบาลไทยยังคงปล่อยให้ ภาคธุรกิจฟ้องคดีอาญากับคนงาน จะทําให้แรงงานจะไม่กล้าพูดถึงความจริงในการถูกละเมิดสิทธิแรงงาน” สุธาสินี แก้วเหล็กไหล ผู้ประสานงาน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ  (MWRN)  กล่าว พร้อมย้ำด้วยว่า “ถ้าแรงงานไม่สามารถพูดความจริงได้   จะไม่สามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้”   

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net