Skip to main content
sharethis

สืบเนื่องจากกรณีการดำเนินคดีกับ 8 ผู้จัดกิจรรมเดินมิตรภาพ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองออกแถลงการณ์ ให้รัฐยุติการดำเนินคดีในทันที ย้ำหลักการตามรัฐธรรมนูญยิ่งใหญ่กว่าคำสั่ง คสช. แนะประยุทธ์ควรทบทวนตัวเองว่าเข้ามาคืนความสุขจริงหรือไม่

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2561 ที่สภ.อ.คลองหลวง เครือข่าย People Go Network  ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ทหารดำเนินการแจ้งความ ฐานขัดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2558 ได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง '8 เดินมิตรภาพ' เข้ารับทราบพร้อมปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา หลังถูกฟ้องฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.)

โดยก่อนหน้าที่ทั้ง 8 คนจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหานั้น เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) ร่วมกับเครือข่ายภาคประสังคม ราว 20 คน ได้ทำกิจกรรมเดินส่งกำลังใจให้กับผู้ถูกแจ้งความดำเนินคดีทั้ง 8 คน โดยเป็นการเดินเท้าจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มายังสภ.อ.คลวงหลวง รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร

เมื่อเดินทางถึง สภ.อ. คลองหลวง เดชรัต สุขกำเนิด หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง เรื่อง ยุติการดำเนินคดีกับนักวิชาการและประชาชนในกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ โดยขอให้รัฐบาลหยุดคุกคามการใช้สิทธิเสรภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนที่กำลังจัดกิจกรรม เดินมิตรภาพอยู่ในเวลานี้ และขอให้ถอนการแจ้งความดำเนินคดีกับเครือข่าย People Go Network ทั้ง 8 คน ในทันที ขอให้เคารพหลักการในรัฐธรรมนูญ โดยยุติการใช้อำนาจตามประกาศ หรือคำสั่งของ คสช. เพราะไม่ควรมีอำนาจใดเหนือกว่าอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งขอให้หัวหน้า คสช. ทบทวนบทบาทของตนเองว่าที่ผ่านมาได้ปฎิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือไม่

00000

แถลงการณ์เครือข่ายนักวิขาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.)

เรื่อง ยุติการดำเนินคดีกับนักวิชาการและประชาชนในกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ

การที่เจ้าหน้าที่ทหารแจ้งความตัวแทนเครือข่าย People Go Network จำนวน 8 คน ได้แก่ นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ นายอนุสรณ์ อุณโณ นายนิมิตร์ เทียนอุดม นายสมชาย กระจ่างแสง นางสาวแสงศิริ ตรีมรรคา นางนุชนารถ แท่นทอง นายอุบล อยู่หว้า และนายจำนงค์ หนูพันธ์ ในข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ชุมนุม มัวสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ มีลักษณะบิดเบือน ใช้คำสั่งของคณะรัฐประหารพร่ำเพรื่อ แสดงถึงการลุแกอำนาจ ปิดกั้นไม่ฟังเสียงความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน

คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ามาบริหารประเทศเป็นระยะเวลา 3 ปี 8 เดือน ได้เพิ่มปัญหาความทุกข์ยากให้กับพี่น้องประชาชน ปิดกั้นไม่ยอมรับฟังความคิดเห็น และมีนโยบายที่ซ้ำเติมความทุกข์ยากให้ทวีเข้มข้นรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อประชาชนและนักวิชาการร่วมจัดกิจกรรมเดินเพื่อบอกกล่าวถึงปัญหาต่างๆ เพื่อให้กำลังใจพี่น้องในชาติที่กำลังเผชิญชะตากรรม โดยสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ อีกทั้งยังไม่ได้กีดขวางการจราจร หรือสร้างความเดือดร้อนวุ่นวายให้แก่ผู้ใด ทว่า คสช. และรัฐบาลไม่เพียงแต่ใช้กำลังตำรวจเข้าขัดขวาง หากแต่ยังคุกคาม สกัดกั้น และแจ้งความเอาผิดกับประชาชน พฤติกรรมดังกล่าวสะเทือนให้เห็นว่า คสช. มิได้เข้ามาทำหน้าที่สร้างความปรองดอง หรือคืนความสุขให้กับคนในชาติอย่างที่กล่าวอ้าง เพราะที่ผ่านมานอกจากยังไม่สามารถปฎิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง หัวหน้า คสช. ยังใช้คำดูหมิ่น ดูแคลน ดูถูกศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน คนยากจน เกษตรกร ชาวนา มีการใช้กำลังทหาร ตำรวจคุกคามเสรีภาพในการแสดงความเห็น รวมถึงริดรอนแย่งยื้อสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรของคนส่วนใหญ่ไปให้ภาคธุรกิจ

และในกรณีการจัดกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ ก็มีการใช้กำลังเข้าสกัดกั้น คุกคามสิทธิในการเดินของประชาชนอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่เกิดมาโดยชอบจากการเกิดมาเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ยังได้แสดงพฤติกรรมที่ต้องการจะสืบทอดอำนาจทางการเมือง เลื่อนการเลือกตั้ง 4 ครั้ง ไม่รักษาสัจจะวาจา การบริหารประเทศขาดความสง่างาม ไม่ได้รับความเคารพเชื่อถือจากสายตาของนานาชาติ

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมืองขอย้ำเตือน คสช. และรัฐบาล ตลอดจนองค์กรที่เกิด และอำนาจมาจากการรัฐประหาร ให้ใคร่ควรถึงภารกิจของตน และพฤติกรรมการบริหารประเทศที่ผ่านมาว่าได้สร้างความสุข ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนตามที่กล่าวอ้างหรือไม่ รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงที่ คสช. และรัฐบาลร่วมกันผลักดัน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2560 สามารถสร้างความโปร่งใส มีผลในการปฎิบัติต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้จริงตามที่กล่าวอ้างไว้เพียงใด นอกจากนี้เมื่อใดก็ตามที่ผู้นำรัฐบาลทหารต้องการแสดงท่าทีการสืบทอดอำนาจ การเสียสัจจะวาจา และการมองเห็นประชาชนเป็นศัตรู เมื่อนั้น สถานการณ์มักจะจบลงด้วยความรุนแรง และในกรณีนั้นนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมาก็มักต้องพ้นจากตำแหน่งไป ซึ่งไม่เพียงแต่จะเสื่อมเสียต่อเกียรติยศชื่อเสียงของตนและวงตระกูล หากแต่ยังเสื่อมเสียศักดิ์ศรีความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกองทัพไปอีกยาวนานอีกด้วย

คนส. และผู้ที่มีรายชื่อแนบท้าย มีความห่วงใยในสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจจะลุกลามไปสู่การลุกขึ้นมาทวงสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย เนื่องจากสถานการณ์ในครั้งนี้มีแนวโน้มใกล้เคียงกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต เราจึงขอเสนอแนะต่อ คสช. และรัฐบาลดังต่อไปนี้

1.หยุดคุกคาม ขัดขวางกิจกรรม We Walk เดินมิตรภาพ ของประชาชน และขอให้เคารพในคำสั่งกำหนดมาตราการคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง และถอนการแจ้งความดำเนินคดีกับผู้แทนเครือข่าย People Go Network ทั้ง 8 คน ในทันที       

2.ขอให้เคารพในหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว โดยหยุดการใช้อำนาจโดยมิชอบที่มักจะอ้างคำสั่ง ประกาศ คสช. และมาตรา 44 เพราะไม่ควรมีอำนาจใดใหญ่ยิ่งกว่าอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

3.รัฐบาลควรส่งตัวแทนมารับฟังความคิดเห็นปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน ที่ต้องการจะบอกเล่าร้องทุกข์ต่อรัฐบาล เพราะปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดคืนจากนโยบาย เกิดขึ้นจากมาตรา และการดำเนินการของรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐทั้งสิ้น

4.หัวหน้า คสช. ควรทบทวนบทบาทของตนเองว่าที่ผ่านมาได้ปฎิบัติหน้าที่ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือไม่ ควรหยุดสร้างความสับสน ความเปลี่ยนแปลงทิศทางของประเทศจนหาจุดยืนไม่ได้ ควรหยุดใช้คำพูดในการดูหมิ่นประชาชน หรือสร้างความแตกแยกซึ่งจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือของประเทศ โดยเฉพาะโฆษกรัฐบาลต้องหยุดใช้คำพูดยั่วยุ ผลักไสให้ประชาชนกลายเป็นผู้กระทำผิด และชวนให้เข้าใจว่าเป็นผู้สร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง

คนส. ขอยืนยันในสิทธิเสรีภาพของในการเดิน การแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมนการตัดสินใจในความเป็นไปของบ้านเมืองซึ่งสิทธิอันชอบธรรมของคนไทยทุกคน และขอเน้นย้ำ คสช. อีกครั้งว่า การคืนความสุข และการสร้างความมั่งคั่ง ยั่งยืน จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยวิถีประชาธิปไตย และการเปิดกว้างให้ประชาชนทุกส่วนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ กำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองเท่านั้น

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง

31 ม.ค. 2561

รายชื่อผู้ลงนามแนบท้ายแถลงการณ์

1. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
3. กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช นักศึกษาปริญญาเอก Kyoto University ประเทศญี่ปุ่น
5. กฤษณ์พชร โสมมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6. กษมาพร แสงสุระธรรม นักวิชาการอิสระ
7. กรุงไท นพรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
8. กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ นักวิชาการอิสระ
9. กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
11. กิตติ วิสารกาญจน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
12. กิตติกาญจน์ หาญกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
13. กิตติมา จารีประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14. กิติมา ขุนทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
15. กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
16. กุลระวี สุขีโมกข์ นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
17. กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
18. กุสุมา จงวิศาล นักกิจกรรมอิสระ
19. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20. เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. เกียรติศักดิ์ บังเพลิง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
22. เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร นักวิชาการอิสระ
23. เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
24. ขจรศักดิ์ สิทธิ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
25. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Manchester สหราชอาณาจักร
26. คณิน เชื้อดวงผุย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
27. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
28. คมลักษณ์ ไชยยะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราภัฏพระนครศรีอยุธยา
29. คอลิด มิดำ คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
30. คารินา โชติรวี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
31. คำแหง วิสุทธางกูร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
32. เคท ครั้งพิบูลย์ นักวิชาการอิสระ
33. ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร นักวิชาการอิสระ
34. งามศุกร์ รัตนเสถียร สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
35. จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
36. จันจิรา สมบัติพูนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
37. จันทรา ธนะวัฒนาวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
38. จิราภรณ์ สมิธ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
39. เฉลิมพล โตสารเดช วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
40. ชนัญญ์ เมฆหมอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
41. ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
42. ชยันต์ วรรธนะภูติ Regional Center for Social Science and Sustainable Development มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
43. ชยุตม์ ชำนาญเศรษฐ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen สหราชอาณาจักร
44. ชลัท ศานติวรางคณา สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
45. ชลิตา บัณฑุวงศ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
46. ชัชวาล ปุญปัน ข้าราชการบำนาญ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
47. ชัยพงษ์ สำเนียง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
48. ชัยพร สิงห์ดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี
49. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
50. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
51. ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
52. ชาติชาย มุกสง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
53. ชานันท์ ยอดหงษ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
54. ชุมาพร แต่งเกลี้ยว นักกิจกรรมด้านความหลากหลายทางเพศและพื้นที่ทางการเมือง
55. ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
56. เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
57. ไชยันต์ รัชชกูล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา
58. ซัมซู สาอุ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
59. ญาดา ช่วยชำแนก นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
60. ฐิรวุฒิ เสนาคำ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
61. ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
62. ณปรัชญ์ บุญวาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
63. ณภัค เสรีรักษ์ นักวิชาการอิสระ
64. ณรงค์ อาจสมิติ มหาวิทยาลัยมหิดล
65. ณรุจน์ วศินปิยมงคล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
66. ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
67. ณัฐทิยา วัฒนศิริศาสตร์ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
68. ณีรนุช แมลงภู่ University of Wisconsin-Madison สหรัฐอเมริกา
69. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
70. ดวงมน จิตร์จำนงค์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
71. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
72. เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
73. โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
74. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
75. ทนุวงศ์ จักษุพา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
76. ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
77. ทับทิม ทับทิม นักวิชาการอิสระ
78. เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
79. ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
80. ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล นักศึกษาปริญญาเอก Waseda University ประเทศญี่ปุ่น
81. ธนศักดิ์ สายจำปา สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
82. ธนัย เกตวงกต สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
83. ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
84. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
85. ธิกานต์ ศรีนารา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
86. ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
87. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
88. ธีระพล อันมัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
89. นงเยาว์ เนาวรัตน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
90. นพพร ขุนค้า มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
91. นพพล อัคฮาด คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
92. นภาพร อติวานิชยพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
93. นราสิทธิ์ วงษ์ประเสริฐ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
94. นรุตม์ เจริญศรี คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
95. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
96. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
97. นลินี ตันธุวนิตย์ ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
98. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
99. นาตยา อยู่คง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
100. นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
101. นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ 
102. นิศารัตน์ จงวิศาล นักกิจกรรมอิสระ
103. นิสารัตน์ ขันธโภค นิสิตปริญญาโท คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
104. นิอับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
105. เนรมิตร จิตรรักษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
106. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
107. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
108. บาหยัน อิ่มสำราญ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
109. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
110. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
111. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
112. บูฆอรี ยีหมะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
113. เบญจมาศ บุญฤทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก University of Aberdeen สหราชอาณาจักร
114. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
115. ปฐม ตาคะนานันท์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
116. ปฐวี โชติอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
117. ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
118. ปรัชญเกียรติ ว่าโร๊ะ นักวิชาการอิสระ
119. ปราโมทย์ ระวิน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
120. ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
121. ปวลักขิ์ สุรัสวดี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
122. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ มหาวิทยาลัยพะเยา
123. ปาวดี สีหาราช นักวิชาการอิสระ
124. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
125. ปิยะ เกิดลาภ National University of Singapore ประเทศสิงคโปร์
126. ปิยชาติ สึงตี สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
127. ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
128. เปรมสิรี ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
129. พงศธร นัทธีประทุม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
130. พงษ์ศักดิ์ รัตนวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
131. พนิดา อนันตนาคม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
132. พรใจ ลี่ทองอิน นักวิชาการอิสระ
133. พรชัย นาคสีทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
134. พรไทย ศิริสาธิตกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
135. พรพันธ์ เขมคุณาศัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
136. พรรณราย โอสถาภิรัตน์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
137. พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
138. พลอยใจ ปิ่นตบแต่ง นักศึกษาปริญญาเอก University of Sussex สหราชอาณาจักร
139. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
140. พศุตม์ ลาศุขะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
141. พักตร์วิไล สหุนาฬุ นักกิจกรรมเยาวชนศรีขรภูมิ
142. พัชราภา ตันตราจิน คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
143. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
144. พันธุ์พิพิธ พิพิธพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
145. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
146. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
147. พิพัฒน์ สุยะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
148. เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
149. เพ็ญสุภา สุขคตะ นักวิชาการอิสระ
150. แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
151. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
152. ฟิตรา เจ๊ะโวะ London School of Economics and Political Science สหราชอาณาจักร
153. ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
154. มนตรา พงษ์นิล มหาวิทยาลัยพะเยา
155. มานะ ขุนวีช่วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
156. มูหำหมัด สาแลบิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
157. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
158. เมธาวี โหละสุต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
159. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
160. ยุภาพร ต๊ะรังษี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
161. เยาวนิจ กิตติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
162. รชฎ สาตราวุธ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
163. รชฏ นุเสน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
164. รพีพรรณ เจริญวงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
165. รัตนา โตสกุล ข้าราชการบำนาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
166. ราม ประสานศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
167. รุ่งทิพย์ จันทร์ธนะกุล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
168. รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระ
169. รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
170. ลลิตา หาญวงษ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
171. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
172. วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
173. วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
174. วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน สาขาวิชาศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาริราช
175. วริตตา ศรีรัตนา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
176. วสันต์ เหลืองประภัสร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
177. วาสนา ละอองปลิว วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
178. วิชัย แสงดาวฉาย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
179. วิทยา อาภรณ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
180. วินัย ผลเจริญ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
181. วิภาวี พงษ์ปิ่น คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
182. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ
183. วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
184. วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
185. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
186. วีรวัฒน์ ภัทรศักดิ์กำจร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
187. เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
188. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
189. ศรัญญู เทพสงเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
190. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการอิสระ
191. ศักรินทร์ ณ น่าน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
192. ศิโรนี โต๊ะสัน นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
193. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
194. ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
195. ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
196. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
197. สมเกียรติ สาธิตพิฐกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
198. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
199. สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ
200. สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
201. สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์ นักวิชาการอิสระ
202. สรวิชญ์ ฤทธิจรูญโรจน์ นักวิชาการอิสระ
203. สรัช สินธุประมา นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
204. สถิตย์ ลีลาถาวรชัย นักศึกษาปริญญาเอก University of Florida 
205. สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
206. สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ
207. สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
208. สามชาย ศรีสันต์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
209. สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
210. สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
211. สิงห์ สุวรรณกิจ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
212. สิทธิพล เครือรัฐติกาล วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
213. สิปปีย์ ชยานุสาสนี จันทร์ดอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
214. สิริกร ทองมาตร นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
215. สิรีธร ถาวรวงศา นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
216. สุกัญญา สมไพบูลย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
217. สุชาดา จักรพิสุทธิ์ สื่ออิสระ
218. สุชาติ เศรษฐมาลินี มหาวิทยาลัยพายัพ
219. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
220. สุทธิพร บุญมาก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
221. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี สื่ออิสระ
222. สุภาพร คชารัตน์ มหาวิทยาลัยมหิดล
223. สุรัช คมพจน์ สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
224. สุรินทร์ อ้นพรม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
225. สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
226. เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
227. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
228. หทยา อนันต์สุชาติกุล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
229. อดิศร เกิดมงคล นักวิชาการอิสระ
230. อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
231. อนุพงษ์ จันทะแจ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
232. อนุสรณ์ ชัยอักษรเวช สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
233. อนุสรณ์ ติปยานนท์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
234. อนุสรณ์ ธรรมใจ มูลนิธิปรีดี พนมยงค์ 
235. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
236. อภิษฐา ดวงมณี นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
237. อมต จันทรังษี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
238. อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
239. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
240. อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
241. อรศรี งามวิทยาพงศ์ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
242. อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
243. อรดี อินทร์คง นักศึกษาปริญญาเอก Cornell University, USA
244. อรุณี สัณฐิติวณิชย์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
245. อลงกรณ์ อรรคแสง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
246. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
247. อังกูร หงษ์คณานุเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
248. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
249. อับดุลอาซิส อับดุลวาฮับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
250. อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
251. อาจินต์ ทองอยู่คง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
252. อาทิตย์ ศรีจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
253. อาทิตย์ ทองอิน
254. อาภา หวังเกียรติ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
255. อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
256. อิสระ ชูศรี สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
257. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
258. เอกชัย ไชยนุวัติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
259. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
260. เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
261. เอกฤทัย ฉัตรชัยเดช คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
262. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
263. เอนก รักเงิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา
264. โอฬาร ถิ่นบางเตียว คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
265. Rosenun Chesof University of Malaya ประเทศมาเลเซีย

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net