ผอ.สคร.แจง 6 ประเด็นร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ

ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ชี้ 6 ประเด็นสำคัญของ ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ ย้ำไม่มีเขียนสักคำว่าเพื่อให้มุ่งหวังกำไรสูงสุด ระบุมี ยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ เป็นครั้งแรก

 เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) 

เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ ห้อง Le lotus 1 โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด (รัชดาฯ) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จัดเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “อนาคตรัฐวิสาหกิจไทย กับ ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ” โดยในช่วงแรกเปิดด้วยการบรรยายหัวข้อ แนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจ และ ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ (ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ) โดย ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่ออภิปรายถึง ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รับหลักการร่างกฎหมายนี้เมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา และจะพิจารณาออกกฎหมายอีกไม่นานนี้

วิดีโอฉบับเต็ม บรรยายหัวข้อ แนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจ และ ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ (ร่างกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ) โดย ดร. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)

ผอ.สคร. ชี้ให้เห็น 6 ประเด็นสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ว่าประกอบด้วย 1. เรื่องการจัดตั้งกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 2. ให้มียุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่เคยมีที่รัฐวิสาหกิจจะมียุทธศาสตร์ในภาพรวม เป็นครั้งแรก 3. มีกลไกความโปร่งใส และความรับผิดชอบ  4. มีกระบวนการคัดเลือกกรรมการ 5. พัฒนาระบบประเมินผล ซึ่งทุกวันนี้มีการประเมินผล เป็นระเบียบสำนักนายก แต่การประเมินไม่มีการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์

และ 6. จัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ เอกนิติ กล่าวเสริมประเด็นนี้ว่า อาจเป็นเรื่องอ่อนไหว รัฐวิสาหกิจ มีหลายประเภท มีทั้งที่มี พ.ร.บ.เฉพาะกับรัฐวิสาหดกิจที่เป็นบริษัท อย่างไรเขาก็ต้องแข่งขันอยู่แล้ว เช่น การบินไทย ก็ต้องแข่งขัน เพราะฉะนั้นรูปแบบในการบริหารจัดการควรไปอยู่กับรัฐวิสาหกิจประเภทหนึ่ง และในเชิงกฎหมยแต่ละอันก็มีคลุมแต่ละรัฐวิสาหกิจ ดังนั้นในรูปแบบบรรษัทวิสาหกิจ ในเรื่องการบริหารจัดการ ไปในทิศทางเดียวกัน ใช้ความชำนวญของบบษัทที่มีความคล่องตัว เพื่อที่จะแข่งขันได้ 
 
"ในกฎหมายนี้ไม่มีเขียนสักคำว่าเพื่อให้มุ่งหวังกำไรสูงสุด ไม่มีเลย เพียงแต่บอกว่าให้เพิ่มประสิทธิภาพ และการประเมินผลให้ประเมินผลบรรษัทตามยุทธศาสตร์" ผอ.สคร. กล่าวย้ำ
 
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ในกิจกรรมเสวนาดังกล่าว มีตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) นอกจากแจกแถลงการณ์ 10 เหตุผล เพื่อขอรัฐบาลถอน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวออกจาก สนช. แล้ว ยังมีการร่วมอภิปรายในเวทีด้วย 
 
โดยให้เหตุผลประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ขัดต่อเจตนารมณ์ และหลักการของร่างกฎหมายโดยสิ้นเชิง โครงสร้างของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ล้วนมาจากนักการเมือง ข้าราชการประจำและอดีต รวมถึงนายทุนนักธุรกิจ
 
สรส. ระบุด้วยว่า การตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่ในการถือหุ้นแทนกระทรวงการคลังเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงานเต็มศักยภาพมีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์  เป้าประสงค์ของรัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนจากบริการประชาชนไปเป็นเพื่อการพาณิชย์ การค้าขาย การลงทุน โครงสร้างและอำนาจคณะกรรมการชุดต่าง  ๆ แล้ว ก็ปราศจากการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนอื่นของสังคมหรือแม้กระทั่งบุคคลในองค์กรนั้น ๆ  ขัดกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มาตรา 23 (4) ที่บัญญัติว่าทุกคนมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานและมีสิทธิเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน และตามหลักการพื้นฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ 
 
รวมทั้งประเด็นที่อ้างว่า กระทรวงการคลัง ยังคงถือหุ้นในบรรษัทอยู่ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หลายมาตราที่กล่าวมา ที่จะกำหนดสัดส่วนการถือหุ้น จำหน่ายหุ้น กำหนดให้บรรษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นจนพ้นสภาพจากการเป็นรัฐวิสาหกิจได้  เป็นต้น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท