ข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปตำรวจ [ปฏิรูปตำรวจ – เสียงคนนอกและคนในองค์กร]

เสวนาหัวข้อ ข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปตำรวจ อภิปรายโดย (1) เรืองรวี พิชัยกุล ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (2) พ.ต.ท.พร แก้วช้าง รองนายกสมาคมพนักงานสอบสวน (3) เอกชัย ไชยนุวัติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (4) ร.ต.อ. ดร. สุธรรม เชื้อประกอบกิจ ดำเนินรายการโดย ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเสวนา เรื่อง ปฏิรูปตำรวจ – เสียงคนนอกและคนในองค์กร พุธที่ 18 ตุลาคม 2560 ห้องกมลทิพย์ 1 โรงแรม เดอะ สุโกศล ถ. ศรีอยุธยา  จัดโดย (1) หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2) กองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สนับสนุนโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)

ที่มาของภาพปก: ตำรวจเมืองท่าบ่อ ฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุปล้นธนาคาร 21 มี.ค. 2556/ข่าวออนไลน์หนองคาย

ร.ต.อ.ดร.สุธรรม กล่าวตอนหนึ่งว่า ตำรวจสายตรวจ และสายสืบ นั้นเป็น 2 กลุ่มที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ดังนั้นเงินทุนวิจัยต่างๆ ควรทุ่มไปที่ส่วนนี้ 2 อย่างน้อยควรทำให้ ตำรวจเหล่านี้เป็นมืออาชีพ ที่หมายถึงการทำงานเต็มศักยภาพและทำโดยไม่หยุดเรียนรู้ รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้มาแจ้งความ ประชาชน ได้ อีกทั้งทำงานอย่างยุติธรรมและเคารพกฎกติกา ในส่วนของการปฏิรูปเรื่องการบริหารบุคคลนั้น ต้องยึดหลักการแต่งตั้งต้องใช้ระบบคุณธรรม 

เรื่องรวี กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของตำรวจคือโครงสร้างของสำนักงานตำรวจแ่งชาติ (สตช.) มีการบังคับบัญชาแบบชั้นยศ เหมือนทหาร ขณะที่ทหารจำเป็นต้องรวมศูนย์ในการสังการ แต่สำหรับตำรวจนั้นมีภาระกิจงานเยอะมาก ภาระกิจเหล่านี้ไปรวมศูนย์ที่องค์กรเดียวไม่ได้ ดังนั้นควรมีความเป็นพลเรือนมากกว่าเป็นชั้นยศแบบทหารนี้ 
 
เรืองรวี เสนอว่า งานสืบสวนสอบสวน จะต้องเป็นอิสระ ไม่ว่าจะออกแบบให้เป็นแท่งใน สตช. หรืออกมาเป็นอิสระ แต่ไม่เห็นด้วยกับการไปอยู่กับอัยการ ในหน่วยงานแท่งนี้ต้องมีหน่วยงานคดีทางเพศ ซึ่งต้องมีผู้เชียวชาญ ขอให้มีผู้หญิงมากขึ้นในหน่วยงานนี้ 
 
สำหรับการเคารพในเรื่องเคารพสิทธิมนุษยชนและความหลากหลายนั้น เรืองรวี เสนอต้องอยู่ในคุณค่าหักของ สตช. เช่น โรงเรียนนายร้อย ควรเป็นคนที่จบ ปริญญาตรีแล้วเข้าไปฝึกได้ไหม สุดท้ายคือเมื่อมีความเป็นอิสระ ต้องตรวจสอบได้ด้วย ปัจจุบันตรวจสอบยากมาก กลไกการตรวจสอบถ่วงดุล ต้องมีองค์ประกอบที่มีสายตาที่ชั่งน้ำหนักได้ด้วย ทำอย่างไรเราจะปัดฝุ่นที่จะสร้างฐานประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในฐานผู้ส่งสาร ให้ความรู้เรื่องสิทธิ เป็น คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต. ตร.) รวมทั้งขอสัดส่วนผู้หญิงมากขึ้นในตำรวจด้วย
 
พ.ต.ท.พร กล่าวถึงเหตุผลหนึ่งที่มีการปฏิรูปตำรวจว่า ทำไมต้องปฏิรูปตำรวจ เพราะตำรวจไม่ยอมเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตำรวจเป็นก้างชิ้นใหญ่ที่ต่อต้านกลุ่มการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
เมื่อปฏิวัติแล้ว ก็ไปกระซิบข้างหูผู้มีอำนาจ ก็คิดว่าตำรวจถ้าไม่มีอำนาจสอบสวนก็เป็นแค่ยาม ยืนยันว่าการถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับอัยการนั้นมีอยู่ในกฎหมายอยู่แล้ว  เพียงแต่ต้องไปออกแบบให้มันรัดกุมมากขึ้น 
 
ส่วนข้อเสนอให้อัยการเข้ามากำกับนั้น รองนายกสมาคมพนักงานสอบสวน กล่าวว่า การตรวจที่เกิดเหตุ อัยการต้องพร้อม ต้องมาเข้าเวรกับตำรวจด้วย เพื่อไปให้ทันท่วงที
 
พ.ต.ท.พร กล่าวด้วยว่า ที่พูดมา ไม่ได้หมายถึงงานสอบสวนมันดีอยู่แล้วไหม แต่ความจริงก็มีปัญหา เช่น ความเป็นอิสระมันไม่มี มันขึ้นกับฝ่ายบริหาร จึงขึ้นกับฝ่ายการเมือง ดังนั้นต้องยกให้เป็นกองบัญชาการเป็นสายงานสอบสวนทั้งหมด อำนาจจะเป็นอิสระ เอาสำนักงานยกเป็นกองบัญชาการ 
 
ส่วนคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ที่ 7/2559 เรื่องการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน รองนายกสมาคมพนักงานสอบสวน มองว่า เป็นการทำลายสายงานและระบบคุณธรรมใน พนักงานสอบสวน
 
เอกชัย กล่าวว่า ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชน ประชาชน(เป็นที่พึ่งของตำรวจ มนุษย์มีความรู้สึก รัก ชอบ เกลียด หลง ทุกคน จึงไม่แปลกที่จะมีคนที่ รักและเกลียดตำรวจ แต่ในฐานะคนนอก ตนมีความรู้สึกและสำนึกว่า ตำรวจเป็นที่พึ่งของประชาชน และ ประชาชน หรือ ราษฎร ก็ย่อมเป็นที่พึ่งของตำรวจเช่นเดียวกัน เพราะระบอบประชาธิปไตยสากล ไม่ว่า จะเป็น ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ราชทัณฑ์ โจท์ก จำเลย ผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา ทุกคนต่างก็มีคุณค่าความเป็นคนที่เท่ากันทั้งสิ้น ด้วยหลัก “คนเท่ากัน” หรือ 1 คน 1 เสียง ในฐานะคนนอกวงตำรวจ จึงขอเสนอว่า ประชาชนหรือราษฎรก็เป็นที่พึ่งของตำรวจเช่นเดียวกัน

เอกชัย กล่าต่อว่า มุมมองของผู้ศึกษา นิติศาสตร์ อาชีพ ตำรวจ คือ ต้นทางของกระบวนการยุติธรรม สังคม ประชาธิปไตย ต้องยึดหลัก นิติรัฐ ซึ่งไม่ใช่นิติธรรม เช่นเดียวกัน และมีความสำคัญเท่ากัน นิติรัฐ หรือ Legal State คือการปกครองโดยกฎหมาย ที่มาจากความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครองผ่านตัวแทน ฝ่าย นิติบัญญัติที่มาจาก การเลือกและตั้งของประชาชน และ กฎหมายนั้นต้องมีจุดมุ่งหมายไปสู่ความยุติธรรม กล่าวคือ ไม่ใช่ รัฐเผด็จการที่ใช้กฎหมาย กดขี่ ราษฎร แต่ เป็น กฎหมาย ที่เป็นเกาะภูมิคุ้มกัน ของราษฎรต่อการใช้อำนาจรัฐ เพราะ เจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งตำรวจ ที่ใช้อำนาจรัฐต่างก็เป็น มนุษย์ ที่มีอคติเป็นเรื่องสามัญ จึงต้องมี กฎหมายมาเพื่อปกป้อง 1. การทำงานของ เจ้าหน้าที่รัฐ และ 2. ปกป้อง สิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน

เอกชัย กล่าวว่า ตำรวจต้อง มีความเป็นอิสระในการทำงาน สืบสวนสอบสวน สั่งฟ้อง บังคับใช้กฎหมาย ไม่ตกอยู่ภายใต้ความครอบงำขององค์กร หรือ บุคคลหนึ่งใด หลักอิสระของ องค์การ ยุติธรรมอื่นๆ เช่น อัยการ และ ศาล ก็ต้องนำมาปรับใช้กับตำรวจด้วย ไม่ต้องใช้หลัก “นายขอ” หรือ “นายสั่ง” แต่ สิ่งที่ตำรวจต้องยึดถือ คือ ต้องตอบสนองต่อประชาชน/ราษฎร ได้ ต้องไม่อิสระจาก เจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง ที่เรียกว่า ราษฎรทั้งหลาย กล่าวคือ ต้องมีคำอธิบายภายใต้เหตุผลทางกฎหมาย ว่า การกระทำที่เหมือนกัน ในเวลาที่เหมือนกัน และต่างกัน ทำไมจึงใช้อำนาจรัฐที่ตำรวจได้รับมา ต่างกัน ประชาชนจะเป็นที่พึ่งของตำรวจได้ เมื่อประชาชน เชื่อมั่น เชื่อใจในตำรวจ ไม่มีสังคมไหนที่จะมี อัตรา ตำรวจต่อ ราษฎร 1 ต่อ 1 ดังนั้น ตำรวจต้องพึ่งประชาชน เมื่อ ราษฎร เห็นสิ่งใด จึงไปปรึกษาตำรวจ ไปให้ข้อมูลตำรวจ เพื่อให้ตำรวจทำงานได้ และทำงานได้ดี คือ ชอบด้วยกฎหมาย

"ผมรักตำรวจเพราะตำรวจก็คือประชาชน ที่มีอาชีพ มีเงินเดือนที่มาจาก ภาษีของประชาชน ผมจึงอยากให้ตำรวจทำงานด้วยหลักประกันว่า ถ้าตนเองยึดถือการทำงานตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นหลัก ทำงานด้วยระบบที่คุ้มครอง เจ้าหน้าที่รัฐ ที่ชื่อ ตำรวจ คุ้มครองว่า ถ้ายึดหลักการ ยึดกฎหมาย ที่จำกัดอำนาจรัฐเท่าที่กฎหมายให้อำนาจ และ ปกป้อง สิทธิและเสรีภาพของ เจ้าของอำนาจรัฐ คือ ประชาชน แล้ว ท่านทั้งหลายต้องไม่ต้องหวั่นกลัวเกรงต่อ บุคคลๆใด มาบิดเบือนหน้าที่ของท่าน อัยการ ศาล และ ประชาชน ต้องปกป้องท่าน ขอให้ท่านยึดกฎหมาย ที่มุ่งหมายเพื่อ ความยุติธรรมของสังคมได้ นั่นคือ การปฏิรูปตำรวจอย่างแท้จริง" เอกชัย กล่าว พร้อมทิ้งท้ายด้วยว่า ตนฝากระลึกถึง นายตำรวจ 3 ท่าน คือ 1. พ.ต.ต. เพียรชัย ภารวัตร เสียชีวิตที่ผ่านฟ้า 2. ร.ต.ต.ศราวุฒิ ชัยปัญหา เสียชีวิตที่สี่แยกผ่านฟ้า 3. พล.ต.ต. ณรงค์ ปิติสิทธิ เสียชีวิต ที่สนามกีฬา ไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ทั้ง 3 ท่านนี้เสียชีวิตในขณะปฏิบัติหน้าที่ ทำตามกฎหมาย และอีกท่านคือ ร.ต.ท. ธีรเดช เล็กภู่ หรือ sidekick police ภาค2 สภ.แสนสุข ซึ่งยังไม่ตาย ผมไม่ลืมตำรวจ ตำรวจอย่าลืมตำรวจ 

  

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท