Skip to main content
sharethis

คนไทยพลัดถิ่นจากห้วยส้าน (แม่สอด) หวังศาลปกครองสั่งมหาดไทย คืนสัญชาติไทย ด้านตุลาการผู้แถลงคดีชี้คําสั่งไม่รับรองสัญชาติชอบแล้ว

 

คนไทยพลัดถิ่นจากห้วยส้าน (แม่สอด) 

18 ส.ค. 2560 คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนดานชนชาติ ผูไรสัญชาติ แรงงานขามชาติ และผูพลัดถิ่น สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ ระบุว่า เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เวลา 13.30 น. ที่ศาลปกครองกลางมีรายงานข่าวแจ้งว่าตุลาการผู้แถลงคดีในคดีคนไทยพลัดถิ่นจากห้วยส้าน (แม่สอด) ชี้ว่าคําสั่งมหาดไทยที่ไม่รับรองสัญชาติไทยชอบแล้ว และศาลนัดฟังคําพิพากษาวันที่ 14 ก.ย. 60 เวลา 13.30 น.

คดีนี้สืบเนื่องจากที่คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติและผู้พลัดถิ่น สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวบ้านคนไทยพลัดถิ่นจากห้วยส้าน หรือผู้ฟ้องคดี 351 คน ในการยื่นฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกับพวกรวม 4 คน ต่อศาลปกครองกลาง ในวันที่ 30 ม.คง58 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคําสั่งทางปกครองและขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นให้แก่ผู้ฟ้องคดี
 
เนื่่องจากภายหลังจากการออกพระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 อันมีเจตนารมณ์เพื่อคืนสัญชาติไทยให้กับคนไทยพลัดถิ่นแล้ว ก็ยังมีคนไทยพลัดถิ่นอีกจํานวนมากที่ไม่ได้รับการคืนสัญชาติ รวมถึงผู้ฟ้องคดี 351 คนในคดีนี้
 
ทิพย์วิมล ศิรินุพงศ์ หนึ่งในทีมทนายความเปิดเผยว่า คนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้มีบรรพบุรุษเป็นคนไทยล้านนาและอดีตตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยส้าน โดยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม แต่ต่อมาได้มีการแบ่งอาณาเขตอย่างชัดเจนระหว่างสยาม-อังกฤษ (พม่า) แล้วในปี พ.ศ. 2515 คนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้ก็ย้ายเข้ามาในไทยนอกจากนี้ปัจจุบันผู้ฟ้องคดีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย เป็นคนไทยพลัดถิ่นที่ต้องได้รับการคืนสัญชาติ แต่ก็ยังถูกปฏิเสธไม่ได้รับการรับรองการเป็นคนไทยพลัดถิ่น
 
"ประเด็นปัญหาในเรืองนี้ คือ การที่หน่วยงานรัฐตีความ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 อย่างแคบ โดยจํากัดอยู่เพียงคนไทยที่ต้องมีหลักฐานปรากฏว่ามีการเสียดินแดนตามสนธิสัญญา ทั้งๆ ที่กฎหมายกําหนดว่า "โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต" ดังนั้นเจตนารมณ์ของกฎหมายคือการคืนสัญชาติให้แก่คนไทยพลัดถิ่นทุกกลุ่มโดยไม่จํากัดอยู่เพียงว่าจะเป็นการเสียดินแดนตามสนธิสัญญา" สมนึก ตุ้มสุภาพ ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านชนชาติฯ สภาทนายความฯ กล่าว
 
สมนึกยังกล่าวอีกว่า สาเหตุอีกประการที่หน่วยงานรัฐอ้างไม่ให้สัญชาติแก่คนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้ คือ การผลักให้ชาวบ้านไปใช้ช่องทางตามกฎหมายอื่น เช่น การแปลงสัญชาติและการเรียกร้องให้ออกกฎหมายฉบับใหม่เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกลุ่ม-เฉพาะกรณี ซึ่งไม่ใช่ทางแก้ปัญหาการไร้สัญชาติของประเทศที่ยั่งยืนเพราะการได้สัญชาติคืนตาม พ.ร.บ.สัญชาติฉบับนี้จะแก้ปัญหาเป็นการทั่วไปและมีประสิทธิภาพมากกว่า ส่วนการแปลงสัญชาติและการ ออกกฎหมายเฉพาะกลุ่มเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะกรณี ท้ายที่สุดก็จะมีชาวบ้านคนไทยพลัดถิ่นอีกจํานวนหนึ่งที่ตกเป็ นคนไร้สัญชาติที่ไม่สามารถได้สัญชาติโดยช่องทางใดๆ เลยหากแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐไทยยังคงเป็นเช่นนี้
 
ต่อคำถามที่ว่าในอนาคตชาวบ้านกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไรถ้ายังคงถูกปฏิเสธไม่ได้รับสัญชาติไทยนั้น สมนึก กล่าวว่า ในปัจจุบันชาวบ้านมีความยากลําบาก การไร้สัญชาติทําให้บุคคลปราศจากสิทธิในการเป็นมนุษย์ ในการเป็นพลเมือง เสี่ยงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ และการค้ามนุษย์ ประสบปัญหาในการเข้าถึงการศึกษา สุขภาพการทํางานที่ดี และไร้การคุ้มครอง อนาคตชาวบ้านกลุ่มนี้ก็จะเป็นกลุ่มที่ด้อยโอกาสมากที่สุด เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมากที่สุดกลุ่มหนึ่งและสืบทอดการไร้
สัญชาติให้แก่ลูกหลาน ทั้งที่สืบเชือสายไทยและเนื้อแท้เป็นคนไทย นั่นคือสาเหตุที่สภาทนายความไม่นิ่งนอนใจและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ชาวบ้านในคดีนี้ ซึ่งเราก็ได้รับเรืองร้องเรียนจากคน ไร้สัญชาติเข้ามาเพิ่มเติมในวันี้ด้วย
 
ขณะที่ส่วนหนึ่งของคําให้การของมหาดไทย ผู้ถูกฟ้องคดีระบุว่า สาเหตุที่ไม่รับรองสัญชาติไทยแก่ชาวบ้านกลุ่มนี้เพราะ เป็นกลุ่มที่บรรพบุรุษอพยพข้ามไปมาทำมาหากินฝั่งพม่าในอดีต อันมิได้เกิดจากการเปลียนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีตแต่อย่างใด และยืนยันว่าไม่มีหลักฐานปรากฎว่าประเทศไทยเสียดินแดน
 
เมื่อความเห็นของคู่กรณี ไม่ลงรอยกันเช่นนี้ส่วนความเห็นของตุลาการผู้แถลงคดีสนับสนุน ก.มหาดไทย ในวันที่ 14 ก.ย. 60 อันเป็นวันพิพากษาจึงเป็นวันที่ชีชะตาคนไทยพลัดถิ่นจาก ห้วยสาน และอาจจะเป็นคดีที่สร้างบรรทัดฐานให้แก่คดีคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net