Skip to main content
sharethis
Event Date

วันที่  21 พฤษภาคม 2561 ณ โรงแรม ดิ เอ็มเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก

8.30 – 9.00 น.                ลงทะเบียน

9.00 – 9.15 น.                กล่าวต้อนรับผู้ร่วมงานและแนะนำวัตถุประสงค์

โดย คุณสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

10.00 – 10.30 น.             กล่าวเปิดโดย รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รอยืนยัน)

ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

10.30 – 11.30 น.             นำเสนอผลการประเมินผลกระทบโครงการเงินอุดหนุนฯ ข้อท้าทายและข้อเสนอแนะ

โดย ดร. ไมเคิล แซมซั่น (Dr. Michael Samson, Economics Policy and Research Institute) และ ดร. สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

11.30  - 12.00 น.             เสียงจากภาคสนามตัวแทนเด็กเล็ก

12.00 – 13.00 น.             รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.00 น.             เสวนาเรื่อง “เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อการเติมเต็มระบบความคุ้มครองทางสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย

  • Mr. Nuno Cunha ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านความคุ้มครองทางสังคม องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
  • คุณสุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ
  • คุณสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต  

14.00 – 14.45 น.             แลกเปลี่ยนความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม 

14.45 – 15.00 น.             กล่าวปิด โดยอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (รอการยืนยัน)

 

จากการที่ประเทศไทยได้ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เพื่อช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในครัวเรือนยากจนหรือเกือบยากจนทั่วประเทศ จนถึงขณะนี้ มีเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุสามปีที่อาศัยอยู่ในครอบครัวยากจนที่ได้รับเงินอุดหนุนเดือนละ 600 บาทไปแล้วเกือบ 500,000 คน

จากโครงการดังกล่าว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย Economics Policy Research Institute (สถาบันวิจัยระดับโลก) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดทำการศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด และประเมินการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (ซึ่งได้แก่ครอบครัวยากจนที่มีเด็กแรกเกิดถึงสามปี) ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

ผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า โครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดส่งผลกระทบเชิงบวกให้แก่เด็กและครอบครัวหลายประการ ทั้งในด้านโภชนาการ การเข้าถึงบริการทางสังคม ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสตรี (มารดา) อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบประเด็นท้าทายต่าง ๆ ของโครงการ โดยเฉพาะการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง โดยพบว่า ยังมีครอบครัวยากจนจำนวนไม่น้อยที่ตกหล่นและเข้าไม่ถึงโครงการเงินอุดหนุนดังกล่าว

ด้วยเหตุนี้ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต  และองค์กรเครือข่าย  ร่วมกับองค์การยูนิเซฟ  ประเทศไทย จึงได้จัด งานสัมมนาเรื่อง “เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า: จุดเริ่มต้นของการคุ้มครองทางสังคมทั้งระบบ” ในวันจันทร์ที่  21 พฤษภาคม 2561 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ โรงแรมดิเอ็มเมอรัลด์ ถ. รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ  เพื่อนำเสนอผลการประเมินเบื้องต้นของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็ก โดยจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากนักวิชาการ เครือข่ายแรงงาน ภาคประชาชน และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสวัสดิการทางสังคม เพื่อสะท้อนมุมมองและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในการขับเคลื่อนการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมเด็กทุกคนต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net