เปิดรายงานการศึกษา: การพิจารณาคดีข่มขืน: ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ต่อความรุนแรงทางเพศในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

Event Date: 
Wednesday, 29 November, 2017 - 10:00

แถลงข่าวเปิดรายงานการศึกษา การพิจารณาคดีข่มขืน: ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อความรุนแรงทางเพศในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ระหว่างเวลา 10.00-11.40 น. ณ ห้องเซลล่า โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

รายงานการศึกษาดังกล่าว จัดทำขึ้นโดย องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิง แห่งสหประชาชาติ (United Nations Entity for Gender Equality and the Empower of women - UN Women), โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations  Development Programme/UNDP) และ สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime/UNODC) เพื่อวิเคราะห์ว่าขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม มีการตอบสนองอย่างไรต่อคดีข่มขืน และการใช้กำลังประทุษร้ายทางเพศต่อผู้หญิงและเด็กหญิงที่ได้รับการแจ้งความ โดยพบว่าคดีเหล่านี้สามารถ “ถูกกรองออก” จากทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมซึ่งรวมถึงขั้นตอนระหว่างดำเนินการ แจ้งความ ขั้นตอนการสืบสวนสอบสวน ขั้นตอนก่อนพิจารณาคดีและระหว่างการพิจารณาคดี 

การเปิดเผยรายงานการศึกษานี้ เป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ของเลขาธิการสหประชาชาติ “UNITE to End Violence against  Women ร่วมกันยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง” อันมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการตระหนักรู้แก่สังคม ตลอดจนเพิ่มพันธสัญญา ทางการเมือง รวมถึงผลทางการปฏิบัติที่จะขัดขวาง และตอบโต้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง ทั้งนี้หัวข้อการรณรงค์ ระดับสากลของปีนี้คือ "Leave No One Behind: End Violence against Women and Girls”  หรือ “(เรา)ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง: ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง"

ในการแถลงข่าวจะมีคณะผู้ทำงานร่วมกับสหประชาชาติ, ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐจากประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรม นักวิจัย ร่วมนำเสนอผลการศึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเวทีเสวนา

กำหนดการเปิดตัวรายงานการศึกษาระดับนานาชาติ:การพิจารณาคดีข่มขืน : ความเข้าใจเรื่องการตอบสนองของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาต่อความรุนแรงทางเพศ ในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 10.00 – 11.40 น. ณ ห้องเซลล่า โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ ประเทศไทย (มีล่ามแปลภาษาไทยแบบทันควันตลอดการอภิปราย)

 

เวลา

กำหนดการ

วิทยากร

10.00น.

ลงทะเบียน

 

10.30-10.45 น.

(10นาที)

กล่าวเปิดงาน และปาฐกถาพิเศษ

นำเสนอประเด็นสำคัญที่พบจากรายงานการศึกษา การผลักดันผลการศึกษาสู่แนวทางปฎิบัติ : ความร่วมมือกับความคิดริเริ่มที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือและโอกาสเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางกฎหมายและนโยบาย ประเด็น และข้อเสนอแนะ เพื่ออนาคต

ปาฐก:

ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

 

นำเสนอผลการศึกษา:

นางสาวแอนนา-คาริน จัตฟอร์ส รองผู้อำนวยการยูเอ็นวีเมน สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิ

10.40-11.10 น.

(30นาที)

การอภิปรายบนเวที โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการยุติธรรมจากประเทศเวียดนาม ประเทศไทยและหน่วยงานสหประชาชาติ

ประเด็นคำถามสำหรับเวทีอภิปราย

·        กระบวนการยุติธรรมดำเนินการอย่างไรเพื่อจัดการกับประเด็นที่กล่าวถึงในการศึกษานี้?

·        ข้อเสนอแนะต่างๆจากการศึกษานี้จะถูกนำไป พิจารณาได้อย่างไร?

·        จากผลการศึกษาข้อหนึ่งที่ว่า “งานปรับเปลี่ยนมโนทัศน์ทางเพศคือความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงอคติทางเพศต่อผู้หญิง” ท่านเห็นโอกาสใดบ้างสำหรับการดำเนินการเช่นนี้ในประเทศของท่าน?

·        เราจะเปลี่ยนบรรทัดฐานได้อย่างไร?

ผู้ดำเนินรายการ:นายนิคโคลัส บูธ ที่ปรึกษาโครงการ,ยูเอ็นดีพี ส่วนภูมิภาคกรุงเทพ

ผู้ร่วมอภิปราย:

·        นางสาวเหวียนถิกิม ถ่าว ผู้อำนวยการทั่วไป กรมกฎหมายอาญาและกฎหมายลักษณะปกครอง, กระทรวงยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

·        นางสาวเล ถิ วัน แอง หัวหน้าแผนกอาชญากรรม, กรมกฎหมายอาญาและกฎหมายลักษณะปกครอง, กระทรวงยุติธรรมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม

·        ดร.สุนทรียา เหมือนพะวงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจํากองผู้ช่วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา

·         นางสาว ไอรีน  สคินไนเดอร์ หัวหน้าผู้วิจัย

11.10-11.30 น.

(20 นาที)

ถาม-ตอบกับสื่อมวลชน

รายชื่อผู้ตอบคำถาม

·        นางสาวเหวียนถิกิม ถ่าว

·        นางสาวเล ถิ วัน แอง

·        ดร. สุนทรียา เหมือนพะวงศ์

·        นางสาวแอนนา-คาริน จัตฟอร์ส     

·        นายนิคโคลัส บูธ

·        นางสาวคลอเดีย บาโรนิ

ดำเนินรายการช่วงถามตอบสื่อมวลชน: นางสาวมาริษา     อัลวาราโด ผู้เชี่ยวชาญการหยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง /ผู้จัดการโครงการ UNiTE

 

11.30-11.40 น.

(10 นาที)

ปิดการเสวนา

 

นางสาว คลอเดีย บาโรนิ เจ้าหน้าที่ป้องกันอาชญากรรม และยุติธรรมอาญา 

 

11.40-13.30 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

 

 

           

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท