Skip to main content
sharethis
Event Date

องค์กร Protection International (PI) ร่วมกับเครือข่ายผู้หญิงที่ติดตามการรายงานอนุสัญญา CEDAW และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ในประเทศไทย ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานแถลงข่าวเปิดสถานการณ์เร่งด่วนของผู้หญิงในประเทศไทยภายหลังครบรอบ 1 เดือนที่รัฐบาลไทยได้นำเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรืออนุสัญญา CEDAW และการเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์เร่งด่วนของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รัฐไทยจะปฏิบัติและคุ้มครองอย่างไรให้มีสิทธิฯและคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้อนุสัญญา CEDAW” ในวันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10.00-12.00 นณ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ

นับจากวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือนกว่าแล้วที่รัฐบาลไทยได้นำเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรืออนุสัญญา The Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW) ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยภายหลังการนำเสนอของรัฐบาลไทยคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติได้จัดส่งข้อคิดเห็นโดยสรุปต่อการรายงานของไทย ซึ่งคณะกรรมการฯ แสดงความห่วงกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้หญิง ที่ทำงานรณรงค์โดยเฉพาะเรื่องสิทธิในที่ดิน การปกป้องสิ่งแวดล้อม สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง สิทธิของคนชนบท เลสเบียน ไบเซ็กชัล หญิงข้ามเพศ และหญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องตกเป็นเป้าหมายการฟ้องร้องดำเนินคดี การคุกคาม การใช้ความรุนแรงและการข่มขู่ที่เป็นผลจากการทำงานของพวกเธอโดยการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ชี้แจงและรับปากต่อคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติว่าจะดำเนินการแก้ไขในหลากหลายประเด็นที่เป็นข้อกังวลของคณะกรรมการ


อย่างไรก็ตามภายหลังการนำเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญา CEDAW ของรัฐบาลไทยไม่กี่สัปดาห์ก็มีผู้หญิงในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรธุรกิจเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นกรณีของ “แม่สุภาพ คำแหล้” ผู้หญิงชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เรื่องที่ดินที่สามีหายไปไร้ร่องรอย ที่ล่าสุดแม่สุภาพถูกสั่งจำคุก 6 เดือนในคดีรุกป่าสงวน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้หญิงจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลย สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ ที่ลุกขึ้นมาปกป้องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของตนเองต้องถูกฟ้องร้องจากหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐ และยังไม่นับสถานการณ์ของผู้หญิงชนเผ่า ผู้หญิงในภาคใต้ตลอดเดือนและตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศนโยบายของรัฐ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้องค์กร Protection International (PI) ร่วมกับ เครือข่ายผู้หญิงที่ติดตามการรายงานอนุสัญญา CEDAW และสถานทูตเนเธอร์แลนด์ในประเทศไทยจึงได้จัดงานแถลงข่าวเปิดสถานการณ์เร่งด่วนของผู้หญิงในประเทศไทยภายหลังครบรอบ 1 เดือนที่รัฐบาลไทยได้นำเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรืออนุสัญญา CEDAW และการเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์เร่งด่วนของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รัฐไทยจะปฏิบัติและคุ้มครองอย่างไรให้มีสิทธิฯและคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้อนุสัญญา CEDAW” ซึ่งงานจะจัดขึ้นในวันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10.30 น. – 12.00 น.ที่ สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย โดยการจัดงานในครั้งนี้สื่อมวลชนจะได้พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจอาทิ


• การกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและกล่าวัตถุประสงค์ในการจัดงานโดยอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย คุณ Susan Blankhart


• การแถลงข่าวข่าวเปิดสถานการณ์เร่งด่วนของผู้หญิงในประเทศไทยภายหลังครบรอบ 1 เดือนที่รัฐบาลไทยได้นำเสนอรายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ หรืออนุสัญญา CEDAW


• การนำเสนอรายงานข้อคิดเห็นของคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติฉบับภาษาไทยต่อหลากหลายประเด็นที่อนุกรรมการของสหประชาชาติว่าด้วยอนุสัญญา CEDAW แนะให้รัฐบาลไทยทำ


• การเสวนาในหัวข้อ “ สถานการณ์เร่งด่วนของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รัฐไทยจะปฏิบัติและคุ้มครองอย่างไรให้มีสิทธิฯและคุณภาพชีวิตที่ดีภายใต้อนุสัญญา CEDAW” โดยวิทยากรจากองค์กรหน่วยงานที่ตามติดการทำงานของรัฐบาลไทย และตัวแทนของกลุ่มนักต่อสู้สตรีอาทิ


 การเปิดสถานการณ์ของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯในประเทศไทยภายในระยะเวลา 1 เดือนที่มีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องถูกจับกุมคุมขังและถูกข่มขู่ คุกคาม และการเข้าถึงความยุติธรรม โดยคุณปรานม สมวงศ์ ตัวแทนจากองค์กร Protection International ,แม่ไม้ วิรอน รุจิไชยวัฒน์ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลย คุณปรีดา ปานเมือง จากสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้


 การเปิดสถานการณ์พร้อมข้อเรียกร้องของเครือข่ายผู้หญิงที่ติดตามการรายงานอนุสัญญา CEDAW สืบเนื่องจากข้อเสนอแนะของคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีของสหประชาชาติได้จัดส่งข้อคิดเห็นโดยสรุปต่อการรายงานของไทย โดย ตัวแทนเครือข่ายผู้หญิงที่ติดตามการรายงานอนุสัญญา CEDAW

 การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน จากตัวแทน สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( รอการยืนยัน )


มีการแปลภาษา ทั้งไทยและอังกฤษ และอาหารว่างระหว่างแถลงข่าวสามารถจอดรถได้ หากมีการแจ้งรายละเอียดของทะเบียนรถ เข้าทางถนนวิทยุ สอบถามข้อมูลและยืนยันการเข้าร่วมงานได้ที่คุณเอฟโทร 080-970-7492,085-176-6323

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net