Skip to main content
sharethis

แถลงการณ์ ฉบับที่ 2


การจัดตั้งเครือข่ายเยาวชนเพื่อสันติภาพสามจังหวัดภาคใต้


 


ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสามจังหวัดภาคใต้ นับวันจะทวีความซับซ้อน กลายเป็นการใช้ความรุนแรเหตุการณ์ทำร้ายครูที่บ้านกูจิงลือปะ จ.นราธิวาส ยิ่งทำให้อารมณ์ความโกรธแค้นและความเกลียดชังทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก และมีแนวโน้มนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างภูมิภาค งตอบโต้ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความรุนแรงต่อเนื่องจากทุกฝ่าย อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปัจจุบันสังคมไทยเต็มไปด้วยความเกลียดชัง อคติ การยอมรับให้ใช้ความรุนแรง รวมทั้งขาดการทำความเข้าใจรากฐานและโครงสร้างของปัญหาอย่างรอบด้าน ตลอดจนขาดการเคารพและยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม จนกระทั่งเหตุการณ์ทำร้ายครูที่บ้านกูจิงลือปะ จ.นราธิวาส ยิ่งทำให้อารมณ์ความโกรธแค้นและความเกลียดชังทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก และมีแนวโน้มนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างภูมิภาค


 


ตลอดกว่า 2 ปีที่ผ่านมา นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทยได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้อยู่ในระดับหนึ่ง แต่ค่อนข้างเป็นไปตาม
อัตภาพ ขาดการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน กล่าวเฉพาะในส่วนที่เป็นนักศึกษาในพื้นที่นั้น ได้ลงเยี่ยมเยียนชุมชนและเก็บข้อมูลเป็นประจำ แต่ยังขาดการสรุปวิเคราะห์เพื่อสื่อสารกับคนต่างภูมิภาค ในขณะที่นักศึกษานอกพื้นที่ ทั้งที่เป็นกรุงเทพฯ ภาคเหนือ และภาคอีสาน ได้จัดกิจกรรมการเสวนาและรณรงค์ในประเด็นต่างๆ แต่มีปัญหาการทำความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านท่ามกลางสภาพความเป็นไปของปัญหา เนื่องจากมีอุปสรรคในการลงพื้นที่


 


จากสภาวะความเข้าใจของสาธารณะต่อปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ และจากภาพกิจกรรมที่ผ่านมาของนิสิตนักศึกษา ดังกล่าวข้างต้น พวกเรา นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและภูมิภาคต่างๆทั้งในและนอกพื้นที่ จึงเห็นควรจัดตั้ง "เครือข่ายเยาวชนเพื่อสันติภาพสามจังหวัดภาคใต้" โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ ดังนี้


1)      เพื่อติดตามสถานการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้อย่างต่อเนื่อง


2)      เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันทั้งในเชิง "ความรู้" และ "ความรู้สึก" โดยเชื่อมโยงให้เห็นฐานปัญหาร่วมกันระหว่างภูมิภาค


3)      เพื่อจัดทำข้อมูลความเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบ


4)      เพื่อผลักดันให้ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้เป็นสาระสำคัญระดับชาติของการปฏิรูปการเมืองในปัจจุบัน


 


 


การรวมกันระหว่างภูมิภาคของเรา ประกอบด้วยเยาวชนในกรุงเทพฯ, เยาวชนในพื้นที่ 5 จังหวัด ซึ่งได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล, รวมทั้งเยาวชนจากภาคเหนือและภาคอีสาน ดังรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้


 


ในด้านการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายนั้น ในเบื้องต้นมีกิจกรรมต่างๆ ได้แก่


1)      การจัดกิจกรรมลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนำเยาวชนนอกพื้นที่ลงศึกษาปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ และเชิญเยาวชนในพื้นที่ขึ้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนต่างภูมิภาค


2)      การจัดกิจกรรมสัญจร เช่น การเสวนาประเด็นปัญหาต่างๆ, การวิจารณ์ภาพยนตร์, การวิจารณ์หนังสือและวรรณกรรม, การแสดงทางวัฒนธรรม, การจัดแสดงนิทรรศการภาพศิลป์วิถีชีวิตมลายูมุสลิมหรือนิทรรศการหนังสั้น เป็นต้น


3)      การจัดทำสื่อเผยแพร่ในลักษณะต่างๆ เช่น จุลสาร, การเขียนบทความลงสื่อสิ่งพิมพ์, เป็นต้น


4)      การจัดระบบข้อมูลข่าวสาร เพื่อแบ่งปันข้อมูลระหว่างพื้นที่


5)      การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ว่าด้วยการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนและนิสิตนักศึกษาในภูมิภาคต่างๆ เพื่อสร้างพื้นที่ความเข้าใจเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในสามจังหวัดภาคใต้


 


 


ทั้งนี้ เครือข่ายเรามีแนวทางการทำงานร่วมกัน 2 ประการ ได้แก่


1)      ไม่มุ่งหาทางออกอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์แบบ เพราะปัญหาสามจังหวัดภาคใต้มีความซับซ้อนเกินกว่าจะลดทอนเหลือเพียงคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงหนึ่งเดียวได้


2)      ไม่มุ่งเป็นตัวแทนกระบอกเสียงของคนในพื้นที่ แต่มุ่งสร้างโอกาสการสนทนาสองทางและเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่


 


 


สุดท้ายนี้ ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่ต้องรับผิดชอบและร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทางเครือข่ายฯจะเป็นอีกหนึ่งพลังสร้างสรรค์ให้สังคมมีความหนักแน่น ใช้สติ เคารพและยอมรับความแตกต่างหลากหลายในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิต รวมทั้งเห็นความสำคัญในความมั่นคงของมนุษย์ทุกคน เพื่อฟื้นคืนความสมานฉันท์ และสร้างเสริมสันติภาพที่ถาวรในสังคมไทยต่อไป


 


วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.. 2549



 


 


รายนาม
"คณะทำงานเครือข่ายเยาวชนเพื่อสันติภาพสามจังหวัดภาคใต้"


 


1.         ชาญชัย ชัยสุขโกศล                นิสิตปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


2.         เอกรินทร์ ต่วนศิริ                    บัณฑิต วิทยาลัยอิสาลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี


3.         ประทับจิต นีละไพจิตร              นิสิตปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


4.         กชวรรณ ชัยบุตร                     เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย


5.         ไกรสร อินทรา                        รองนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยทักษิณ


6.         ชาคร พิทักษ์วัชระ                   นิสิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


7.         ชารีพุดดีน สารีมิง                    นักศึกษา สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา


8.         ตัรมีซี -                                 นายกองค์การบริหารนักศึกษา วิทยาลัยอิสลามยะลา (วอย.)


9.         นุชรี วงศ์สมุท                         นิสิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


10.     ประวียา รักยิ่ง                         มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


11.     ผาณิต จันทร์แสง                    นักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


12.     พัชรินทร์ รักสัตย์                     นักศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


13.     พิทักษ์ รัตนแสงสว่าง               สถาบันชาติพันธุ์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


14.     ฟาริดา ขจัดมาร                      บัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ


15.     ยุทธพงษ์ ขันประกอบ              กลุ่มงืด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


16.     รอบือละห์ แซแยะ                   กลุ่มเยาวชนใจอาสา ปัตตานี


17.     เราะอูฟ มูซอ                          กลุ่มอิสระ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


18.     วาสิตา จึงยุทธชัย                    อุปนายกภายนอก องค์การบริหารกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


19.     วิทยา คำภูแสน                       เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสาน (สนนอ.)


20.     ศรัญญู ปิยะศิลป์                     มหาวิทยาลัยขอนแก่น


21.     สาลินี รัตนชัยสิทธิ์                   อุปนายก องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)


22.     อัศรี จารุโกศล                        บัณฑิต คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


23.    อิสมาแอล หวังและ                  อุปนายกภายนอก องค์การบริหารกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


24.     ฮาฟิสสา สาและ                     บัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net