TCIJ: สถิติอุบัติเหตุเครื่องบินโดยในไทย ตั้งแต่ปี 2474 รวม 127 ครั้ง ครั้งเสียชีวิต 1,270 คน

จากการเก็บข้อมูลของ  B3A พบเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุในไทยตั้งแต่ปี 2474 จนถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559 รวมแล้ว 127 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 1,270 คน เหตุ Lauda Air ตกที่ จ.สุพรรณ เมื่อปี 2534 เสียหายหนักสุด มีผู้เสียชีวิต 223 คน

<--break- />

เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา เกิดเหตุเครื่องบินรุ่น Piper PA-31-350 Navajo Chieftain ทะเบียน HS-FGB เครื่องบินโดยสารขนาดเล็กซึ่งเป็นบริการให้เช่าเหมาลำของสายการบิน Rabbit Wings บินมาจาก จ.นครราชสีมา ปลายทางที่สนามบินสุวรรณภูมิ ได้ตกใกล้วัดลำพระองค์ ถ.สังฆประชา ลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพ โดยในเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย

จากการเก็บข้อมูลของ Bureau of Aircraft Accidents Archives หรือ B3A พบเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุในไทยตั้งแต่ปี 2474 จนถึงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559 รวมแล้ว 127 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 1,270 คน เหตุ Lauda Air ตกที่ จ.สุพรรณ เมื่อปี 2534 เสียหายหนักสุด มีผู้เสียชีวิต 223 คน

เครื่องบิน Piper PA-31-350 Navajo Chieftain เครื่องบินเล็กเช่าเหมาลำของ Rabbit Wings เป็นเครื่องบินโดยสารขนส่งลำล่าสุดที่ประสบอุบัติเหตุในประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา (ที่มาภาพ: B3A)

เครื่องบินโดยสารลำแรกที่ประสบอุบัติเหตุในประเทศไทยคือเครื่อง Fokker F7 ของสายการบิน KLM เส้นทางบิน Melbourne – Alor Setar – Bangkok – Yangon – Amsterdam ตกที่กรุงเทพเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2474 (ที่มาภาพ: B3A)

อุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในไทยคือ เหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2534 เครื่อง Boeing 767 ของ Lauda Air ตกที่ จ.สุพรรณ มีผู้เสียชีวิต 223 คน (ที่มาภาพ: B3A)

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการขนส่งทางอากาศเพื่อรับส่งผู้โดยสารและพัสดุไปรษณีย์ของไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่ประมาณปี 2463 โดยได้ทำการทดลองบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2463 ต่อมาได้มีการนำเครื่องบินตรวจการและทิ้งระเบิดแบบ Breguet XIV ซึ่งเป็นเครื่องบินตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มาดัดแปลงสำหรับทำการขนส่งไปรษณีย์และผู้โดยสาร โดยเส้นทางบินที่ได้มีการทดลองเป็นครั้งแรกคือ เส้นทาง กรุงเทพ-จันทบุรี ส่วนเส้นทางที่สองคือนครราชสีมา-ร้อยเอ็ด-อุบลราชธานี โดยทั้งสองเส้นทางเริ่มบินในปี 2465 ต่อมาในปี 2467 สายการบิน KLM ของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีข่ายการบินพาณิชย์ในยุโรป ได้ทดลองบินสำรวจเส้นทางไปยังอินโดนีเซียโดยเครื่องบิน Fokker แวะลงที่สนามบินดอนเมืองนับเป็นสายการบินพาณิชย์นานาชาติสายการบินแรกที่เข้ามายังในประเทศไทยและต่อมาก็ได้มีการเปิดเส้นทางการบินผ่านประเทศไทยด้วย

ทั้งนี้ข้อมูลจาก Bureau of Aircraft Accidents Archives (หรือ B3A) ระบุว่าเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุในประเทศไทยมาแล้วตั้งแต่ปี 2474 เป็นต้นมา จนถึง ณ วันที่ 1 ส.ค. 2559 ที่ผ่านมา พบว่ามีเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุในประเทศไทย 127 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 1,270 คน โดยเครื่องบินโดยสารลำแรกที่ตกในประเทศไทยคือเครื่อง Fokker F7 ของสายการบิน KLM เส้นทางบิน Melbourne - Alor Setar - Bangkok - Yangon - Amsterdam ตกที่กรุงเทพเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2474 มีผู้เสียชีวิต 6 คน ส่วนเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดคือเหตุเครื่องบิน Lauda Air ตกที่ จ.สุพรรณ เมื่อปี 2534 เสียหายหนักสุด มีผู้เสียชีวิต 223 คน

อนึ่ง B3A ไม่ได้รวมการประสบอุบัติเหตุของเครื่องบินรบ เครื่องบินซ้อมรบ และเฮลิคอปเตอร์ไว้ในสถิติดังกล่าว

ระหว่างปี 2514-2523 มีอุบัติเหตุสูงสุด

เมื่อแบ่งช่วงออกเป็นช่วงละ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2474 เป็นต้นมา พบว่ามีเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุในประเทศไทย 127 ครั้ง เฉลี่ยแล้ว 85 ปีที่ผ่านมาเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุเฉลี่ยปีละ 1.49 ครั้ง โดยมีจำนวนครั้งความถี่ในรอบแต่ละ 10 ปีดังนี้ ปี 2474-2483 มีอุบัติเหตุ 2 ครั้ง, ปี 2484-2493 มีอุบัติเหตุ 4 ครั้ง, ปี 2494-2503 มีอุบัติเหตุ 11 ครั้ง, ปี 2504-2513 มีอุบัติเหตุ 29 ครั้ง, ปี 2514-2523 มีอุบัติเหตุ 36 ครั้ง, ปี 2524-2533 มีอุบัติเหตุ 25 ครั้ง, ปี 2534-2543 มีอุบัติเหตุ 8 ครั้ง, ปี 2544-2553 มีอุบัติเหตุ 10 ครั้ง และปี 2554-2563 (จนถึงวันที่ 1 ส.ค. 2559) มีอุบัติเหตุ 2 ครั้ง

เป็นที่สังเกตว่า ช่วงสงครามเวียดนามที่กินเวลากว่า 19 ปี 5 เดือน เริ่มต้น ธ.ค. 2498  และสิ้นสุด 30 เม.ย. 2518 ก็ถือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการบินในน่านฟ้าไทยมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่ออุบัติเหตุทางการบินที่มีตัวเลขพุ่งสูงด้วยเช่นกัน เพราะหากนับเฉพาะ 19 ปี (ธ.ค. 2498 - 30 เม.ย. 2518) มีเครื่องบินประสบอุบัติเหตุในไทยถึง 43 ครั้ง สอดคล้องกับจำนวนของหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ประสบอุบัติเหตุในไทยคือ กองทัพอากาศสหรัฐฯ และแอร์อเมริกาที่ประสบอุบัติเหตุรวมกันในไทยถึง 27 ครั้ง

กองทัพอากาศไทยประสบอุบัติเหตุสูงสุด ตามด้วยกองทัพอากาศสหรัฐฯ

สายการบินที่จัดตั้งโดย CIA ที่มีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามเวียดนามอย่าง 'แอร์อเมริกา' (Air America) เป็นสายการบินและหน่วยงานที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ที่ประสบอุบัติเหตุในประเทศไทยสูงสุดโดยมีเครื่องบินโดยสารประสบอุบัติเหตุในไทย (เท่าที่บันทึกไว้) ถึง 5 ครั้งในช่วงปี 2506-2518 ภาพประกอบเป็นเครืองบินรุ่น Pilatus PC-6 Porter ซึ่งเครื่องบินรุ่นนี้ของแอร์อเมริกาเคยตกในไทย 1 ครั้งเมื่อปี 2510 (ที่มาภาพประกอบ: wikipedia.org)

ด้านสายการบิน หรือหน่วยงาน สังกัด ของเครื่องบินโดยสารที่ประสบอุบัติเหตุสูงสุดในไทย 5 อันดับแรกได้แก่ เครื่องบินโดยสารของกองทัพอากาศไทย ประสบอุบัติเหตุ 48 ครั้ง ตามมาด้วยกองทัพอากาศสหรัฐฯ (U.S. Air Force) 22 ครั้ง การบินไทย 12 ครั้ง สายการบินแอร์อเมริกา (Air America) 5 ครั้ง กรมตำรวจ 5 ครั้ง และเครื่องบินโดยสารสังกัดอื่น ๆ ของรัฐบาลไทย 5 ครั้ง

 

คลิ๊กอ่านรายละเอียดของเครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2474 - 1 ส.ค. 2559 ทั้ง 127 ครั้งได้ที่ “จับตา: เครื่องบินโดยสารที่ประสบอุบัติเหตุในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 2474 - 1 ส.ค. 2559”

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท