Skip to main content
sharethis

นักวิชาการ นักศึกษา นักเขียน รวมรายชื่อ 101 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงมหาเถรสมาคม กรณีปัญหาพระกับโบราณสถาน และพฤติกรรมของพระในสื่อโซเชียล ชี้วัดเป็นสิทธิของพระในการดูแล แต่โบราณสถานไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2558 พิพัฒน์ กระแจะจันทร์  อาจารย์ประจำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และพัชรพงศ์ กุลกาญจนาชีวิน นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึก ต่อสำนักเลขาธิการการมหาเถรสมาคม สืบเนื่องจากปัญหาพระกับโบราณสถาน และพฤติกรรมของพระในสื่อโซเชียล โดยมีสมเกียรติ ธงศรี ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับจดหมาย

ทั้งนี้ตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาได้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์ กับกรมศิลปกร อันเนื่องมาจากการที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารได้ทำการรื้อถอนโบราณสถานที่สร้างขึ้นแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 และต่อเนื่องมาเป็นลำดับอีกหลายรัชกาล ทั้งนี้เพื่อสร้างศาสนสถานสมัยใหม่ โดยบวรเวท รุ่งรุจี อธิบดีกรมศิลปากร ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับผู้สั่งการและทำลายโบราณสถานสำคัญ เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2558 พร้อมระบุว่า คดีการรื้อถอนทำลายดัดแปลงแก้ไขโบราณสถานวัดกัลยาณมิตร เป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนานมาถึง 12 ปี ที่ผ่านมากรมศิลปากรได้แจ้งดำเนินคดีอาญากับวัดกัลยาณมิตร โดยก่อนหน้านี้ ได้ดำเนินคดีทั้งหมด 15 คดี ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยสรุปอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง 10 คดี คงเหลือ 5 คดี ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของ สน.บุปผาราม โดยตลอดระยะเวลา 12 ปี มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ได้รับความเสียหายรื้อทำลายไปแล้วจำนวน 22 รายการ อาทิ หอระฆัง อาคารเสวิกุล ศาลาทรงปั้นหยา หอกลอง หอสวดมนต์กัลยาณาลัย ศาลาปากสระ กุฏิเก่าคณะ 7 จำนวน 3 หลัง รื้อราวระเบียงหิน พื้นหิน ตุ๊กตาหินอับเฉา กุฏิสงฆ์คณะ 4 และการถมสระน้ำภายในกุฏิสงฆ์คณะ 4 และถมสระน้ำภายในกุฏิสงฆ์คณะ 2 นอกจากการรื้อถอนทำลายโบราณสถาน ยังมีการก่อสร้างอาคารในเขตโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วโดยไม่ได้รับอนุญาต จากกรมศิลปากรด้วย(อ่านข่าวที่นี่)

ขณะเดียวกันกลุ่มนิสิตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จดหมายเปิดอีกหนึ่งฉบับ เรื่อง ปัญหาพระสงฆ์และการดูแลจัดการโบราณสถาน โดยแสดงความเป็นห่วงต่อการดูจัดการศาสนสถานโดยคณะสงฆ์ ซึ่งส่วนมากมองศาสนสถานในแง่การใช้สอยเพียงลำพังและขาดความเข้าใจในมิติเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ของโบราณสถานนั้นๆ ทำให้โบราณสถานในรูปของศาสนสถานส่วนมากถูกปล่อยปละละเลยหรือเปลี่ยนแปลงรื้อถอนโดยขาดการตระหนักรู้ ถือเป็นการทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาเชิงช่างอย่างร้ายแรง พร้อมทั้งเป็นห่วงถึงความขัดแย้งระหว่างวัดและชุมชน

00000

จดหมายเปิดผนึกถึงมหาเถรสมาคม

เรื่อง  ปัญหาพระกับโบราณสถาน และพฤติกรรมของพระในสื่อโซเชียล

กราบนมัสการพระคุณเจ้า และคณะสงฆ์

ตามที่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาได้เกิดประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างพระสงฆ์ กับกรมศิลปากร ซึ่งเรื่องเริ่มจากการที่วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารได้ทำการรื้อถอนโบราณสถาน ที่สร้างขึ้นแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 และต่อเนื่องมาเป็นลำดับอีกหลายรัชกาล ทั้งนี้เพื่อสร้างศาสนสถานสมัยใหม่ เมื่อศาลตัดสินว่าทางวัดกัลยาณมิตรผิด ทำให้กรมศิลปากรมีอำนาจในการรื้อถอนอาคารสมัยใหม่ ดังปรากฏตามที่เป็นข่าว หลังจากนั้นได้มีพระบางรูปนำประเด็นดังกล่าวมานำเสนอผ่านโลกโซเชียลโดยเฉพาะ ใน facebook ว่าวัดและพระมีอำนาจในการทุบโบราณสถานของชาติได้ เพื่อสร้างศาสนาสถานสมัยใหม่ได้ ด้วยการอ้างเรื่องประโยชน์ปัจจุบันของพระสงฆ์และอ้างพระวินัย

ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดข้อถกเถียงในวงกว้างในกลุ่มของนักวิชาการทั้งไทยและเทศ และผู้สนใจต่อโบราณสถาน ซึ่งได้แสดงความเห็นต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวด้วยความห่วงใยและหวังดี แต่ก็ได้มีพระบางรูปได้นำไปเป็นประเด็นโจมตีเสมอมาในลักษณะที่ขาดความเข้าใจ และหาได้มีความรู้ต่อเรื่องโบราณสถานอย่างแท้จริง อีกทั้งมีการพูดจาไม่สำรวมแก่วาจาของความเป็นพระผ่านสื่อโซเชียลมีลักษณะ ส่อเสียดและโฆษณาจนทำให้ประชาชนโดยทั่วไปเกิดความเข้าใจผิดทั้งต่อบุคคลที่ ถูกอ้างถึง ทั้งอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิชาการ และข้าราชการในกรมศิลปากร รวมถึงเกิดความเข้าใจผิดต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลโบราณสถานอีกด้วย เช่นการใช้คำพูดว่า “กรมศิลปากรพ่อทุกพระอาราม” รวมถึงมีการสาปแช่งประชาชนต่างๆ นานาๆ เช่น “นิทานเรื่อง "เปรตวัดกัลยาณ์" จบเพียงแค่นี้ หวังว่านิทานเรื่องนี้จะถูกใจท่านอธิบดีกรมศิลปากรที่จะเกษียณอายุราชการใน อีก 2-3 วันข้างหน้านี้ ขอให้ท่านโชคดี” เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ยังนับ เป็นส่วนน้อย พระบางรูปยังมีพฤติการณ์ไปในทางข่มขู่ ขาดความเมตตาแห่งความเป็นสมณะ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ถ้าศาสนิกชนที่ไม่เข้าใจเรื่องศาสนาและต้นสายปลายเหตุ ต่างๆ อาจคิดว่าการสาปแช่งผู้อื่นเป็นสิ่งที่ย่อมกระทำได้ เพราะในเมื่อพระสงฆ์ผู้ทรงศีลยังสามารถที่จะทำได้ ฆราวาสก็ย่อมทำได้เช่นกัน นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะนำไปสู่การสร้างบรรทัดฐานทางสังคมที่ไม่ถูกไม่ควร

นอกจากนี้แล้ว พระสงฆ์รูปนั้นยังมีพฤติกรรมที่ไม่มีความเข้าใจต่อระบบการอนุรักษ์และ ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน เช่น เรื่องการบูรณะพื้นของวัดเบญจบพิตร โดยอ้างว่ากรมศิลปากรไม่ได้เข้ามาดำเนินการ ซึ่งจะทำให้โบราณสถานไม่เสียหาย เพราะมีสำนักทรัพย์สินและทางวัดเข้ามาดำเนินการ แต่ในความเป็นจริงแล้วการบูรณะดังกล่าวในขั้นตอนจะต้องมีการส่งแบบก่อนการ บูรณะให้กับทางกรมศิลปากรเพื่อดำเนินการตรวจความถูกต้องแล้วจึงทำการอนุมัติ หากประชาชนโดยทั่วไปไม่ทราบขั้นตอนก็อาจได้รับสารที่ขาดความเข้าใจ ซึ่งเกิดจากต้นทางของสาร

ความจริงแล้ว เรื่องของวัดกัลยาณมิตรฯ เป็นเพียงหนึ่งในประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในเวลานี้และเป็นมานาน แล้ว เพียงแต่ประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นพิเศษด้วยเป็นเพราะวัด กัลยาณมิตรฯ มีปัญหายืดเยื้อมานาน และเป็นวัดแรกที่กรมศิลปากรได้ใช้อำนาจศาลเข้าดำเนินการ อีกทั้งยังเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ซึ่งสร้างโดยต้นตระกูลกัลยาณมิตร นับว่าวัดแห่งนี้มีคุณค่าต่อประวัติศาสตร์ของชาติเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้มีผู้ใส่ใจอย่างมาก ดังนั้นเมื่อมีปรากฏการณ์ที่พระเข้าไปใช้ประโยชน์จากโบราณสถาน/วัดจึงเป็น ประเด็นทางสังคม ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่วัดกัลยาณมิตรฯ เท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นกับโบราณสถานหลายแห่งทั่วประเทศ จริงอยู่ที่วัดเป็นสิทธิของพระในการดูแล แต่โบราณสถานไม่ใช่เรื่องของคนใดคนหนึ่ง หรือเอื้อประโยชน์ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากแต่มีคุณค่าต่อคนทั้งชาติ ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าในด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม เป็นแหล่งสั่งสมทางภูมิปัญญา สะท้อนความรุ่งเรืองในอดีตของชาติ และยังเป็นส่วนหนึ่งแห่งรากเหง้าของความเป็นไทย ด้วยความสำคัญทั้งปวงที่กล่าวมาจึงไม่มีทางที่ศาสนสถานสมัยใหม่จะมีคุณค่าทด แทนคุณค่าของโบราณสถานดังที่กล่าวมาข้างต้นได้

นอกจากนี้แล้ว ยังมีพระบางรูปมีพฤติกรรมที่พยายามเอาประเด็นความแตกต่างทางด้านศาสนาความ เชื่อทั้งในระดับปัจเจกและที่ปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรมมาเป็นประเด็นให้คนโดย ทั่วไปทั้งที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอื่นๆ เกิดความไม่เข้าใจต่อกันจนต้องขุนข้องหมองใจ นับเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศไทยมีปัญหาทางสังคมและการเมืองมามากแล้วรังแต่จะเพิ่มปัญหาให้ มากขึ้น และถ้ามองย้อนกลับไปประเทศไทยนั้นแต่ครั้งโบราณเป็นดินแดนที่มีคนนับถือ ศาสนาแตกต่างกันมาช้านานแต่สามารถดำรงอยู่กันได้ด้วยความเคารพและผสมผสานกลม กลืนกันได้อย่างลงตัว ดังเห็นได้จากสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมต่างให้แรงบันดาลใจต่อกันและกัน อาทิในสมัยพระนารายณ์พระองค์ทรงสนับสนุนศาสนาทุกศาสนา สถาปัตยกรรมในวัดและพระราชวังของพระองค์จึงมีทั้งศิลปะอิสลาม/เปอร์เซีย ศิลปะยุโรปแบบโบสถ์ในศาสนาคริสต์ ผสมผสานกันอย่างลงตัวกับศิลปะไทย หรือในสมัยสุโขทัยและอยุธยาตอนต้นก็ให้ความเคารพต่อศาสนาพุทธ พราหมณ์ และผี ตัวอย่างนี้สามารถอ่านได้ในจารึกหลักที่ 1 พ่อขุนรามคำแหง และในโองการแช่งน้ำ ควบคู่กันโดยต่างฝ่ายต่างมีบทบาทและหน้าที่ต่อสังคมเพื่อพยุงให้คนเป็นคนดี ทั้งสิ้น การชี้ช่องเพื่อยุยงให้คนเข้าใจต่อศาสนาหนึ่งศาสนาใดนั้นย่อมไม่เป็นการอัน ควร เพราะศาสนาทุกศาสนาต่างมีคุณค่าเสมอกันและล้วนสอนให้คนเป็นคนดีด้วยกันทั้ง สิ้น และอยู่กันมาด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน

ส่วนเรื่องของพฤติกรรม ของพระสงฆ์ในโลกโซเชียลนั้นก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน พระนั้นมีสิทธิสามารถที่จะใช้สื่อโซเชียลต่างๆ ได้ทั้งในแง่การบอกเล่าถึงชีวิตประจำวัน และการเผยแพร่ความรู้ทางธรรม แต่ชีวิตประจำวันนั้นก็ควรจะเป็นต้นแบบแห่งการประพฤติให้กับฆราวาสเพื่อ ดำเนินไปสู่ทางที่ถูกต้องทั้งในแง่ของวาจาและจิตใจ มิใช่การพูดจาส่อเสียด แสดงความเคียดแค้น ดูถูกดูหมิ่นคนอื่น หลงใหลคำเยินยอ หรือแสดงวิถีชีวิตเฉกเช่นปุถุชน หากยังยึดมั่นต่อวิถีแห่งฆราวาสเช่นนั้นก็เป็นเรื่องที่พึงพิจารณา เช่นเดียวกับความรู้ทางธรรมก็ควรเผยแพ่ความรู้อันแสดงถึงความรู้ทางธรรมทั้ง ขั้นพื้นฐานและขั้นสูง เพื่อให้ประชาชนเกิดปัญญา อีกทั้งไม่ควรอ้างพระธรรมพระวินัยเพื่อใช้ในการข่มผู้อื่นให้ด้อยกว่าหรือยก ตนเองให้สูงกว่าสามัญแห่งความเป็นมนุษย์

จากที่กล่าวมาในฐานะที่เป็น ส่วนหนึ่งของพุทธบริษัท จึงเรียนขอให้มหาเถรสมาคม พระสงฆ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่างๆ เท่าที่จะกระทำได้ เพื่อช่วยยกพระพุทธศาสนาให้สถาวร ดังนี้

หน่วยงานที่มีอำนาจในทาง สงฆ์/ศาสนาควรเข้ามาดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อปัญหาพระกับโบราณสถาน เพื่อหาแนวทางร่วมกันอนุรักษ์ และอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยควรสร้างบรรทัดฐานหรือกฎให้เกิดความชัดเจน ทั้งนี้เพื่อมิให้หน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล ประชาชน และพระสงฆ์ เกิดความขัดแย้งกัน ซึ่งจะนำไปสู่ทางเสื่อมแห่งศาสนาเสียมากกว่า

โบราณสถานทั้งที่ประกาศขึ้นทะเบียนและไม่ประกาศแต่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ หรือสะท้อนประวัติความเป็นมาของชุมชนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ควรจะได้รับการอนุรักษ์เป็นอันดับต้น โดยไม่กระทำการสร้างศาสนสถานหรือสิ่งปลูกสร้างสมัยใหม่แทนที่หรือสร้างบดบัง ทัศนียภาพของโบราณสถาน ทั้งนี้เพราะโบราณสถานแห่งหนึ่งนั้นประกอบด้วยคุณค่าทั้งประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปกรรม มานุษยวิทยา ฯ นับเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่มิอาจแทนที่ด้วยของใหม่ และยังทำให้เห็นถึงรากเหง้าและความเป็นมาของชาติไทย รวมถึงยังเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเช่นการท่องเที่ยว และดึงดูดให้ทั้งคนไทยและต่างชาติเข้าวัดอีกด้วย โบราณสถานจึงมีประโยชน์เอนกอนันต์ระดับชาติมากกว่าอาคารสมัยใหม่ที่สร้าง เพื่อประโยชน์เฉพาะตน

ควรมีการควบคุมพฤติกรรมของพระของพระในโลกโซเชีย ลให้เหมาะสม ความไม่เหมาะสมนั้นเห็นได้จากการที่หากพระนั้นประพฤติอยู่ในครรลองแห่งพระ ธรรมแล้ว คงมิมีฆราวาสหรือประชาชนผู้ใดพูดวิจารณ์หรือตักเตือนเป็นแน่ การที่พระสงฆ์มีพฤติกรรมอันเหมาะสมทั้งกายและวาจา ตอบคำถามฆราวาสด้วยหลักแห่งเหตุผล และคอยตักเตือนผู้ศรัทธาแห่งตนและอื่นๆ ให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วไซร้ ย่อมส่งผลทำให้พระพุทธศาสนาเกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ตลอดเวลาหลาย ปีที่ผ่านมาสังคมไทยอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทั้งทางด้านศาสนาและการเมือง ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรซ้ำเติมให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น หากพระสงฆ์รูปใดที่เป็นเหตุให้คนต่างศาสนาเข้าใจผิดซึ่งกันและกัน และยกศาสนาพุทธให้อยู่เหนือศาสนาอื่นที่ต่างมีคุณค่าทางจิตวิญญาณและสอนให้ คนทำความดีทั้งสิ้นนั้น หน่วยงานที่มีอำนาจในทางสงฆ์/ศาสนาสมควรอย่างยิ่งที่จะตักเตือนเพื่อให้ สังคมเกิดความปกติสุขดังที่เคยเป็นมา

จึงกราบเรียนพระคุณเจ้ามาเพื่อโปรดพิจารณา

ผู้ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกมีทั้งหมด 101 คน ดังนี้

1. อ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2. อ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

3. ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

4. รศ.ดร.รัศมี ชูทรงเดช คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

5. ศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

6. อ.ประอร ศิลาพันธุ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

7. อ.ดร.ผุสดี รอดเจริญ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

8. รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

9. ศ.ดร.สรัสวดี อ๋องสกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

10. ดร.กำไลทิพย์ ปัตตะพงศ์ อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

11. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

12. ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ นักวิชาการศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

13. รศ.ดร.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

14. ผศ.ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล  ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

15. นาย ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ นายกสมาคมจดหมายเหตุไทย และเจ้าของสำนักพิมพ์ต้นฉบับ

16. อ.พสุธา โกมลมาลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น

17. อ.ปติสร เพ็ญสุต อาจารย์ประจำสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

18. อ.ดร.สายป่าน ปุริวรรณชนะ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

19. อ.ภัคธร ชาญฤทธิเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

20. อ.ดร.อัครพงษ์ ค่ำคูณ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ ม. ธรรมศาสตร์

21. อ.ประยุทธ  สายต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

22. อ.นวชนก วิเทศวิทยานุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

23. อ.ปีติกาญจน์ ประกาศสัจธรรม วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยนเรศวร

24. นาย อติภพ ภัทรเดชไพศาล นักเขียน

25. อ.ปริญ รสจันทร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

26. อ.สิทธิพร เนตรนิยม นักปฏิบัติการวิจัย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล

27. อ. ธนกฤต ลออสุวรรณ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

28. อ.ปวลี  บุญปก ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

29.อ.ดร.ณัฐพร ไทยจงรักษ์ ภาควิชาประวัติสศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

30. อ.ดร.สุรวัฒน์ ชลอสนติสกุล มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

31. อ.สืบสกุล ศรัณพฤติ  คณะจิตรกรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

32. นาย วริทธิ์ แจ่มใส ช่างภาพอิสระและไวยาวัจกรวัดโพธิ์พระใน

33. นาย ทนงศักดิ์  หาญวงษ์  นักวิชาการอิสระ

34. นาย ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการอิสระ

35. นาย ภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภานักศึกษาแม่โจ้-แพร่

36. นางสาว เจนจิรา เบญจพงศ์  นักวิจัยอิสระ

37. นาย นิรุตต์ โลหะรังสี มัคคุเทศก์

38. นายกิตติพงษ์ บุญเกิด นักวิชาการ

39. คุณ กาญจนา นียะพันธ์ เกษียณ

40. นาย จิณณวัตร ช้อยคล้าย นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

41. นาย ศุภณัฐ ครองแก้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

42. นาย พิชยพรรณ ช่วงประยูร นักศึกษาปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

43. นาย ยิ่งยศ บุญจันทร์ นักศึกษาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

44. นาย อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ นักศึกษาปริญญาเอก Communication University of China

45. นาย ธนชัย วรอาจ นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร

46. นาง พิมพ์ชนก พงษ์เกษตร์กรรม์ นักโบราณคดีและธุรกิจส่วนตัว

47. นาย ชัยชาญ ปรางค์ประทานพร หัวหน้าที่ปรึกษา สภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

48. นาย ภาณุวัตร จันทร์ดี นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

49. นางสาว ขวัญชนก ตายัง  นิสิตปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

50. นาย คมสันต์ ป้องคำ นิสิตปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

51. นางสาว ปาณิศา พัวเจริญ นิสิตปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

52. นาย กฤษฎา นิตุทอน นิสิตปริญญาตรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

53. นาย ภาณุพงศ์ ชลสวัสดิ์ นักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคม

54. นาย ชนินทร์ อินทร์พิทักษ์ พนักงานบริษัทเอกชน

55. นาย ศรัญย์ เจริญทรัพย์ศุข นักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

56. นาย สรรเพชญ ศรีทอง ครูกวดวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนกวดวิชาสอนเสริมบ้านวิชาการ

57. นาง จันทรทิพย์ สถิรธรรม อาชีพแม่บ้าน

58. นาย นราธิป  ทองถนอม  พนักงานบริษัท

59. นาย ฆนัท นาคถนอมทรัพย์  ธุรกิจส่วนตัว

60. นางสาว มาริษา อังกุลดี นักศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา

61. นาย คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

62. นาย พงษ์ นีติวัฒนพงษ์ นักศึกษา Glasgow University

63. นาย สุพิชญา พรหมบุญ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

64. นางสาว โมกุล มิ่งเมือง นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

65. นาย วรยุทธ มูลเสริฐ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

66. นางสาว ภรณี ทัศนแสงสูรย์  นศ ป โท ม ธรรมศาสตร์

67. นางสาว วราภรณ์ พวงไทย  อาชีพอิสระ

68. นาย กฤช  เหลือลมัย  อาชีพอิสระ

69. นาย ชัยวัฒน์  โกพลรัตน์ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

70. นาย พลนภ กาญจนภานนท์ นักวิจัยอิสระ

71. นางสาว จารุพรรณ นำสุวรรณกิจกุล  ธุรกิจส่วนตัว

72. นาย ณัฐพงศ์ อุดมกัน  ดีไซเนอร์

73. นาย ชัยกร กิติญาณพร สัตวแพทย์ประจำ รพ. สัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

74. นาย ศิลป์ พิมลวัฒนา  สื่อมวลชน

75. นาย สรรเสริญ บุญเกษม นศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

76. นางสาว ธัญธิตา มีสมบูรณ์พูนสุข  พนักงานบริษัท

77. นางสาว ชญานันทร์  มีสมบูรณ์พูนสุข  นักศึกษา

78. ด.ช. สุริยาวิชญ์ มีสมบูรณ์พูนสุข  นักเรียน

79. นาย สิทธิศักดิ์ สาครสินธุ์  กราฟฟิคดีไซเนอร์

80. นาย สุวิจักขณ์ เตชะทัตสกุล  นักศึกษา

81. นางสาว ณดี  ขจรน้ำทรง  นักวิชาการอิสระ

82. นางสาว ศิริรัตน์ สมพงษ์พิพัฒน์  อาชีพแม่บ้าน

83. นาย จรัญ  เจริญทรัพย์สุข  นักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง

84. นางสาว กนกวรรณ  สมพงษ์พิพัฒน์  พนักงานบริษัท

85. นางสาว เต็มนวล ชื่นประโยชน์  ธุรกิจส่วนตัว

86. นาย วีรศักดิ์  เกิดดี  พนักงานบริษัท

87. นางสาว วิราวรรณ  นฤปีติ  นักศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

88. นาย ภาณุพันธุ์ สยังกูล  พนักงานบริษัท

89. นาย ศิริวุฒิ บุญชื่น นศ ปริญญาโท

90. นางสาว นลิตยา ศิริวังชัย  นักเรียน

91. นาย สุขุม ทุ่งหงสา นักเรียน

92. นาย กฤษดา ทองทา นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

93. นาย วาสิทธิ์  อนันตวิเชียร นักศึกษาสาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

94. นาย ภานุพงษ์ ชลสวัสดิ์ นักเรียนโรงเรียนระยองวิทยาคม

95. นาย กีรติ เจียมอัชฌาสัย  ช่างภาพ

96. นาย ฉันทฤทธิ์  วิโรจน์ศิริ สถาปนิก

97. นางสาว ธนาวิ  โชติประดิษฐ์  นักวิชาการอิสระ

98. คุณ อาทิตยา  ศรีพรายพรรณ  ธุรกิจส่วนตัว

99. นาย ชลิตา  พงษ์รูป  พนักงานบริษัท

100. นาย เรวัตร หินอ่อน นักวิชาการอิสระ

101. คุณ ลาวัลย์ แจ้งอัมพร แม่บ้าน

 

ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2558

 

00000

จดหมายเปิดผนึกถึงมหาเถรสมาคม

เรื่อง ปัญหาพระสงฆ์และการดูแลจัดการโบราณสถาน

กราบนมัสการพระคุณเจ้า และคณะสงฆ์

จากกรณีข้อขัดแย้งในการพัฒนาพื้นที่วัดกัลยาณมิตร ทางกลุ่มซึ่งประกอบด้วย นิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีความห่วงกังวลและขอแสดงความคิดเห็น ดังต่อไปนี้

1.  เนื่องจากศาสนสถานยังคงขึ้นกับการบริหารและจัดการโดยคณะสงฆ์ ซึ่งส่วนมากมองศาสนสถานในแง่การใช้สอยเพียงลำพังและขาดความเข้าใจในมิติเชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ของโบราณสถานนั้นๆ ทำให้โบราณสถานในรูปของศาสนสถานส่วนมากถูกปล่อยปละละเลยหรือเปลี่ยนแปลงรื้อถอนโดยขาดการตระหนักรู้ ถือเป็นการทำลายคุณค่าทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาเชิงช่างอย่างร้ายแรง และบ่อยครั้งทำให้เกิดข้อขัดแย้งหลายครั้งทั้งกับกลุ่มชุมชน นักวิชาการ หรือหน่วยงานราชการ

2. ปัญหาจากความขัดแย้งระหว่างวัดกับกรมศิลปากร เนื่องจากขาดการเจรจาหารือร่วมกัน การใช้สอยพื้นที่ของวัดและการพัฒนาอาคารที่มีความเสื่อมโทรมนับเป็นปัจจัยที่สำคัญ เนื่องจากวัดไม่ได้เป็นโบราณสถานที่ถูกทำให้หยุดอยู่กับที่ แต่ยังคงต้องตอบรับวิถีการใช้งานเดิมอยู่ แต่การเปลี่ยนแปลงใดๆควรจะมีหลักการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานองค์ความรู้ที่ถูกต้อง และความเข้าใจร่วมกันเหนือไปกว่าการกำหนดตัดสินโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยขาดการรับฟังความเห็นที่หลากหลาย แตกต่าง

3. ทางวัดยังคงมีทัศนคติต่อการอนุรักษ์และการเก็บรักษาโบราณสถานในเชิงลบและมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน โดยมักมีความเข้าใจว่ากฎเกณฑ์ในการเก็บรักษานั้นถูกกำหนดโดยกรมศิลปากรซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ ไม่ควรที่จะแทรกแซงกิจการทางศาสนา อย่างไรก็ตามกรมศิลปากรเป็นเพียงผู้ดำเนินงานควบคุมและบริหารการอนุรักษ์ซึ่งเป็นการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยสากลที่ประเทศไทยได้ทำการให้สัตยาบันกฎบัตรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานและแหล่งที่ตั้ง(Venice Charter Degree of intervention) ว่าด้วยการส่งเสริมและศึกษาวัฒนธรรมตั้งแต่ปี1964 โดยมีหลักการพื้นฐานมาจากกฎบัตรเอเธนส์ ซึ่งกฎบัตรดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดการอนุรักษ์ จากเดิมที่อนุรักษ์เพื่อประโยชน์ของคนหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นสำคัญมาเป็นการอนุรักษ์เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติเป็นสำคัญโดยไม่แบ่งแยกด้วยคุณค่าทางเชื้อชาติหรือศาสนา

4. วัดส่วนมากในปัจจุบันมีการพัฒนาหรือจัดสรรพื้นโดยไม่ได้เกื้อหนุนต่อชุมชนโดยรอบทั้งในเชิงพาณิชย์หรือสาธารณประโยชน์ ซึ่งในอดีตชุมชนโดยรอบพระอารามถือเป็นส่วนหนึ่งของวัดอย่างแยกขาดไม่ได้  แต่เนื่องจากในปัจจุบันวัดพึ่งพิงการค้าและการท่องเที่ยวจากคนนอกมากขึ้นทำให้หลงลืมความสำคัญของการมีอยู่ของตัวชุมชนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนแยกขาดกัน นำไปสู่ทัศนคติที่มองชุมชนว่าไม่มีความสำคัญ

5. ทางวัดเปลี่ยนแปลงรื้อถอนต่อเติมอาคารโดยขาดความเข้าใจในการออกแบบ โครงสร้างทางวิศวกรรมและลักษณะทางสถาปัตยกรรมก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่นอาคารขาดมาตรฐานทางโครงสร้าง การจัดสรรเรื่องการใช้สอยขาดประสิทธิภาพ   รูปแบบของอาคารผิดกับบริบทโดยรอบและประวัติศาสตร์ของตัววัดเอง

6. ปัญหาการขาดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคารในประเทศไทย โดยเฉพาะกฎหมายควบคุมอาคารประเภทวัด ทำให้ไม่มีการกำหนด ที่จอดรถ ความสูง รูปร่างอาคาร ระยะร่นเช่นเดียวกับ อาคารประเภทอื่น ผลที่ตามมาคือการสร้างหรือต่อเติมที่อิงจากวิจารณญาณส่วนบุคคลที่ไม่มีเกณฑ์หรือข้อกำหนดเป็นพื้นฐานที่ชัดเจน

7.การบริหารศาสนสถานหรือพื้นที่วัฒนธรรมควรจะเป็นไปภายใต้หลัก “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญในสังคมโลกาภิวัฒน์ปัจจุบัน

การพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าวควรจะเกิดจากกระบวนการคิดและจัดสรรทรัพยาการที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  การปลูกสร้างสิ่งใหม่โดยขาดกระบวนการคิดอย่างรอบด้านจึงเป็นเพียงการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน

จึงเรียนมาเพื่อแสดงความห่วงใย เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนร่วมกัน

ลงชื่อ

นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายคงสัจจา สุวรรณเพชร

นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

นายพัชรพงศ์ กุลกาญจนาชีวิน

นายภูมิภัทร เมฆมัลลิกา

นายจิรัฎฐ์ภณ เฉลิมวงศาเวช

นายณัฐวัฒน์ คำรนฤทธิศร

นายภาคภูมิ ดิลกวัฒนสุนทร

นางสาวนวพร บรรจงเกลี้ยง

นางสาวทวีวรรณ เปลี่ยนม่วง

นายศุภเจต เอกเอื้อมณี

นางสาวโยษิตา ไชยคง

นางสาววิจิตรา ยังมี

นางสาวชมพูนุท โลหะเจริญสุข

นางสาวปทิตตา คุณากูรหรรษา

นางสาวธนาภา กิตติธนาลักษณ์

นางสาวสิดาพร อนันตศิริรัตน์

นายธนวิชญ์ นนทะแก้ว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net