Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

หนังสือพิมพ์ข่าวสดภาคภาษาอังกฤษได้รายงานข่าวเกี่ยวกับ พล.อ. ประยุทธ์ จันโอชา ได้ให้โอวาทกับกลุ่มนักเรียนไทยที่เติบโตในต่างประเทศ ถึงเรื่องความสำคัญถึงการให้ความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ ผู้ซึ่งเป็นเทวดา หรือ แนวคิดแบบสมมติเทพ หรือ “กึ่งเทวดากึ่งกษัตริย์” ซึ่งได้รับเอาความเชื่อแบบลัทธิฮินดูที่มีความคล้ายคลึงกับแนวคิดของญี่ปุ่นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ว่า “พระราชาคือพระเจ้า” ที่จักรพรรดิญี่ปุ่นมีเชื้อสายมาจากพระเจ้า

ในวัฒนธรรมตะวันตก ก็มีประเพณีเทพจักรพรรดิโรมันที่พระจักรพรรดิเทพมีบทบาทเป็นผู้บัญญัติกฎหมายควบคุมเหนือการบริหารราชการแผ่นดิน และพระสันตประปาเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และสังคมกรีกโบราณก็มีผู้คนมากมายทั้งปัจเจกบุคลและผู้คนหลากหลายที่อ้างว่าตนเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้า ตัวอย่างเช่น เฮอคิวริส เป็นต้น แนวคิดเรื่องสมมติเทพของยุคโบราณ ได้รับการนำกลับมาทบทวนอีกครั้งในยุคสมัยใหม่ และก็ได้รับการเผยแพร่ไปทั้งในตะวันตกและตะวันออก

อันที่จริงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้สร้างความแปลกใจอะไร และความพยายามที่จะอธิบายเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อแบบศาสนาพุทธและฮินดูให้แก่นักเรียนฟัง อาจจะทำให้เราเห็นถึงประเด็นที่รัฐบาลทหารเป็นเจ้าของเหตุผลภายในที่สำคัญในการเผชิญกับ “อิทธิพลจากต่างประเทศ” ทั้งที่มีต่อ 14 นักศึกษากลุ่มเคลื่อนไหวประชาธิปไตยใหม่ที่ปัจจุบันกำลังถูกตรวจสอบโดยหน่วยงานความมั่นคงของรัฐ หรือรัฐบาลกำลังเผชิญกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษาไทยในต่างประเทศทั่วโลกที่สนับสนุน 14 นักศึกษา

สิ่งที่เป็นอุปสรรคมากกว่าคือ ประเทศไทย[i] จะพัฒนาเครื่องมือทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพอย่างไรในการติดตามและควบคุมลักษณะทางกายภาพและจิตใจของนักเรียน ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการของสหประชาชาติในเรื่องการสอดการกีดกันทางเชื้อชาติ เช่นเดียวกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพิ่งจะประณามการกระทำที่ไร้เหตุผล คือ ตรวจเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากกว่า 40,000 คน รวมทั้งจากนักเรียนมัธยมปลายด้วย จากการรายงานข่าวของสำนักข่าวรอยเตอร์

อีกลักษณะของความเป็นรัฐตำรวจ คือ การเปลี่ยนคำนิยามของคำว่าพลเมืองให้กลายเป็นแหล่งข่าว ระบบนี้ดังกระฉ่อนโดย หน่วยงานความมั่นคง สตาซี่ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเด็กนักเรียนถูกใช้โดยระบบนี้ ผลลัพธ์ที่ออกมาจึงเลวร้ายยิ่งกว่า ปี 2557 สหรัฐได้รายงานเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย บันทึกไว้ว่า  22 มิ.ย. 2557 รัฐบาลทหารมีแคมเปญให้คนไทยให้ข้อมูลของบุคคลผู้ต้องสงสัย โดยเฉพาะ ถ่ายภาพคนที่ประท้วงและผู้ร่วมกิจกรรมประท้วงคัดค้านการรัฐประหาร แล้วส่งภาพถ่ายพร้อมกับหมายเลขบัญชีธนาคารให้กับหน่วยรัฐที่รับผิดชอบ เพื่อรับรางวัล 500 บาท และก็ไม่มีข้อแตกต่างระหว่างภาพถ่ายที่ได้จากเด็กและผู้ใหญ่

อุปกรณ์อีเลคทรอนิคที่รัฐตำรวจใช้กับกลุ่มเป้าหมายเด็กทำให้เป็นเรื่องฉุกเฉินด้วย 19 มิ.ย. 2557 รายงานของสหรัฐอเมริการะบุว่า เครือข่ายไทย เนทติเซนต์ เน็ทเวิร์ค (Thai Netizen Network) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำงานประเด็นสิทธิทางดิจิทอล ที่มีสำนักงานในกรุงเทพรายงานเกี่ยวกับใบสมัครปลอมของเฟสบุคที่พยายามดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ให้ล็อกอินเข้าสู่เว็บไซท์ผ่านเฟสบุค การสมัครนี้ได้นำข้อมูลของผู้ใช้ส่งไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และกองบังคับการฯก็จะตรวจสอบการใช้งานของผู้ใช้และสร้างเป็นเครือข่ายพยานเพิ่มขึ้น ฉะนั้น การฟ้องร้องดำเนินคดีจึงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และก็จะทำให้สังคมออนไลน์ “สะอาด” ขึ้น ใบสมัครดังกล่าวไม่ได้แยกเด็กและผู้ใหญ่

ความน่ากังวลมากกว่านั้น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2557 กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร ได้ประกาศแผนลงบันทึกความเข้าใจกับโรงเรียน 200 แห่ง ที่จะตั้งโปรแกรม “ลูกเสือไซเบอร์” เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนติดตามเว็บไซท์ทางอินเตอร์เน็ต นี่รวมถึงสื่อสังคมของเพื่อนๆของพวกเขาด้วย เพื่อจับตาดูการกระทำที่ “ผิดกฎหมายและศีลธรรม” การติดตามพฤติกรรมของเด็ก เพื่อควบคุมกระบวนการทางความคิดถือว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย จากการเสวนาในเวทีผู้หญิงไทยเสวนา ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียนบางโรงเรียนมีระบบการติดตามการแต่งกายและความประพฤติของนักเรียนทั้งในและนอกโรงเรียน กฎระเบียบที่เคร่งครัดและระบบที่บกพร่อง ฝ่ายกิจกรรมโรงเรียน (ฝ่ายแจ้งข่าวในระดับโรงเรียน ตั้งโดย นักเรียน) และฝ่ายนักสืบอาสาสมัครนักเรียน เพื่อติดตามทั้งทางพฤติกรรมของเวบไซท์โรงเรียนและสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลให้เกิดผลกระทบรบกวนเมื่อนำมาใช้ในการควบคุมแนวคิด “ทางการเมือง” ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน[ii]

ลักษณะอื่นของรัฐตำรวจ คือ การสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย อธิบายไม่ได้ อ้างอิงข้อมูลจากคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (The Committee of the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights - ICESCR) มีผู้สูญหายทั้งหมด 81 ราย ตั้งแต่กกลางทศวรรษที่ 20  ผลกระทบจากการหายสาบสูญต่อเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีการหายสาบสูญของสมาชิก ได้ถูกรวบรวมไว้โดยองค์กรต่างๆ เช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล และฮิวแมน ไรท์ส วอทซ์   

ยิ่งกว่านั้น เงื่อนไขต่างๆเกี่ยวกับการจำคุกและศูนย์กักกันสำหรับทั้งผู้ใหญ่และเด็กก็อยู่ในระดับที่แย่มาก รายงานด้านสิทธิมนุษยชนของสหรัฐอเมริกา ปี 2557 บันทึกไว้ว่า ศูนย์ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยมีสภาพที่น่าสงสารมากทั้งต่อตัวผู้อพยพที่เป็นผู้ใหญ่และเด็กๆด้วย การบังคับใช้แรงงาน การขาดสารอาหาร และไม่มีโอกาสได้ออกกำลังกาย ส่งผลกระทบต่อทั้งทางสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก

ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาความก้าวหน้าของรัฐตำรวจโดยใช้ระบบอีเลคทรอนิคในการควบคุม ตรวจตรา และมีศักยภาพสูงโดยเฉพาะกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจจะไม่ได้ตระหนักว่า การทำเช่นนี้เป็นการละเมิดสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยได้ร่วมเซ็นในหลายกรณี เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (The Convention on the Rights of the Child)  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (The International Covenant on Civil and Political Rights) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (The International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination)

นั่นทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่คาดไม่ถึงในการเป็นรัฐตำรวจที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบวกกับระดับของความไม่สงบ รัฐตำรวจแบบเข้มข้นสูงแบบนี้เป็นลักษณะพื้นฐานของระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ และส่วนใหญ่ก็เป็นผู้นำเผด็จการ งานเขียนของจอร์จ โอเวล (George Orwell) ชื่อ 1984 ได้อธิบายเกี่ยวกับรัฐตำรวจแบบนี้ไว้ในลักษณะเหน็บแนมว่า รัฐบาลทหารได้เอาผิดกับผู้ที่อ่านหนังสือ 1984 ในที่สาธารณะ ซึ่งนั่นเป็นการเรียกความสนใจให้กับประเด็นนี้

มากกว่านั้น พล.อ.ประยุทธ์ได้แนะนำเรื่องค่านิยม 12 ประการให้กับสังคมไทย และกฎหมายพิเศษพุทธรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่สร้างอุดมการณ์แบบองค์รวมเพื่อสร้างความสามัคคีให้กับประเทศไทย ที่สำคัญ คุณสมบัติ 3 ประการ ที่เน้นย้ำและสนับสนุนบทบาทของสถาบันกษัตริย์ โชคร้ายที่คุณค่าเหล่านี้ได้กลายเป็นสโลแกนที่ให้นักเรียนในโรงเรียนทั่วประเทศท่องให้ขึ้นใจ ร้องเป็นเพลงบังคับหรือใช้ตัดเกรดในวิชาเรียน และข้อสอบอย่างเป็นทางการที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ข้อกังวลคือมันเป็นวิสัยทัศน์จากข้อบังคับของรัฐยูโทเปียที่ปรับให้ง่ายต่อการใช้โฆษณาชวนเชื่อ และควรจะชี้ให้เห็นด้วยว่า การโฆษณาชวนเชื่อนั้นจะมีผลต่อเด็กมากที่สุด คุณค่า 12 ประการสืบทอดมาจากการผสมผสานระหว่างลัทธิชาตินิยมและศีลของศาสนาพุทธ ซึ่งจะเหมาะกับบริบทของประเทศที่เป็นระบบการปกครองแบบพุทธกษัตริย์ที่สามารถใส่แนวคิดแบบนี้เข้าไปในระบบการท่องจำและการใช้ชีวิตของคนโดยใช้ระบบกฎหมายบังคับ ในบริบทโรงเรียนควรจะสนับสนุนทั้งทางการคิดวิเคราะห์และการคิดแนวขวาง (Critical and Lateral Thinking) บทบาทที่ดีที่สุดสำหรับคุณค่า 12 ประการควรจะเป็นการทดลองทางความคิดในวิชาปรัชญาไม่ใช่มโนคติวิทยาเข้มข้น  (Rigid Ideology)

ประเด็นที่นักเรียนไทยไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ของการโฆษณาชวนเชื่อและระบอบฟาสซิสต์และแม้กระทั่งการเข้าร่วมในกิจกรรมการสรรเสริญฮิตเลอร์ บวกกับการขาดความเข้าใจในประวัติศาสตร์โลก ได้ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การขาดวิสัยทัศน์ เมื่อบวกกับอุดมการณ์รัฐแบบกึ่งจักรพรรดิและความก้าวหน้าในการควบคุมตรวจตรา โดยเพิ่มขึ้นในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก ได้สร้างเงื่อนไขให้ประเทศไทยพัฒนาเป็นรัฐตำรวจที่มีความก้าวหน้าสูงภายใต้โครงสร้างส่วนบนของระบบกึ่งจักรพรรดิที่มีรากเหง้ามาจากฮินดู และอิทธิพลที่ยิ่งใหญ่จากระบอบจักรวรรษนิยมอังกฤษและญี่ปุ่น[iii]

หลายคนได้เรียกร้องให้มีการศึกษาเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เปิดสอนในระบบโรงเรียนของไทย เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์โลกในระบบการศึกษาไทย เพื่อให้การศึกษากับผู้ที่ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้  อย่างไรก็ตาม มันอาจจะเป็นไปได้ที่จะมีความต้องการให้การศึกษากับเยาวชนไทยที่ชัดเจนเกี่ยวกับกับดักของจักรวรรษนิยมอังกฤษและญี่ปุ่น[iv] ได้สร้างอิทธิพลต่อการนำการพัฒนาสยามเข้าสู่ระบอบที่คล้ายคลึงกึ่งจักรวรรดินิยมประเทศไทย เช่นเดียวกับรัฐตำรวจแบบเข้มข้นสูงภายใต้นาซีหรือระบบสตาซีที่ถูกพัฒนาขึ้น ถ้าจะพูดให้ถึงที่สุด ประเทศไทยจำเป็นต้องมีความชัดเจนอย่างยิ่งในเรื่องการตระหนักเกี่ยวกับการปฏิบัติการของรัฐตำรวจก้าวหน้าสูงต่อเด็ก ก่อนที่ความคิดความเชื่อของประเทศในเรื่องนี้จะก้าวจากสื่อทางเลือกและกลายเป็นความคิดเห็นกระแสหลัก

 


[i] อธิปไตยทางวัฒนธรรม อ้างอิงจาก ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ (Contact Theory)

[ii] ดูเพิ่มเติม Kangwan Fongkaew. “Beware of the Giant Monster and its Minions: How Schoolgirls Negotiate Sexual Subjectivities in a Conservative School Climate in Chiang Mai, Northern Thailand”. Journal of Population and Social Studies 22, no. 2 (2014): 114–127.

[iii] โดยเฉพาะผ่านผลกระทบหลักต่อจิตวิทยาของชาติไทย หรือ ‘เหตุการณ์ที่มากเกินความจำเป็น - Excession Events’.

[iv]ทั้งสองจาก ‘Outside Context Problems’.

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net