Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

การวิเคราะห์นี้ ใช้ข้อมูลจากคอลัมน์ บิสิเนส อินไซเดอร์ เมื่อต้นปีเกี่ยวกับการเตรียมการสำหรับการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ ที่ 2 แห่งอังกฤษ (พระราชินีของผม เพราะผมป็นคนอังกฤษ) แน่นอนมันไม่เหมาะที่มาถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับความตายของใครคนใดคนหนึ่งที่กำลังจะมาถึงในสังคมอารยชน แต่กรณีของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยในประเทศตะวันตกที่มีความก้าวหน้าได้นำเสนอกรณีนี้เป็นพิเศษ จะถือว่าเป็นการละเลยทั้งภายในพระราชวังและในสังคมโดยทั่วไป ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการสูญเสียในครั้งนี้ เพราะฉะนั้นแล้ว นี่จึงมีการคาดเดาอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในสื่อต่างๆ

เนื้อหาในคอลัมน์ได้ชี้ให้เห็นว่าการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินี จะเป็นเหตุการณ์ที่ยุ่งยากมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์อังกฤษในช่วง 70 ปีที่ผ่าน เนื่องมาจากพระราชินีทรงมีพระชนมายุที่ยาวนานและมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น การเสด็จสวรรคตของพระราชินีจะจึงส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวอังกฤษอย่างแน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว มันก็ขึ้นอยู่กับว่าพระราชินีสิ้นพระชนม์อย่างไร ถ้าเป็นการสิ้นประชนม์จากการทรงประชวรมาเป็นระยะเวลานาน การเตรียมการก็จะมีพร้อมสูงกว่า และสร้างการผลสะเทือนน้อยกว่า สถานีข่าวจะต้องเตรียมความพร้อมและการสื่อสารกับประชาชนจะต้องเรียบเนียน แต่ถ้าสมเด็จพระราชินีสิ้นประชนม์อย่างกะทันหัน หรือในสถานที่สาธารณะ เราอาจคาดหวังที่จะเห็นการแสดงออกด้านอารมณ์ ความรู้สึกของประชาชนมากกว่าเหตุการณ์ปกติ ดังเช่นที่มีการนำเสนอข่าวแบบที่เรียกว่าฝุ่นตลบ

อย่างไรก็ตาม ในทั้งสองกรณี ผลกระทบหลักอย่างแรก คือ ช่องสื่อทีวีของรัฐ (ช่องบีบีซี) จะได้รับคำสั่งจากกรมวัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา จะต้องปรับผังรายการให้เป็นการฟีดข่าวเดี่ยว โดยบีบีซี และกำกับผ่านทางบีบีซี 1 ส่วนช่องโฆษณาก็ให้เปลี่ยนให้เปลี่ยนไปเป็นฟีดข่าวนี้เช่นกัน รายการปกติจะต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นการรายงานข่าวการสิ้นประชนม์อย่างน้อย 1 วัน สำหรับรายการช่วงเช้า ที่เป็นรายการตลกบันเทิงจะต้องยกเลิกทั้งหมด จะแทนที่ด้วยรายการที่เป็นสารคดีเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระราชินีให้ผู้ชมได้ชม ภายในระยะเวลา 2-3 เดือนหลังการเสด็จสวรรคต ทุกคนในเครือจักรภพอังกฤษจะยังคงติดตามข่าวสาร และอาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผูกพันใกล้ชิดจักรวรรดิอังกฤษอันเก่าแก่นี้มากขึ้น

ผลกระทบที่สอง คือ สภาพจิตใจของประชาชน มันเป็นที่คาดว่าจะมีผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรงต่อประชาชน ตัวอย่างเช่น หน้าที่ทางสังคมต่างที่เป็นปกติมากที่สุด รวมทั้งที่สถานทูตอังกฤษจะถูกยกเลิก จากนั้น ตามที่บิสิเนส อินไซเดอร์ ได้นำเสนอ " มันจะเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่มาก ความเศร้าโศกของปวงประชาราษฎรจะควบคุมไม่ได้ มันจะไม่ใช่เพียงแค่การแต่งชุดดำและความเงียบชั่วขณะในเกมกีฬาเท่านั้น แต่มันจะเป็นเหมือนกับการโดนกระแทกเข้ากับจิตในของประชาชนทั้งประเทศ เหมือนเมื่อตอนที่เจ้าหญิงไดอาน่าสิ้นพระชนม์ ประชาชนได้แสดงออกถึงความเศร้าโศกเสียใจด้วยการวางดอกไม้ไว้นอกรั้วของพระราชวังบัคกิ้งแฮมเป็นแสนช่อ มีบางคนประมาณการว่ามีมากถึงล้านช่อ"

ทันทีที่ข่าวการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอาน่า คอลัมน์ได้รายงานว่า คนอังกฤษร้องไห้อย่างบ้าคลั่ง ออกมาเดินบนท้องถนนจนทำให้เกิดปัญหาจราจร เป็นที่รู้จักกันว่า คนอังกฤษนั้น จะไม่ค่อยแสดงอารมณ์ และอดทนต่อสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ว่าคอลัมน์ไม่ได้แสดงความคิดเห็นต่อจำนวนของผู้คนที่เกิดความผันผวนทางจิตและการฆ่าตัวตายว่าเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าใดหลังการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอาน่า  ที่เรียกว่า ผลกระทบไดอาน่า หลายคนที่ผ่านประสบการณ์ผลกระทบไดอาน่า จะปรับตัวปรับใจได้ดีกว่าในสถานการณ์เดียวกัน เหมือนกับว่าปัญหาของพวกเขาได้ถูกฝังลงดินพร้อมกับร่างของเธอ อย่างไรก็ตาม จำนวนของการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์อาจจะลดลง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะนี่เป็นสาเหตุการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอาน่า การส่งผลกระทบที่ซับซ้อนเหล่านี้ ดูเหมือนว่า เมื่อสมเด็จพระราชินีเสด็จสวรรคต หน่วยบริการด้านสุขภาพแห่งชาติจะต้องถูกใส่เข้าไปเป็นหนึ่งในขั้นตอนการเตรียมการสำหรับการเพิ่มจำนวนขึ้นประชาชนชาวอังกฤษที่ความต้องการการดูแลด้านสุขภาพจิตหลังเหตุการณ์เสด็จสวรรคต

ผลกระทบที่สาม คือ การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีจะต้องมีการทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าชาวอังกฤษจะรับรู้เรื่องความสัมพันธ์ที่มีมาก่อนแต่งงานระหว่างเจ้าฟ้าชายชาร์ลกับนางคาเมลล่า ปาร์คเกอร์ โบว์ลส์ (ซึ่งตอนนี้ คือ ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์) บวกกับประเพณีที่เข้มแข็งของอังกฤษเกี่ยวกับการนอกใจภรรยา ทำให้สื่ออังกฤษมีการคาดการณ์ได้อย่างเปิดเผยเกี่ยวกับการสืบทอดราชบรรลังค์ข้ามรุ่น แต่เมื่อเจ้าชายวิลเลี่ยมได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าแนวคิดนี้จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น หลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระราชินี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ก็จะได้เป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ของอังกฤษ และถึงแม้จะไม่ใช่กษัตริย์นักปกครอง แต่ในขณะที่ธงยูเนี่ยนแจ็คซึ่งเป็นธงสหราชอาณาจักรจะลดลงครึ่งเสา ธงพระราชวงศ์จะไม่ได้ลดลง

ผลกระทบที่สี่ คือ การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจด้วย ประการแรก เป็นเวลาอย่างน้อย 12 วันนับจากวันสวรรคตจนกระทั่งถึงวันงานพระบรมศพของพระองค์ ทั้งประเทศจะหยุดทุกกิจกรรมเพื่อเป็นการไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ตลาดหุ้นและธนาคารจะปิด ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทั้งในงานพระบรมศพและงานพิธีบรมราชาภิเษกจะเสียค่าใช้จ่ายเป็นล้านปอนด์ ถึงแม้ว่าคิดในภาพรวม จะเป็นเพียงค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย หากคิดจากผลรวมของผู้คนนับล้านที่จะหยุดการทำงานแบบไม่เป็นทางการ หรือในช่วงวันหยุดของรัฐ ซึ่งคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายเป็นพันล้านปอนด์ พิธีบรมราชาภิเษกที่ตามมาของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ ซึ่งอาจจะล่าช้าไปเป็นปี เนื่องจากการไว้ทุกข์อย่างเป็นทางการสำหรับการเสด็จสวรรคตของพระราชินี จะยังคงมีแนวโน้มที่เป็นไปได้ว่า นี่คือค่าใช้จ่ายโดยตรงที่รัฐจะต้องจ่ายเป็นล้านปอนด์ และในภาคเศรษฐกิจเป็นพันล้านปอนด์ ถ้าหากรัฐประกาศให้เป็นวันหยุดประจำชาติ

อาจมีผลในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจจากเหตุการณ์สวรรคต คอลัมน์นี้ชี้ให้เห็นว่า เราสามารถคาดหวังว่าอย่างน้อยจะมีบรมรูปของสมเด็จพระราชินีถูกสร้างไว้ที่จัตุรัสทราฟาลก้า และสถานที่ฝังพระศพอาจจะกลายเป็นจุดสำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวในการแวะเยี่ยมชม แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า พระศพของสมเด็จพระราชินีจะถูกฝังไว้ที่หน ซึ่งพระองค์อาจจะเลือกระหว่างสถานที่ที่ทรัพย์สินส่วนพระองค์ เช่น ปราสาทบอลมอรอล (Balmoral Castle) หรือในสถานที่สาธารณะ เช่น ที่โบสถ์เซนต์จอร์จ ที่วินด์เซอร์ (St. George's Chapel at Windsor) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ฝังพระบรมศพของกษัตริย์จอร์จ ที่ 6 ซึ่งเป็นพระบิดาของพระองค์

นอกจากนี้ จะมีสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ จำนวนมาก แต่มีความสำคัญสูงมากในเชิงสัญลักษณ์ที่จะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง เช่น รูปแบบธนบัตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงรูปพระฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ในสถานที่ราชการทุกหน่วยงาน สุดท้ายก็ขึ้นอยู่ความนิยมที่เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ได้รับการยอมรับให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ระดับของสาธารณรัฐนิยมในสหราชอาณาจักรอาจมีการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันในประเทศที่มีผู้รักชาติสูงนี้ ประมาณ 66 เปอร์เซนต์ ของคนอังกฤษสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มีเพียง 17 เปอร์เซนต์ เป็นผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net