Skip to main content
sharethis

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนลงทุนคมนาคม งบปี'58-สร้างรถไฟทางคู่ ราง 1 เมตร 6 สายรวม 903 กม.-ทำ EIA รางมาตรฐาน 1.435 เมตร กทม.-โคราช-มาบตาพุด, กทม.-ระยอง, โคราช-หนองคาย รวม 1,060 กม.-สร้างรถไฟฟ้า 4 สาย ประกวดราคา 7 สาย-ศึกษาเส้นทาง 1 สาย - มอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด ขยายถนน 4 เลน 5 สาย-ทางหลวงระหว่างประเทศ 4 สาย ฯลฯ

สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ เป็นสถานีชุมทางของรถไฟสายใต้ สายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ (แฟ้มภาพ/ประชาไท)

 

22 .. 2557 - ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประจำวันที่ 21 .. 2557 ครม. มีการเสนอแผนการดำเนินงานรถไฟทางคู่ ประจำปีงบประมาณ พ.. 2558 และ แผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ปี .. 2558 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ในเรื่อง แผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ปีงบประมาณ .. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ตามที่กระทรวงคมนาคม (กระทรวงคมนาคม) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการประเมินสถานการณ์ด้านคมนาคมขนส่งในปัจจุบันแล้วพบว่า ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องพัฒนาโครงข่ายคมนาคม เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้าชายแดน และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กระทรวงคมนาคม จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ซึ่งมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 เป้าหมาย ประกอบด้วย 1) เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม 2) เสริมสร้างรากฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 3) เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัย และ 4) สร้างโอกาสสำหรับการแข่งขันและให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1) การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2) การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน 4) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ 5) การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ

2. กระทรวงคมนาคม ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดเพื่อแก้ไข

ปัญหาด้านการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ระหว่างวันที่ 27 กันยายน – 11 ตุลาคม 2557 โดยได้จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการ (Action Plan) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางรถไฟประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ซึ่งสถานะในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.00 เมตร และรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร มีดังนี้

2.1 สถานะรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.00 เมตร (Meter Gauge) ในปัจจุบัน

ปัจจุบันประเทศไทยมีโครงข่ายทางรถไฟระยะทาง 4,043 กิโลเมตร ให้บริการครอบคลุมเพียง 47 จังหวัด ประกอบด้วย ทางเดี่ยว ระยะทาง 3,685 กิโลเมตร หรือร้อยละ 91.1 ทาง สามระยะทาง 107 กิโลเมตร หรือร้อยละ 2.7 (ช่วงรังสิต-ชุมทางบ้านภาชี) ระยะทาง 61 กิโลเมตร และช่วงหัวหมาก – ฉะเชิงเทรา ระยะทาง 46 กิโลเมตร) ที่เหลือเป็นทางคู่ระยะทาง 251 กิโลเมตร หรือร้อยละ 6.2 ประกอบด้วย

2.2 แผนการดำเนินการในปีงบประมาณ 2558 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ

2.2.1 โครงการที่พร้อมดำเนินการก่อสร้าง 1 โครงการ คือ โครงการ

รถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างประกวดราคา [ได้รับความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้ว]

2.2.2 โครงการที่อยู่ระหว่างนำเสนอขออนุมัติโครงการ [ได้รับความเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และร่างพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินแล้ว] จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น - ระยะทาง 185 กิโลเมตร อยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติโครงการคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในไตรมาสที่ 1 และประกวดราคาได้ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

2. โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร เตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการในไตรมาสที่ 2 และประกวดราคาได้ ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

2.2.3 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ พิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านคมนาคมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือโครงการร่วมกับเอกชน ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

1. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร
2. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร
3. ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

โดยคาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จประมาณปลายปี 2557 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการเพื่อการประกวดราคาต่อไป ทั้งนี้ ภายหลังดำเนินโครงการรถไฟทางคู่แล้วเสร็จ จำนวน 6 เส้นทางดังกล่าว จะทำให้มีโครงข่ายรถไฟทางคู่เพิ่มขึ้นระยะทาง 903 กิโลเมตร อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาการเดินรถที่คับคั่งและรองรับการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ของประเทศ ลดระยะเวลาการเดินทาง ลดอุบัติเหตุ เพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มคุณภาพชีวิตในการเดินทางของประชาชนทั่วประเทศ

2.2.4 ดำเนินการศึกษาและออกแบบรายละเอียดในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 8 เส้นทางได้แก่

1. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ 90
2. ปากน้ำโพ-เด่นชัย 285
3. ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี 309
4. ขอนแก่น-หนองคาย 174
5. ชุมพร-สุราษฎร์ธานี 167
6. สุราษฎร์ธานี-สงขลา 339
7. หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ 45
8. เด่นชัย-เชียงใหม่ 217

โดยเส้นทางทั้งหมดอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คาดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จประมาณปลายปี พ.ศ. 2558 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการเพื่อการประกวดราคาต่อไป

2.3 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge)

2.3.1 สถานะรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) ในปัจจุบันยังไม่มีโครงข่ายทางรถไฟขนาดทางมาตรฐาน

2.3.2 แผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1.435 เมตร

กระทรวงคมนคม ได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลตามกรอบยุทธศาสตร์ฯ ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ ขนาดทางมาตรฐาน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-ท่าเรือแหลมฉบัง ดังนี้

1. ช่วงกรุงเทพฯ นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด ระยะทาง 512 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเตรียมการศึกษาทบทวนปรับแบบกรอบรายละเอียด รวมทั้งเสนอขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน

2. ช่วงกรุงเทพฯ –ระยอง ระยะทาง 193 กิโลเมตร ได้ศึกษาและออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างดำเนินการขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3. ช่วงนครราชสีมา- หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร อยู่ระหว่างศึกษา ออกแบบกรอบรายละเอียด รวมทั้งเสนอขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินการ 14 เดือน

ทั้งนี้ เมื่อการศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียดแล้วเสร็จ ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปสู่การขออนุมัติโครงการและก่อสร้าง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2562 – 2563 ตามลำดับ จะทำให้ประเทศไทยมีโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ระยะทาง 1,060 กิโลเมตร

2.4 ภาพรวมการพัฒนารถไฟทั้งระบบ

เมื่อดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 แล้วเสร็จ จะทำให้โครงข่ายทางรถไฟทางคู่ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีระยะทางเพียง 251 กิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็นระยะทาง 3,589 กิโลเมตร

000

ส่วนเรื่องแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ปี .. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่ง ปี พ.ศ. 2558 ตามที่ กระทรวงคมนาคม เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

1. กระทรวงคมนาคม ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งทางบกทางน้ำ และทางอากาศ ระหว่างวันที่ 27 กันยายน-11 ตุลาคม 2557 และได้จัดทำ สรุปแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญในปี พ.ศ. 2558 อันจะแสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศในภาพรวม โดยสรุปได้ ดังนี้

1.1 การพัฒนารถไฟทางคู่

กระทรวงคมนาคมโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เตรียมการสำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร และขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทั้งในเรื่องการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด การประกวดราคา การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการก่อสร้าง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1.1. รถไฟทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร (Meter Gauge)

(1) ประกวดราคา 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร

(2) รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

(3) ศึกษาออกแบบรายละเอียด 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลเมตร ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร สุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กิโลเมตร หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร และเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร

1.1.2 การพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) ได้ดำเนินการศึกษาทบทวน ออกแบบกรอบรายละเอียด และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ประกอบด้วย

(1) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด ศึกษาทบทวน ปรับแบบกรอบรายละเอียด รวมทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาดำเนินการ 12 เดือน

(2) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ระยะทาง 193 กิโลเมตร

(3) เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียด ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 14 เดือน

1.2 การพัฒนารถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

1.2.1 เร่งรัดก่อสร้าง 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง (1) รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร (2) รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ- ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร (3) รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.80 กิโลเมตร และ (4) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร

1.2.2 ประกวดราคา 1 เส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต –สะพานใหม่ – คูคต ระยะทาง 18.40 กิโลเมตร

1.2.3 โครงการและเตรียมการประกวดราคา 6 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง (1) รถไฟฟ้าสาย สีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร (2) รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (3) รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร (4) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงดอนเมือง – บางซื่อ – พญาไท ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร (5) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง ระยะทาง 25.5 กิโลเมตร และ (6) รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต – มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร

1.2.4 ศึกษาออกแบบรายละเอียด 1 เส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 8 กิโลเมตร

1.3 การพัฒนาทางหลวงสายหลัก

1.3.1 จัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) สายพัทยามาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร ซึ่งได้รับงบประมาณปี 2558

1.3.2 เร่งรัดก่อสร้างขยายทางหลวง 4 ช่องจราจร ประกอบด้วย 5 เส้นทางสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558 ได้แก่ เส้นทาง (1) ทล.304 อำเภอกบินทร์บุรี – อำเภอวังน้ำเขียว ตอน 3 ระยะทาง 15.51 กิโลเมตร (2) ทล.304 กบินทร์บุรี – อำเภอปักธงชัย (ทางเชื่อมผืนป่า) ระยะทาง 3 กิโลเมตร (3) ทล.4 กระบี่ – อำเภอห้วยยอด ระยะทาง 16.45 กิโลเมตร (4) ทล.3138 อำเภอบ้านบึง – อำเภอบ้านค่าย ตอน 3 ระยะทาง 18.23 กิโลเมตร และ (5) ทล.314 อำเภอบางปะกง – ฉะเชิงเทรา ตอน 2 ระยะทาง 3.25 กิโลเมตร

1.3.3 ก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 4 เส้นทางสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558 ได้แก่ เส้นทาง (1) ทล.212 อำเภอโพนพิสัย – บึงกาฬ ตอน 1 ระยะทาง 30 กิโลเมตร (2) ทล.12 ตาก – แม่สอด ตอน 3 ระยะทาง 25.50 กิโลเมตร (3) ทล.12 กาฬสินธุ์ – อำเภอสมเด็จ ตอน 2 ระยะทาง 11.00 กิโลเมตร และ (4) ทล. 3 ตราด – หาดเล็ก ตอน 2 จังหวัดตราด ระยะทาง 35 กิโลเมตร

1.4 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ

1.4.1 เสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติโครงการ 2 โครงการ ได้แก่ (1) การก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง และ (2) การก่อสร้างศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (SRTO) (ระยะที่ 1)

1.4.2 ดำเนินการก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเรือเดิน (ระยะที่ 1) ในแม่น้ำป่าสัก

1.5 การเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศ

1.5.1 ทบทวน สำรวจ ออกแบบ และก่อสร้าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

(1) ทางวิ่งสำรองด้านทิศตะวันตก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จะดำเนินการสำรวจ ออกแบบเพื่อรองรับการขึ้น – ลงของอากาศยานในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือทางวิ่งเส้นที่ 1 หรือเส้นที่ 2 ปิดทำการซ่อมบำรุง

(2) งานระบบพื้นที่ปฏิบัติการด้านการบิน (Airside) จะดำเนินการทบทวนวงเงินงบประมาณให้มีความเหมาะสม ตามความจำเป็นต่อการใช้งาน โดยคาดว่าจะสามารถก่อสร้างได้ภายในปี 2558

(3) งานอาคารที่พักผู้โดยสารอเนกประสงค์ (Multi – Terminal) ด้านทิศเหนือ พร้อมสะพานเทียบเครื่องบิน ลานจอดอากาศยาน ระบบขนส่งผู้โดยสารเพื่อเชื่อมกับอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal) รวมทั้งที่จอดรถยนต์ ทั้งนี้ เป็นการก่อสร้างเพื่อทดแทนการขยายอาคารผู้โดยสารหลัก ไม่ให้กระทบต่อการบริการประชาชน

(4) งานระบบสาธารณูปโภค (ระบบไฟฟ้า ประปา และระบบบำบัดน้ำเสีย) จะดำเนินการทบทวนวงเงินงบประมาณให้มีความเหมาะสมตามความจำเป็นต่อการใช้งาน เพื่อเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558

1.5.2 ดำเนินการก่อสร้างขยายท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อรองรับผู้โดยสารจาก 8 ล้านคน เป็น 12.5 ล้านคนต่อปี และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ผู้โดยสาร

1.5.3 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา กระทรวงคมนาคม ได้จัดให้มีคณะทำงานโดยมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [สนข. กรมการบินพลเรือน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด และ รฟท.] เป็นคณะทำงาน โดยคณะทำงานได้หารือร่วมกับกองทัพเรือในการเตรียมการวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้เป็นท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 3 เพื่อรองรับการขนส่งสินค้า ผู้โดยสาร รวมทั้งวางแผนการเชื่อมโยงโครงข่ายระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานอู่ตะเภา ซึ่งคาดว่าจะได้สรุปแผนการดำเนินงานและแผนการเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องแต่ละหน่วยงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2558

1.6 การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ

เร่งรัดจัดซื้อรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ NGV จำนวน 3,183 คัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบรถปรับอากาศ 5 คันแรกภายในเดือนมกราคม 2558 เพื่อทดลองวิ่งดำเนินการ และภายในเดือนมีนาคม 2558 จะได้รับมอบรถตามสัญญาจำนวน 489 คัน ส่วนที่เหลือ 2,694 คัน ได้รับมอบภายในปี 2558

2. ขณะนี้กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการประมวลสรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557 วันที่ 4 ตุลาคม 2557 และวันที่ 11 ตุลาคม 2557 และคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อจัดทำเป็นแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย .. 2558-2567 (ระยะ 10 ปี) รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วน .. 2558 (Action Plan) เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของแผนพัฒนาโครงการพื้นฐานฯ และแผนปฏิบัติการระยะเร่งด่วนฯ ดังกล่าวข้างต้นในโอกาสต่อไป เพื่อหน่วยงานได้ใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

สำหรับผลการประชุม ครม. ประจำวันที่ 21 .. เรื่องอื่นๆ สามารถติดตามได้ที่นี่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net