Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

                                                                          

การชุมนุมประท้วงที่เกาะฮ่องกง เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เป็นการเรียกร้องทางการเมืองที่เป็นเหตุการณ์ตึงเครียด นับตั้งแต่ฮ่องกงได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ 17 ปีที่ผ่านมา หลายคนที่เรียกกันว่า การปฎิวัติร่ม (Umbrella Revolution) เพราะบรรดากลุ่มผู้ชุมนุมทุกสาขาอาชีพ จำนวนมาก ที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนนในย่านใจกลางฮ่องกง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อน มีเพียงร่มในการป้องกันแสงแดดจากดวงอาทิตย์และป้องกันฝนที่ตกลงมาทำให้ร่มของพวกเขากลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งนี้ไปแล้วเนื่องจากได้ถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัว ในระหว่างการเผชิญหน้ากับตำรวจปราบจลาจล เพื่อหวังจะเข้าสลายการชุมนุม มีการคาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มว่าอาจยืดเยื้อ อาจจะเป็นการเกิดจลาจล ซึ่งฝ่ายผู้ชุมนุมยังคงยืนยันที่จะปักหลักชุมนุมต่อไป มีนักวิชาการและนักวิเคราะห์ทางการเมืองได้วิเคราะห์การเมืองระหว่างประเทศ สาเหตุของประเด็นของการเรียกร้องประชาธิปไตยไว้อย่างน่าสนใจไว้หลายๆ ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่หนึ่ง นักเรียนและนักศึกษา โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่พอใจ ที่รัฐบาลจีนไม่ยอมให้สิทธิในการเลือกผู้นำด้วยตนเอง ภายในปี 2017 ซึ่งรัฐบาลจีนให้เหตุผลว่า การเลือกผู้นำดังกล่าวชาวฮ่องกงสามารถทำได้ แต่ผู้ที่จะลงสมัครนั้น ต้องผ่านการคัดเลือกจากรัฐบาลจีนเสียก่อน ทำให้เกิดการรวมตัวชุมนุมประท้วง จนถึงปัจจุบัน

ประเด็นที่สอง ฮ่องกงเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ก่อนที่อังกฤษจะส่งมอบให้แก่จีนในปี 2540 โดยจีนได้ให้สัญญาว่าจะปกครองฮ่องกงในรูปแบบเดิมกับที่อังกฤษเคยทำมา โดยใช้แนวคิด "1 ประเทศ 2 ระบบ" และใช้กฎหมายที่รับรองสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง เพื่อให้ฮ่องกงมีระบบตุลาการที่เป็นอิสระ มีเสรีภาพทางด้านการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และสิทธิในการประท้วง

ประเด็นที่สาม  ชาวฮ่องกงจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการประท้วงครั้งนี้ และใช้ชื่อกลุ่มว่า "The Silent Majority for Hong Kong" ได้แสดงความเห็นว่า การเรียกร้องชุมนุมเป็นผลเสียต่อเสถียรภาพความมั่นคงของฮ่องกงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

ประเด็นที่สี่ รัฐบาลจีนประเมินสถานการณ์ว่า ประชาชนฮ่องกงยังไม่แน่ใจในอนาคตของตนเอง และ การมีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการตัวเองจะดีมากน้อยเพียงใด จึงทำให้รัฐบาลจีนคัดเลือกผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการเกาะฮ่องกง เพื่อที่จะได้พิสูจน์ได้ว่า ผู้สมัคร มีความตั้งใจจริงและสามารถปกป้องผลประโยชน์ของเกาะฮ่องกงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความแตกแยกในสังคม ระหว่างประชาชนเองก็เริ่มผลิบาน จนแบ่งแยกเป็นสองความคิด คือ กลุ่มนิยมประชาธิปไตยในฮ่องกงใช้ริบบิ้นสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ และกลุ่มผู้ที่ไม่เห็นด้วยได้ใช้ริบบิ้นสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์

จากการสำรวจความเห็นประชาชนเกี่ยวกับเหตุการณ์การเรียกร้อง จัดทำขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมโดยมหาวิทยาลัยในจีนระบุว่า ประชาชนร้อยละ 46 ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมของกลุ่มเรียกร้องในฮ่องกง ส่วนร้อยละ 31 บอกว่าเห็นด้วยกับแนวทางการอารยะขัดขืน เพื่อต่อต้านรัฐบาลแผ่นดินใหญ่

สถานการณ์ที่น่าจับตามองคือ เหตุการณ์นี้จะกลายเป็นจลาจลก่อให้เกิดความรุนแรง เกิดการเสียชีวิตหรือไม่ หรือเหตุการณ์นี้จะสั่นคลอนความมั่นคงของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนในการบริหารงานฮ่องกงหรือไม่ จนส่งผลทำให้เกิดการปฏิรูปโครงสร้างของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนอย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่คาดคิดมาก่อน เพราะปรากฏชัดว่าภาพการคอรัปชั่นของชนชั้นปกครองในรัฐบาลจีนมีมากขึ้น จนทำให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นของประชาชนในการบริหารประเทศและตลอดจนถึงนักลงทุนจากต่างประเทศที่กำลังกังวลกับภาพของการคอรัปชั่นที่กำลังทวีขึ้น เหตุการณ์ที่ปรากฏนี้อาจนำสู่การปฏิวัติประชาธิปไตยในจีนอีกสักครั้งเพื่อความอยู่รอดต่อไป

 

ที่มา  http://shows.voicetv.co.th/voice-world-wide/119173.html

        http://www.krobkruakao.com

        http://www.thairath.co.th/content/454798

        https://th-th.facebook.com/ThaiNationalPeaceCouncil/posts/1490467341210953

 

[1] สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net