Skip to main content
sharethis

 

 

 

แผนภาพแสดงการถูกดำเนินคดีของนางออง ซาน ซูจี และเหตุการณ์แวดล้อม

(AFP/Graphic)

 

ภาพจาก Democratic Voice of Burma ซอว์ ยุ้นต์ ชาวพม่าผู้ออกมาประท้วงเดี่ยวถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบจับกุม (AP Photo/Democratic Voice of Burma, HO)

 

 

ชาวพม่าประท้วงเดี่ยวนอกคุกอินเส่ง ก่อนถูกจับกุม

มีผู้ประท้วงคนหนึ่งถูกจับกุมตัวเมื่อประมาณเวลาบ่ายโมงยี่สิบนาทีของวันที่ 28 พ.ค. จากการที่ได้ไปประท้วงเดี่ยวที่ด้านนอกคุกอินเส่ง

 

วิน ติ่น คณะกรรมการบริการของพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ยืนยันการรายงานว่ามีชายอายุห้าสิบต้น ๆ ที่พบว่าชื่อนายซอว์ ยุ้นต์ (Zaw Nyunt) ถูกจับกุมตัวด้านนอกคุกอินเส่น ในกรุงย่างกุ้ง

 

โดย วิน ติ่น ให้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประท้วงคนนี้ว่า เขาเดินจากถนนอ่อง ตุกขา (Aung Thukha) มา ถึงถนนอินเส่ง และทำการประท้วงบนท้องถนน ถือโปสเตอร์ที่มีคำว่า "พวกเราต้องช่วยอะเหม่ซู ณ บัดนี้" ซึ่งอะเหม่ซูหรือแม่ซู เป็นคำที่ชาวพม่าจำนวนมากใช้เรียกซูจี

 

วิน ติ่น เล่าต่อว่าเขายังได้ตะโกนคำขวัญเรียกร้องให้ปลดปล่อยนางออง ซาน ซูจี แต่เขาก็ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสมาชิกของสมาคมสหภาพเพื่อความ สามัคคีและการพัฒนา (Union Solidarity and Development Association - USDA) จับกุมตัวเสียก่อน ทั้งที่เขาเพิ่งเดินได้ 4-5 ก้าวเท่านั้น

 

พยานผู้เห็นเหตุการณ์ในพื้นที่บอกว่าเห็น ซอว์ ยุ้นต์ มาในพื้นที่นี้ทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ที่แล้ว (18 พ.ค.) ตั้งแต่มีการพิจารณาคดีนางออง ซาน ซูจี โดยอาศัยศาลพิเศษภายในเรือนจำอินเส่ง

 

 

สุรินทร์เผย พม่ากำลังทำลายภาพลักษณ์ของอาเซียน

นาย สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเปิดเผยว่าการกระทำของพม่าต่อนางออง ซาน ซูจี และนักโทษการเมืองคนอื่น ๆ ในตอนนี้เป็นการทำลายภาพลักษณ์ของประชาคมประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน

 

ในวันที่ 28 พ.ค. หลังจากการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำาเซียนกับสหภาพยุโรป (EU) ใน กรุงพนมเปญ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณก็ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า การหารือกันในห้องประชุมเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นของออง ซาน ซูจี และนักโทษการเมืองคนอื่น ๆ ที่มีผลกระทบกับภาพลักษณ์และผลประโยชน์ของอาเซียน

 

นาย สุรินทร์ยังได้กล่าวอีกว่า สมาชิกอาเซียนไม่ได้ต้องการแทรกแซงกิจการภายในไม่ว่าจะเป็นของประเทศสมาชิก ประเทศใดก็ตาม แต่พวกเขาก็ควรแสดงความเห็นออกมาเมื่อประเด็นนี้ส่งผลกระทบกับเสถียรภาพ ภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือขององค์กรอาเซียน

 

ใน วันเดียวกัน เนียน วิน รัฐมนตรีต่างประเทศของพม่าออกมาเตือนผู้นำอาเซียนและยุโรปที่กำลังพบปะหารือ กันที่กัมพูชาว่าอย่าได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจการภายในของพม่าและเรื่อง การดำเนินคดีกับนางออง ซาน ซูจี ที่ถูกจับกุมในฐานะที่ละเมิดข้อบังคับการกักบริเวณและอาจได้รับโทษจำคุกเป็น เวลาห้าปี

 

"นี่เป็นเรื่องทางกฏหมายภายในประเทศ ไม่ใช่เรื่องสิทธิมนุษยชน" เนียน วิน รมต.ต่างประเทศของพม่ากล่าว

 

ขณะ ที่นายธิตินันท์ พงศ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาด้านความมั่นคงและต่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขียนบทความภาษาอังกฤษลงในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์ฉบับวันที่ 28 ว่ารัฐบาลพม่ากำลัง "ละเมิดกฏบัตรของอาเซียน มาตรที่ 7 วรรค 1 อย่างชัดเจนในประเด็นเรื่องประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และนิติธรรม ทั้งยังละเมิดการปกป้องและการสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงเสรีภาพขั้นพื้นฐานด้วย"

 

ธิติ นันท์ กล่าวในบทความอีกว่า สมาชิกอาเซียนที่ประเทศมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่าควรดำเนินการกับการละ เมิดกฏบัตรของพม่าในเชิงลงโทษและบังเกิดผล เพื่อเป็นการเรียกคืนความน่าเชื่อถือของอาเซียน

 

ธิติ นันท์ ยังได้เสนอว่า พม่าไม่สนใจคำวิจารณ์และการประณามจากนานาชาติ การแถลงการณ์ "แสดงความเป็นห่วง" อย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอ และบอกว่า ควรเรียกร้องให้มีการถอดถอนพม่าจากสมาชิกภาพชั่วคราว

 

 

นักการเมือง นักกิจกรรม ผู้นำศาสนาและศิลปินอินเดีย สนับสนุน ออง ซาน ซูจี

วันที่ 27 พ.ค. นักการเมือง นักกิจกรรม ผู้นำศาสนา และศิลปินอินเดีย ได้รวมตัวประชุมกันที่ คอนสติวตูชั่น คลับ (Constitution Club) ใน กรุงนิว เดลี เพื่อแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับประชาชนในพม่า เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี ที่กำลังถูกดำเนินคดี และวิจารณ์รัฐบาลอินเดียที่เงียบเสียงกับการถูกดำเนินคดีของผู้นำ ประชาธิปไตยในพม่า

 

ในที่ประชุมมี จี. เทวราชัน (G. Devarajan) เลขาธิการคณะกรรมการกลางออลอินเดียฟอรเวิร์ดบล็อค (All India Forward Bloc) , นันฐิตา ดาส (Nandita Das) นักแสดงหญิงของอินเดียและนักกิจกรรมสังคม , ชยา ไชท์เลย์ (Jaya Jaitley) อดีตประธานาธิบดีจากพรรคสมาตา (Samata) , จอร์จ เฟอร์นานเดส รัฐมนตรีกลาโหม , สุมิต จักราวัตตี (Sumit Chakravartty) บรรณาธิการหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เมนสตรีม , อมาร์ กังวาร์ (Amar Kanwar) ผู้ กำกับภาพยนตร์ และศิลปินชาวอินเดียคนอื่น ๆ เรียกร้องให้รัฐบาลอินเดียกดดันเผด็จการทหารพม่าให้ปล่อยตัวนางซูจี และให้มีมาตรการจัดการกับรัฐบาลทหารพม่า

 

ขณะเดียวกันในการการประชุมสมานฉันท์อินเดีย-พม่า (Indo-Burma Solidarity) ที่มูลนิธิสันติภาพของคานธี (Gandhi Peace Foundation) วันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ชารัด ยาดาฟจากพรรคจานาตา ดาล บอกว่าเขาสนับสนุนประชาคมโลกในการเรียกร้องให้ปล่อยตัวออง ซาน ซูจี

 

ศจ. ทินท์ สวี (Tint Swe) รัฐมนตรีสารสนเทศของรัฐบาลพลัดถิ่นพม่า (NCGUB) บอ กกับอิระวดีว่า "อินเดียให้ความสนใจแต่กับผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่จะได้รับจากรัฐบาลทหาร พม่า ทำให้ตอนนี้อินเดียละเลยความรับผิดชอบทางประชาธิปไตยไปแล้ว พวกเราไม่ได้คาดหวังจะได้ยินเสียงวิจารณ์หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรมากมาย มันมีโอกาสน้อยมาก เพราะรัฐบาลอินเดียกลับลำเรือในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในพม่า ตั้งแต่สมัยของราจีฟ คานธี แล้ว"

 

เลนิน ราฆุวานชี (Lenin Raghuvanshi) นักกิจกรรมชาวอินเดียและผู้อำนวยการคณะกรรมการเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษย์ชน (People's Vigilance Committee on Human Rights) ซึ่งเป็นกลุ่มส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนในระดับรากหญ้าในอุตรประเทศ (Uttar Pradesh) บอก ว่าการจับกุมตัวนางซูจีจะส่งผลย้อนกลับต่อการเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยใน พม่าเป็นอย่างมาก โดยถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน

 

เขา ให้ความเห็นกว่า อินเดียผิดที่เงียบเฉยต่อการถูกดำเนินคดีที่เรือนจำอินเส่งของนางซูจี ทั้งที่นางซูจีเคยได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ์ของอินเดีย คือรางวัล ชวาฮาลัล เนห์รู ด้านความเข้าใจในนานาอารยประเทศ (International Understanding) โดยเขายังได้เรียกร้องให้ "อินเดีย , จีน และประเทสเพื่อนบ้านอื่น ๆ ของพม่าต่อต้านทหารเผด็จการและสนับสนุนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยโดยปราศจาก ความรุนแรง และขณะเดียวกันก็ต้องต้านการก่อการร้าย"

 

โดยในปี 1994 อินเดียได้เคยเสนอนโยบาย "มองทางตะวันออก" (Look East Policy) ที่วางไว้สำหรับการร่วมโครงการทางเศรษฐกิจกับรัฐบาลทหารพม่า และแม้ว่าต่อมาเมื่อปี 2007 ที่พม่ามีระสงฆ์ออกมาประท้วงรัฐบาล อินเดียจะสนับสนุนจุดยืนของสหประชาชาติ (UN) เรื่องพม่า แต่ก็ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ต่อสาธารณะในเหตุการณ์การดำเนินคดีที่เกิดขึ้นในตอนนี้เลย  

 

 

ที่มาของข่าว: แปลและเรียบเรียงจาก

Indian Human Rights Activists Support Suu Kyi , The Irrawaddy , Arkar Moe , 28-05-2009

http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15750

 

Burma Damages Asean’s Image: Surin Pitsuwan , The Irrawaddy , Saw Yan Naing , 28-05-2009 http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15757

 

Suu Kyi Protester Arrested , The Irrawaddy , Min Lwin , 28-05-2009

http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=15761

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net