Skip to main content
sharethis


 


เมื่อวันที่ 15 มี.. 51 ที่ผ่านมา เวลา 13.00 . ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.สระบุรี กลุ่มผู้ใช้แรงงานใน จ.สระบุรี และโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ได้จัดการเสวนา ถึงความสำคัญกับการรณรงค์เรื่องสิทธิเสรีภาพในการเจรจาและต่อรองร่วม และการรณรงค์ประเด็นแรงงานในระดับสากล


เสน่ห์ หงส์ทอง ผู้ประสานงานองค์กรแรงงานภายในประเทศของโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย กล่าวถึงธรรมชาติของการรวมกลุ่มในสังคมมนุษย์ว่าหากเกิดปัญหาแล้วมีการรวมตัวเพื่อต่อรองนั้นจะมีพลัง เช่นเดียวกับขบวนการแรงงาน ในเรื่องของการจัดตั้งสหภาพแรงงานเป็นสิ่งที่มีรูปธรรมมากที่สุด สำหรับใช้ในการต่อรองเรียกร้องสิ่งที่ดีกว้าจากนายจ้าง ทั้งนี้การรวมตัวการตั้งสหภาพแรงงานจะต้องทำเพื่อหาหนทางไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ไม่ใช่รวมตัวแล้วปล่อยผ่านนิ่งเฉยไป


เสน่ห์กล่าวต่อไปว่า กลุ่มพี่น้องผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะในสระบุรีนี้พบว่าจากการต่อสู้เพื่อให้ได้สิทธิเพื่อการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงานเมื่อปี 2538 เป็นต้นมา ปัจจุบันนี้พบว่าขบวนการแรงงานของสระบุรีมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีทั้งสหภาพแรงงานใหม่ๆ เกิดมากขึ้น พี้น้องในภาคส่วนแรงงานเข้าไปมีบทบาทในกลไกต่างๆ มากขึ้น แต่ทั้งนี้เราไม่สามารถหยุดอยู่แค่นั้นได้ แรงงานต้องหันมามองปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาความยากจนต่างๆ และขบวนการแรงงานจะต้องสร้างเครือข่ายกับกลุ่มชาวบ้านกลุ่มต่างๆ ร่วมกันรวมกันต่อรองกับอำนาจต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมในสังคม


แต่สำหรับปัญหาสำคัญที่ทำให้สหภาพแรงงานไม่เข้มแข็งนั้น พบว่ามีการพยายามทำลายการรวมกลุ่มกันของสหภาพแรงงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้าง การข่มขู่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน นการ็นโดยปัจจุบัน พ...แรงงานสัมพันธ์ 2518 นั้นเป็นกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์แบบใหม่ ไม่สอดคล้องกับการจ้างงานแบบใหม่ จึงเป็นสิ่งที่ต้องมาดูกันแล้วทบทวนแก้ไข


นอกจากนี้เสน่ห์ได้กล่าวถึงความสำคัญของอนุสัญญา ILO 87 และ 98 ว่าจะเป็นการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกันของแรงงานจากทั้งรัฐและทุน โดยไม่ต้องสนใจว่าจะรวมตัวกันมากน้อยแค่ไหน ใครบ้างรวมตัวกัน ทั้งนี้ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นของและยังส่งเสริมการละเมิดสิทธิของแรงงานอยู่ แต่เมื่อรัฐบาลได้รับรองสัตยาบันอย่างเป็นทางการแล้ว ประเด็นการละเมิดสิทธิการรวมกลุ่มกันของสหภาพจะเป็นเรื่องของสากล


"การพูดคุยล่าสุดของของแรงงาน ภาครัฐ และเอกชนพบว่า ในหลายภาคส่วนไม่ได้มีปัญหากับการรับรองสัตยาบันนี้ แม้แต่ฝ่ายนายจ้างยังยอมรับได้เพื่อใช้เป็นมาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวข้องกับสินค้า แต่ฝ่ายที่ยังคงไม่รับคือรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน" เสน่ห์กล่าว


ธนพร วิจันทร์ จากสหภาพแรงงานนครหลวงบราสแวร์ กล่าวถึงสิทธิในการเจรจาต่อรอง จากประสบการณ์ของแรงงานในสระบุรี ได้นำปัญหาต่างๆ ของแรงงานขึ้นมาพูดคุยกับภาครัฐ ซึ่งพบว่าหากมีการรวมตัวกันจะสามารถเข้าไปกดดันหน่วยงานของรัฐ และนำปัญหาของเราไปเป็นส่วนหนึ่งในการเจรจาต่อรองได้


แต่ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะพบว่านายจ้างและรัฐไม่มีความจริงใจในการเจรจาต่อรองกับแรงงานนอกจากนี้กระบวนการบ่อนทำลายสหภาพแรงงานจากนายจ้าง ยังคงให้เห็นอยู่เนืองๆ และทำให้บงคนท้อใจและยอมจำนน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากสิ่งสำคัญอันหนึ่งก็คือแรงงานไม่ได้รู้สิทธิ์ของตนเอง ซึ่งธนพรเห็นว่าถ้าหากไม่มีการให้การศึกษา หรือบรรจุการศึกษาด้านสิทธิเสรีภาพของแรงงานไว้ในแบบเรียน หรือมีการรณรงค์อย่างจริงจังแล้ว เราก็จะยังคงย่ำอยู่กับที่






 


อนุสัญญาฉบับที่ 87


ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน


ที่ประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งจัดให้มีการประชุมกันขึ้น ณ กรุงซานฟานซิสโก โดยคณะประศาสน์การของสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ เป็นการประชุมสมัยที่ 31 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1948 ที่ประชุมได้ตกลงกันที่จะรับข้อเสนอในรูปของอนุสัญญา ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว ซึ่งบรรจุในวาระที่ 7 ของระเบียบวาระการประชุม ที่ประชุมได้พิจารณาถึงอารัมภบทในธรรมนูญขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่กล่าวถึง "การยอมรับในหลักการของเสรีภาพในการสมาคม" ให้นำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง สภาพทางด้านแรงงานและในการเสริมสร้างสันติภาพ ที่ประชุมได้พิจารณาถึงประกาศฟิลาเดลเฟีย ซึ่งได้ยืนยันถึง "เสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพในการสมาคม เป็นสิ่งจำเป็นต่อความก้าวหน้าอันยั่งยืน" ที่ประชุมพิจารณาว่าการประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศสมัยที่ 30 นี้ ได้มีมติเอกฉันท์รับหลักการซึ่งควรจะเป็นการวางพื้นฐาน สำหรับข้อบังคับระหว่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่า การประชุมใหญ่ของสหประชาชาติในคราวประชุมสมัยที่ 2 ได้ให้ความเห็นชอบกับหลักการเหล่านี้ และได้ร้องขอต่อองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ให้พยายามทุกวิถีทางในการกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศขึ้น ได้มีมติเห็นชอบกับอนุสัญญาดังต่อไปนี้เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ.1948 ซึ่งอาจจะเรียกว่า อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ.1948


ทั้งนี้ใจความสำคัญของอนุสัญญานี้คือมีสาระสำคัญ 3 ประการที่เมื่อให้สัตยาบันแล้วจะทำให้กระบวนการสหภาพแรงงานเติบโตอย่างมาก คือ 1. คนงานและนายจ้างสามารถใช้สิทธิในการรวมตัวได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตล่วงหน้าจากรัฐ 2. เจ้าหน้าที่รัฐต้องละเว้นการแทรกแซงใดๆ ที่จะจำกัดสิทธิในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง 3. องค์กร (สหภาพ) มีเสรีภาพในการเข้าร่วมองค์
กรใดๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยเสรี


 


อนุสัญญาฉบับที่ 98


ว่าด้วยการนำเอาสิทธิในการรวมตัวเป็นองค์กรและสิทธิในการเจรจาต่อรองไปปฏิบัติ


ที่ประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้ทำการประชุมที่เจนีวา โดยคณะประศาสน์การของสำนักงานแรงงานระหว่างชาติ ซึ่งนับเป็นการประชุมครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2496


ที่ประชุมได้ตัดสินใจยอมรับข้อเสนอ ที่เกี่ยวกับการนำเอาหลักการของสิทธิในการรวมตัวขององค์กรและสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วมไปปฏิบัติ ซึ่งอยู่ในข้อที่ 4 ของระเบียบวาระการประชุม และที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่าข้อเสนอนี้ควรที่จะออกมาในรูปของอนุสัญญาระหว่างประเทศ อนุสัญญาฉบับนี้จึงได้รับการยอมรับในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2492 ซึ่งอนุสัญญาฉบับนี้ถือว่าเป็นอนุสัญญาเกี่ยวกับสิทธิในการรวมตัวเป็นองค์กร และสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม พ.ศ. 2492


ทั้งนี้ใจความสำคัญของอนุสัญญานี้คือ 1. คุ้มครองลูกจ้างจากการกระทำใดๆ อันเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยสาเหตุที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน 2. องค์กรลูกจ้างและนายจ้างต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอจากการแทรกแซงระหว่างกัน ทั้งในการก่อตั้ง, การปฏิบัติ, การบริหาร และการมุ่งสนับสนุนการก่อตั้งองค์กรของคนงานให้อยู่ภายใต้การควบคุมของนายจ้าง  3.ส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากกลไกการเจรจาโดยสมัครใจทั้งนายจ้างหรือองค์กรนายจ้างกับองค์กรคนงาน


  อ่านรายละเอียดของอนุสัญญาทั้งสองฉบับ


 


จากนั้นเวลา 17.00 . ที่ตลาดตาลเดี่ยว อ.ตาลทอง จ.สระบุรี โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ได้จัดคราวานสิทธิแรงงาน เทศกาลหนังกลางแปลงแรงงานนานาชาติ เพื่อเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่องสิทธิของแรงงานในมิติต่างๆ แก่แรงงานในเขต จ.สระบุรี


 

เอกสารประกอบ

รายละเอียดของอนุสัญญา ILO 87 และ 98

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net