ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนอย่างเราจะได้มีพื้นที่สื่อสารของเราเองจริงๆ เสียที!!

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ


ปนัดดา ขวัญทอง

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ

 

วิทยุชุมชนหลายสถานีคงตั้งหน้าตั้งรอคอยใบอนุญาตวิทยุชุมชนชั่วคราวนี้อย่างใจจดใจจ่อ เพราะไม่ใช่แค่กระดาษใบเดียว แต่ยังหมายถึงเครื่องมือยืนยันถึงสิทธิเสรีภาพในการสื่อสารของ ประชาชนด้วย กระดาษใบนี้บอกว่าวิทยุชุมชนที่ดำเนินการโดยประชาชนเป็นวิทยุที่ถูกกฎหมาย ไม่ใช่วิทยุชุมชนเถื่อนอีกต่อไป

 

ที่ผ่านมาอาจเกิดความสับสนทั้งคนฟัง และคนที่ดำเนินการวิทยุชุมชนเอง ว่าแบบไหนกัน แน่ที่เรียกว่า วิทยุชุมชน และวิทยุชุมชนควรมีโฆษณาได้หรือไม่ เพราะต่างก็อ้างว่ามติคณะรัฐมนตรี ที่อนุญาตให้มีโฆษณาได้ 6 นาที แต่หากดูตามเจตนารมณ์ของมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ เปลี่ยนมาเป็น มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ให้นิยามวิทยุชุมชนไว้ว่า ต้องเป็นวิทยุที่ไม่มี โฆษณา ไม่แสวงกำไร ปราศจากการครอบงำจากกลุ่มทุน นักการเมือง พรรคการเมือง ภาครัฐฯ

 

ปัจจุบัน ความสับสนเรื่องนิยามวิทยุชุมชน จะชัดเจนมากขึ้น เพราะคณะทำงานด้านกิจการ วิทยุกระจายเสียงชุมชนในคณะอนุกรรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ มีหน้าที่ ในการจัดทำหลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตวิทยุชุมชนชั่วคราวตามที่กฎหมายกำหนด กระบวนการได้ ดำเนินมาถึงโค้งสุดท้ายก่อนเปิดให้ขอรับใบอนุญาตฯ ซึ่งคาดว่าเดือนมีนาคม 2552 จะมีการจัด เวทีประชาพิจารณ์ในภาคต่างๆทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างหลักเกณฑ์การให้ ใบอนุญาตวิทยุชุมชนที่จะเริ่มในเดือนเมษายน

 

ถึงเวลาแล้วที่ประชาชนอย่างเราจะได้มีพื้นที่สื่อสารของเราเองจริงๆ เสียที!! หน่วยงาน อย่างคณะอนุฯได้ทำหน้าที่ของตัวเอง ภาคประชาชนก็ต้องทำหน้าที่ของตัวเองด้วยเช่นกัน นั่นคือ การเตรียมตัวเพื่อขอรับใบอนุญาต ว่าแต่ต้องเตรียมอะไรบ้าง???

 

แม้ว่าตอนนี้หลักเกณฑ์การให้ใบอนุญาตวิทยุชุมชนจะยังไม่ออกมาจนกว่าจะมีการรับฟัง ความคิดเห็นทั่วประเทศเสียก่อน แต่ในฐานะของผู้ที่ได้ติดตามกระบวนการให้ใบอนุญาตวิทยุ ชุมชนชั่วคราวอยากจะเสนอแนวทางการเตรียมตัวเพื่อขอรับใบอนุญาตฯ ที่คิดว่าจะต้องใช้ ประกอบการขอรับใบอนุญาตฯ โดยประมาณดังนี้

 

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต

 

ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการชุมชนต้องเป็นสมาคม มูลนิธิ นิติบุคคลอื่นที่ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานของรัฐและมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจการเพื่อ ประโยชน์สาธารณะโดยไม่แสวงกำไรในทางธุรกิจ หรือกลุ่มคนในท้องถิ่นที่ไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่ง รวมตัวกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ทั้งนี้ ต้องมีความเหมาะสมกับการประกอบกิจการ บริการชุมชนตามลักษณะที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (มาตรา 12 วรรคหนึ่ง ใน พ... ประกอบกิจการฯ)


 

เอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้

1. เอกสารหลักฐานของสถานีผู้ขอรับใบอนุญาต กรณีกลุ่มคนต้องแนบรายชื่อสมาชิก วัตถุประสงค์ของกลุ่ม หลักฐานการดำเนินงาน หลักฐานการเงิน ระบุผู้รับมอบอำนาจ ให้ชัดเจน

 

2. ชื่อสถานี สถานที่ตั้ง แผนที่ ความถี่ที่ใช้ในการออกอากาศ

 

3. รายชื่อกลุ่มคนหรือองค์กรที่ร่วมจัดรายการ

 

4. วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน และผังรายการที่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ โดยตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชนในชุมชนหรือ ในท้องถิ่น (มาตรา๑๒ วรรคสองใน พ...ประกอบกิจการฯ) ที่ผ่านการรับฟังความ คิดเห็นจากคนในชุมชนแล้ว

 

5. โครงสร้างการบริหารจัดการสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชน พร้อมด้วยองค์ประกอบ ของกรรมการและแผนบริการกิจการกระจายเสียงที่ชัดเจน (มาตรา 16 ใน พ... ประกอบกิจการฯ) ประกอบด้วย การดำเนินงานระหว่างการออกอากาศ การพัฒนา ด้านการบริหารจัดการ การขยายการมีส่วนร่วม การผลิตรายการ และการประเมินผล

 

6. ลักษณะเครื่องส่ง กำลังส่ง ความสูง อัตราการขยายของสายอากาศและรัศมีการ ออกอากาศ

 

นี่เป็นแค่แนวทางเท่านั้นชาววิทยุชุมชนคงต้องเตรียมตัวกันไว้แต่เนิ่นๆ เพราะเวลา แค่ 1 เดือนหลังจากเวทีรับฟังความเห็นในเดือนมีนาคมและเปิดให้ขอรับใบอนุญาตเดือน เมษายน อาจจะไม่ทันเพราะวิทยุชุมชนหลายที่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องการจัดเตรียมเอกสาร ถ้าแนวทางนี้สามารถช่วยให้มีเวลาในการเตรียมตัวมากขึ้นก็จะยินดียิ่ง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท