Skip to main content
sharethis


ประชาไท

- 23 ก.พ 50 เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ตัวแทนเครือข่ายชนเผ่าและชาติพันธุ์ในประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองเอเชียที่กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550  และได้ยื่นรายงานสถานการณ์สิทธิพื้นฐานของชนเผ่าและชาติพันธุ์ในประเทศไทยให้กับศาสตราจารย์โรดอลโฟ สตาเวนฮาเกน (Prof. Rodolfo Stavanhagen) ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติเรื่องสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของชนเผ่าพื้นเมือง (UN Special Rapportuer on the Situation of human rights and fundamental freedoms of indigenous peoples) ที่เข้าร่วมประชุมรับฟังปัญหาสิทธิของชนเผ่าในเอเชียจากตัวแทนจำนวนกว่า 80 คนใน 15 ประเทศในเอเชีย  

รายงานของประเทศไทยระบุถึงปัญหาเรื่องปัญหาสิทธิพลเมืองหรือสถานะบุคคลตามกฎหมาย  ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชนเผ่าและชาติพันธุ์  ปัญหาสิทธิการจัดการทรัพยากรและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของชุมชนบนพื้นที่สูง ปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานและสิทธิการเข้าถึงบริการของรัฐรวมทั้งสะท้อนภาพการสูญเสียที่ดินชุมชนให้แก่การจัดการทรัพยากรป่าแผนใหม่


ในรายงานฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยทำงานด้านการศึกษาอบรมเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อลดอคติทางชาติพันธุ์ รวมทั้งมีข้อเสนอเกี่ยวแนวโยบายกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 5 รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด ชาติพันธุ์ เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ทำให้ชนเผ่าและกลุ่มชาติพันธุ์ได้รับการรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรในพื้นที่สูงของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



 


นอกจากนี้ในระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่จังหวัดกัมปงจาม เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองของเอเชียยังได้จัดให้มีการประชุมเตรียมการเพื่อเข้าร่วมเวทีถาวรเรื่องชนเผ่าพื้นเมือง ( Permanent Forum on Indigenous Issues) ขององค์การสหประชาชาติ ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปีนี้จะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 ณ สำนักงานองค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เวทีถาวรของชนเผ่าพื้นเมืองเป็นการประชุมร่วมระหว่างคณะกรรมการของเวทีถาวร  ตัวแทนประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และตัวแทนของชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก  หัวข้อหลักจะมีการนำเสนอในเวทีถาวรเรื่องชนเผ่าพื้นเมืองปีพ.ศ. 2550 จะเน้นเรื่องที่ดินชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง และเรื่องสถานการณ์ชนเผ่าในประเทศเอเชีย   


ทั้งนี้ภายหลังที่ประชุมเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งเอเชียได้ร่วมกันลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยเรียกร้องให้ประเทศไทยสนับสนุนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ในการประชุมสมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติครั้งที่ 61 ที่จะถึงนี้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2550  รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างใหม่บรรจุมาตราที่รับรองสิทธิพื้นฐานของชนเผ่าไว้ด้วย






คำแปล จดหมายเปิดผนึก


ถึง ฯพณฯ ท่าน นายกรัฐมนตรี พล

.. สุรยุทธ์ จุลานนท์

กราบเรียน ฯพณฯ ท่าน นายกรัฐมนตรี พล

.. สุรยุทธ์ จุลานนท์

ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองได้รับการรับรองจากสภาสิทธิมนุษยชนขององค์กรสหประชาชาติเมื่อวันที่

29 มิถุนายน พ.. 2549 ปฏิญญาฉบับนี้ได้รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานขั้นต่ำสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองเกิดขึ้นจากการร่วมกันร่างระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติและประชาชนชนเผ่าพื้นเมืองซึ่งใช้เวลากว่า 20 ปี

เราได้รับทราบเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลไทยในการสนับสนุนการสานเสวนาและการทำงานร่วมกับชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศของท่าน เราหวังว่ากระบวนการเหล่านี้จะพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราหวังว่าสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าในประเทศไทยจะได้รับการยอมรับและบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังร่างอยู่ขณะนี้


ด้วยการที่รัฐบาลไทยกำลังพยายามที่จะพัฒนาให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนของชนเผ่า เราประหลาดใจและผิดหวังที่ผู้แทนประเทศไทยในการประชุมครั้งที่

3 ของการประชุมใหญ่สามัญประจำปีขององค์การสหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์คในเดือนธันวาคม พ.. 2549 โดยที่ประชุมจะจัดวาระให้มีการลงคะแนนเสียงเพื่อนำการรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง แต่มีข้อเสนอจากประเทศนามีเบียให้มีการเลื่อนการลงคะแนนเสียงรับรองปฏิญญาสากลฉบับนี้ ตัวแทนประเทศไทยได้ลงคะแนนสนับสนุนให้มีการเลื่อนการพิจารณารับรองปฏิญญาฯ เราหวังว่าการตัดสินใจครั้งนั้นน่าจะเป็นการเข้าใจผิดหรือการสื่อสารที่ผิดพลาดและไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงการไม่สนับสนุนประเด็นชนเผ่าพื้นเมืองของรัฐบาลไทย

เราขอเรียกร้องท่านด้วยความเคารพให้สนับสนุนการรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีที่

61 ซึ่งจะมีวาระการพิจารณารับรองในการประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนกันยายน พ.. 2550 นี้ และหวังว่ารัฐบาลไทยจะช่วยเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศอื่นๆ สนับสนุนปฏิญญาสากลฉบับนี้ด้วย

ลงนามโดย ผู้เข้าร่วมงานประชุมเตรียมการเวทีถาวรเรื่องชนเผ่าพื้นเมือง ที่จังหวัดกัมปงจาม ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่

17-18 กุมภาพันธ์ 2550

หมายเหตุ

: สภาสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN-Human Rights Council) ได้มีมติรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองไปแล้วเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.. 2549 แต่ในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติเมื่อเดือนธันวาคม พ.. 2549 มีบางประเทศเสนอให้เลื่อนการประชุมพิจารณารับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองออกไปโดยประเทศไทยได้ลงคะแนนสนับสนุนให้มีการเลื่อนประชุมพิจารณารับรองอนุสัญญาฉบับนี้ออกไปในสมัยการประชุมครั้งหน้าในเดือนกันยายน พ.. 2550

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net