Skip to main content
sharethis

ในวันที่ 28 ก.พ.50 ผู้แทนชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนสาละวินจะยื่นจดหมายเปิดผนึกแก่นางสุนีย์ ไชยรส และนายวสันต์ พานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมกันนั้น กป.อพช เหนือ และเครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน จะจัดแถลงข่าวเรื่องนี้ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วย โดยมีวิทยากรได้แก่ คุณบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ คุณมนตรี จันทวงศ์ มูลนิธิฟื้นฟูธรรมชาติ พ่อหลวงนุ ชำนาญคีรีไพร ผู้แทนชาวบ้านจาก จ.แม่ฮ่องสอน  จ๋ามตอง นักสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ คุณสายรุ้ง ทองปลอน สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ดร. เดชรัตน์ สุขกำเนิด (อยู่ระหว่างการติดต่อ) และ อดีตสว. เตือนใจ ดีเทศน์


 


นอกจากนี้ในวันเดียวกันนั้นยังจะมีการเคลื่อนไหวอย่างสันติ เพื่อรณรงค์ให้ยุติเขื่อนสาละวิน ในเมืองต่างๆ พร้อมกันทั่วโลก อาทิ โตเกียว ซิดนีย์ เดลี ปารีส เบอร์ลิน วอชิงตัน ดีซี


 


ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัทไซโนไฮโดร (Sinohydro Corporation) ของจีน ได้ลงนามบันทึกความตกลงเพื่อพัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำฮัตจี ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ที่มีการวางแผนที่จะสร้างบริเวณพรมแดนไทย-พม่า และในประเทศพม่า ซึ่งจะสามารถผลิตไฟฟ้ารวมกัน 12,700 เมกะวัตต์


 


คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ)  และเครือข่ายปกป้องแม่น้ำสาละวิน ประกอบด้วยองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนจากไทย พม่า และนานาชาติ แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อความร่วมมือระหว่างกฟผ.กับบริษัทจากจีนที่จะสร้างเขื่อนในแม่น้ำสาละวิน เนื่องจากโครงการเขื่อนดังกล่าวจะเป็นการลงทุนจากต่างชาติก้อนใหญ่ที่สุดในพม่า เขื่อนแรกที่ฮัตจี มีมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท เขื่อนสาละวินทั้ง 5 แห่งจะสร้างในเขตที่มีการสู้รบตามพรมแดนไทย-พม่า และที่ผ่านมารัฐบาลเผด็จการพม่าใช้กำลังทหารโจมตีประชาชนชนกลุ่มน้อยอย่างต่อเนื่อง การให้ความสนับสนุนทั้งทางการเมืองและการเงินต่อการสร้างเขื่อนในเขตที่มีการสู้รบ เปรียบได้กับการสนับสนุนการปกครองที่กดขี่ของรัฐบาลเผด็จการพม่า


 


นอกจากนี้ กระบวนการตัดสินใจทั้งหมดดำเนินไปอย่างเร่งรีบและรวบรัด ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลแก่สาธารณะ แม้แต่ชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในเขต จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะเป็นประชาชนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็ยังไม่ได้รับข้อมูล ดังนั้นจึงได้มีการเปิดให้คนร่วมลงชื่อคัดค้านโครงการดังกล่าวในเว็บไซต์ http://www.petitiononline.com/nodams/petition.html 


 


 






 


 


 


เขื่อนสาละวินในพม่า ซื้อไฟฟ้าแถมผู้ลี้ภัย


 


รัฐบาลไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) กำลังร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จการพม่า และบริษัทสร้างเขื่อนจากจีน เพื่อสร้างเขื่อน ๕ แห่งบนแม่น้ำสาละวินในพม่า และชายแดนไทย-พม่า โดยเขื่อนแห่งแรกที่ ฮัตจี รัฐกะเหรี่ยงที่อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีกำหนดการเริ่มก่อสร้างในรัฐกะเหรี่ยงในปลายปีนี้ และมีมูลค่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท


 


-    สาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายที่ยาวที่สุดสายสุดท้ายในอุษาคเนย์ที่ยังไหลอย่างอิสระ ไม่มีเขื่อนกั้น


 


-    เขื่อนสาละวินหมายถึงบ้านของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่าอย่างน้อย ๖๓,๐๐๐ คน โดยเฉพาะในรัฐกะเหรี่ยง คะยาห์ และไทใหญ่ ต้องจมอยู่ใต้น้ำ


 


-    พื้นที่สร้างเขื่อนในพม่าเป็นพื้นที่สงคราม ชาวบ้านต้องเผชิญการละเมิดสิทธิมนุษยชนนานาประการจากทหารพม่า อาทิ ข่มขืน แรงงานทาส และสังหาร


 


-    คลื่นผู้ลี้ภัยจำนวนมหาศาลจะทะลักเข้าสู่ประเทศไทย หากมีการสร้างเขื่อน


 


-    ประชาชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงจำนวนอย่างน้อย ๕๐ หมู่บ้านที่อ.สบเมยและแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ที่จะเดือดร้อนจากเขื่อนโดยตรง ยังไม่ได้รับข้อมูล และไม่มีส่วนร่วมในโครงการ ชาวบ้านเหล่านี้จำนวนมากอาศัยอยู่ในป่าที่ห่างไกล ไม่มีสัญชาติไทย


 


ร่วมหยุดเขื่อนสาละวิน ปกป้องสายน้ำแห้งชาติพันธุ์ ลงนามจดหมายถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เพื่อระงับโครงการทันที


 


สำหรับบุคคล เชิญลงนามที่


http://www.petitiononline.com/nodams/petition.html 


 


(วิธีการ คลิก Sign the Petition ใส่ชื่อ นามสกุล อีเมล ประเทศ แล้วคลิก Preview Your Signature และคลิก Approve Signature) 


 


สำหรับองค์กร กรุณาส่งชื่อองค์กรมาที่


riversiam@csloxinfo.com


 


ภายในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์นี้


ข้อมูลเพิ่มเติม www.salweenwatch.org และ www.searin.org


 


 


Please Sign the Petition to Stop Salween Dams


 


The Thai government and Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) are collaborating with the Burmese junta and the Chinese dam construction company to build at least five large dams on the Salween River inside Burma and along the Thailand-Burma border. According to the MoA (Memorandum of Agreement) signed between EGAT and the Burma"s Ministry of Electric Power, construction of the Hutgyi Dam, the first dam in Burma"s Karen State, is scheduled to commence later this year with more than one billion USD of investment. In November last year, EGAT has just commissioned the Environmental Research Institute of Chulalongkorn University to conduct the Environmental Assessment. 


 


 -Salween is the still the only free flowing, un-dammed, longest river in Southeast Asia.


- At least 63,000 ethnic people in Karen, Karenni and Shan States will be displaced as a result of the increased militarization and the inundation caused by the dam reservoir.


- Rape and other systematic brutal treatment waged by the Burmese troops against ethnic civilians have been well documented and subject to international condemnation and outcry. 


- Even more influx of refugees from Burma into Thailand will be inevitable.


- At least, 50 communities of the Karen-Thai living along the Salween River inside Thailand will be displaced.


 


Until now, almost none of these potential affected people have been informed any information reflecting the blatant ignorance of public participation by organizations involved. 


 


Help to stop the Salween Dams, protect the river of the diverse ethnicity, sign on to demand the Thai Prime Minister to withdraw cooperation for the dam plan


 


For individuals, please read and sign on at;


 


http://www.petitiononline.com/nodams/petition.html 


 


(Just click Sign the Petition, enter your first and last names, email address, country, and click Preview Your Signature and then Approve Signature


 


For organizations intending to sign on the letter, please send your name to 


riversiam@csloxinfo.com


 


Within 27 February 2007 


More information at www.salweenwatch.org or www.searin.org


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net