Skip to main content
sharethis

 

การนำมหาวิทยาลัย ออกนอกระบบเป็นการนำกลไกตลาดเข้ามาสู่การเรียนการสอนอย่างเต็มที่ พยายามลดงบประมาณรัฐ เพิ่มภาระให้นักศึกษา เน้นการหากำไรเหนือคุณภาพการศึกษา ตัดสวัสดิการและความมั่นคงของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในขณะที่เพิ่มอำนาจและ เงินเดือนของผู้บริหาร ทั้งหมดนี้คือหน้าตาแท้จริงของแนวเสรีนิยมที่ผลักดันเรื่องอื่นๆ เช่นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การสนับสนุนสัญญา FTA และการทำลายสวัสดิการคน จน
 
ถ้าเราเข้าใจ เศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบทุนนิยมแล้ว เราจะไม่หลงใหลในการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เราจะทราบว่าแนวเสรีนิยม อ้างอย่างโกหกว่ากลไกตลาดเสรีของระบบทุนนิยมเป็นกลไกที่สร้างประสิทธิภาพใน ระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นพวก "คลั่งตลาด" เสรี นิยม มักจะอ้างว่าการใช้รัฐในการควบคุมหรือการดำเนินการใดๆ เพื่อเป็นการ "ฝืนธรรมชาติของตลาด" มักประสบความล้ม เหลว แต่มันเป็นคำเท็จที่ปกป้องผลประโยชน์คนรวย
 
การบูชากลไกตลาด และการเห่าหอนให้ลดบทบาทรัฐของฝ่ายเสรีนิยมมีปัญหาทันทีถ้าเราตรวจสอบโลก จริง เช่นวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ที่มาจากความล้มเหลวของกลไกตลาด หรือถ้าเราดูพฤติกรรมในโลกจริงของพวกเสรีนิยม เราจะเห็นว่าเขาเป็นพวกสองมาตรฐาน หน้าไหว้หลังหลอก พูดว่ารัฐไม่ควรใช้งบประมาณบริการคนจน แต่แอบใช้งบประมาณรัฐเพื่อการทหาร อุดหนี้คนรวยหลังวิกฤต หรือจ่ายเงินเดือนสูงๆ ให้ตนเองเสมอ
 
ยิ่งกว่านั้น เนื่องจากพวกเสรีนิยมมักถูกคัดค้านจากคนส่วนใหญ่ในสังคมที่เสียประโยชน์จาก ตลาดเสรี เขาไม่สามารถใช้ประชาธิปไตยในการผลักดันนโยบายได้ ต้องอาศัยอำนาจเผด็จการเพื่อผลักดันแนวของเขาเสมอ รัฐประหาร 19 กันยาเป็นตัวอย่างที่ดี เพราะทำไปเพื่อทำลายการบริการคนจนโดยรัฐ ทำไปแล้วก็นำพวกเสรีนิยมไปเป็นรัฐมนตรีและสมาชิกสภาเถื่อน จ่ายเงินเดือนให้ตนเองเป็นแสน ขณะที่อ้างว่าการงบประมาณรักษาพยาบาลให้คนจน "ทำลายวินัยการคลัง"
 
และล่าสุดก็รีบ ประกาศว่าจะนำมหาวิทยาลัยรัฐออกจากระบบไปอยู่ภายใต้กลไกตลาด เราจะสังเกตเห็นว่าการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบไม่เป็นที่ยอมรับโดยนักศึกษา อาจารย์ และพนักงานส่วนใหญ่ ซึ่งทำให้รัฐบาลชวนและทักษิณมีปัญหาในการผลักดันนโยบายนี้ แต่พอเผด็จการทหารเข้ามาก็อนุมัติอย่างหน้าด้านหน้าตาเฉยเลย ไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่เลย
 
แต่คนอย่างรอง อธิการบดีจุฬาฯโกหกว่ามี "ประชามติเห็นชอบ" ทั้งๆ ที่ความจริงตรงกันข้าม และในกรณีหลายมหาวิทยาลัยต่างจังหวัด ผู้ที่คัดค้านการออกนอกระบบจะถูกขู่และปรามจากผู้บริหารอีกด้วย สรุปแล้วเสรีภาพทางวิชาการกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบเป็นเรื่องตรงข้าม กันเสมอ
 
ในเรื่อง ประสิทธิภาพ ในประการแรกคำว่า "ประสิทธิภาพ" จะมีหลายความหมาย คืออาจเน้นประสิทธิภาพในการ
กอบโกยกำไรเป็น หลัก (ประสิทธิภาพแนวเสรีนิยม) หรือประสิทธิภาพของการบริการคนส่วนใหญ่ที่ยากจน(ประสิทธิภาพแนวสังคมนิยม) ถ้าตามนิยามเสรีนิยมที่เน้นกำไร ประสิทธิภาพมาจากการลดจำนวนพนักงาน บังคับให้คนงานที่เหลือทำงานหนักขึ้น และมาจากการตัดการบริการที่ไม่สร้างกำไร พร้อมเพิ่มค่าบริการอีกด้วย นี่คือสิ่งที่นายทุนต้องทำกันเพื่อแข่งขันในกลไกตลาด
 
จากมุมมองนี้เรา จะเห็นได้ว่าการนำกลไกตลาดเข้ามาในมหาวิทยาลัยผ่านการออกนอกระบบ จะมีผลในการนำการแข่งขันแบบตลาดเข้ามา จะต้องมีการตัดค่าจ้างสวัสดิการให้พนักงานมหาวิทยาลัย (แต่อาจเพิ่มให้ฝ่ายบริหารหรือครูเด็ดๆ บางคนที่เลียก้นผู้บริหารเก่ง) จะต้องมีการตัดรายวิชาที่ "ไม่คุ้มทุน" เพราะมีคนเลือกเรียนน้อย เช่น ปรัชญา การเมืองฝ่ายซ้าย วรรณคดีไทย ฟิสิกส์แนวทฤษฏี ฯลฯ เป็นต้น พร้อมกันนั้นต้องมีการเพิ่มวิชาบริหารธุรกิจ วิชาที่จบง่ายๆ และรับประกันว่าไม่มี F (ดูมหาวิทยาลัยเอกชนไทยตอน นี้) และเริ่มสอนวิชาไร้สาระที่ขายได้ เช่น กอล์ฟสำหรับC.E.O. ซึ่งมีในมหาวิทยาลัยที่ออสเตรเลีย!!
 
นอกจากนี้จะต้อง มีการเพิ่มค่าเทอมและเพิ่มจำนวนนักศึกษา ในขณะที่ไม่เพิ่มจำนวนหนังสือในห้องสมุด และไม่เพิ่มอาจารย์ ผลคือการสอนในห้องใหญ่ๆ แบบท่องจำ แทนการแลกเปลี่ยนในห้องเล็กๆ และนักศึกษาจะต้องแย่งอุปกรณ์และหนังสือ ทั้งหมดนี้เพราะต้องการลดค่าใช้จ่ายรัฐที่มาจากการเก็บภาษี คนรวยจะได้จ่ายภาษีน้อยลงและรวยมากขึ้น บทสรุปจากการนำมหาวิทยาลัยไปภายใต้กลไกตลาดจากประเทศตะวันตกคือ สัดส่วนนักศึกษาจากครอบครัวกรรมาชีพลดลงเพราะต้นทุนการเรียนสูงเกินไป ทั้งๆ ที่มีการอ้างอิงว่าจะมีทุนพิเศษให้คนจนซึ่งไม่เคยเพียงพอ และคุณภาพการเรียนการสอนลดลง
 
กลไกตลาดไร้ ประสิทธิภาพในการบริการการศึกษาให้พลเมืองที่ไม่ใช่คนรวย ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ นี่คือสาเหตุที่รัฐทั่วโลกต้องเข้ามาจัดการเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนถ้าจะ ให้พลเมืองอ่านออกเขียนได้ แต่มันไม่ใช่แค่เรื่องการศึกษา ระบบการขนส่งมวลชน และระบบการรักษาพยาบาลก็เป็นอย่างนั้นด้วย ถ้าเปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริการสาธารณสุขในระบบรัฐสวัสดิการอังกฤษกับ ระบบตลาดเสรีในสหรัฐอเมริกา จะพบว่าระบบอังกฤษใช้ค่าใช้จ่ายต่อหัวครึ่งหนึ่งของสหรัฐแต่บริการทุกคน ส่วนของสหรัฐแพงมากแต่พลเมืองหลายๆ ล้านคนไม่ได้รับการบริการเลย … .ใน กรณีการขนส่งมวลชน รถมันติดในกรุงเทพฯ มากกว่าในเมืองของตะวันตกหรือญี่ปุ่น เพราะในประเทศเหล่านั้นรัฐลงทุนสร้างระบบขนส่งมวลชน แต่ในกรณีไทย รัฐปล่อยวาง ตัวใครตัวมัน ใครมีรถเบนซ์กับคนขับรถก็สบาย ถ้าสร้างรถไฟไฟฟ้าก็สร้างระหว่างร้านค้าเท่านั้น และนักการเมืองก็กินส่วนแบ่งอีก นอกจากนี้รัฐมนตรีและชนชั้นสูงมีตำรวจกั้นรถให้ ไม่ต้องทนกับสภาพรถติด กลไกตลาดกับอภิสิทธิ์และความเหลื่อมล้ำไปด้วยกันเสมอ
 
กลไกตลาดไร้ ประสิทธิภาพเพราะมันมองเห็นแต่อำนาจการซื้อ ซึ่งแปลว่ามองไม่เห็นคนส่วนใหญ่ที่ยากจน มันจึง
ตอบสนองความต้อง การของคนส่วนใหญ่ไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นตลาดจะสื่อความต้องการที่จะซื้อในปัจจุบัน ซึ่งกระตุ้นการผลิตในอนาคต มันตอบสนองความต้องการปัจจุบันไม่ได้ มันทิ้งช่วงเวลาห่าง ไม่เหมือนการวางแผน และเมื่อการผลิตถูกกระตุ้นจากตลาดโดยไม่วางแผน ในที่สุดมันนำไปสู่การผลิตล้นเกินเสมอ ตัวอย่างความล้มเหลวของตลาดมีมากมาย เช่น วิกฤตการผลิตล้นเกินที่ทำให้เศรษฐกิจเอเชียพังในปี 2540 การที่ไฟฟ้าดับในรัฐ California การที่ รถไฟอังกฤษไม่มีความปลอดภัย หรือสภาพจราจรในกรุงเทพฯ… แต่ทำไมพวกเสรีนิยมยังโกหกเราตลอดว่าตลาดมีประสิทธิภาพ?
 
เพราะอะไรด้วย ที่พวกเสรีนิยมเห่าหอนว่าต้องลดบทบาทรัฐ แต่กลับวิ่งเต้นเพิ่มงบประมาณรัฐในการทำสงคราม หรือเพิ่มศาล ทหาร ตำรวจ คุก และสวัสดิการสำหรับคนชั้นสูงของสังคม เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานาธิบดี และกษัตริย์? และทำไมมีการรณรงค์ให้ใช้รัฐเพื่อควบคุมเสรีภาพทางตลาดในการลอก แบบการผลิตภายใต้การอ้างลิขสิทธิ์??? มันขัดแย้งไหม? ขัดแย้งแน่ แต่มันมีเหตุผล ถ้าเราจะเข้าใจธาตุแท้ของแนวเสรีนิยม เราต้องใช้มุมมองชนชั้นมาจับ เพื่อให้เห็นว่าแนวเสรีนิยมเป็นแนวคิดที่รับใช้และกำเนิดมาจากผลประโยชน์ชน ชั้นนายทุนล้วนๆ
 
นักเสรีนิยมส่วน ใหญ่มองว่าควรนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เพื่อที่จะลดบทบาทและภาระของรัฐในเรื่องการบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา เขาเชื่อว่าถ้ารัฐลดงบประมาณลงในเรื่องนี้ และในเรื่องการบริการคนจนทั่วไป จะช่วยให้ธุรกิจเอกชนไทยฟื้นตัวด้วยเหตุที่รัฐจะสามารถลดภาระภาษีที่เอกชน และคนรวยต้องจ่าย และรัฐจะได้ไม่แย่งกู้เงินจากก้อนเดียวกับเอกชน ซึ่งอาจช่วยให้เอกชนกู้เงินได้ง่ายขึ้นในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงด้วย ดังนั้นการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบกระทำไปเพื่อลดภาระงบประมาณรัฐและการเก็บ ภาษีจากกลุ่มทุนและคนรวยเป็นหลัก นี่คือความหมายแท้ของคำขวัญที่บอกว่า "รัฐต้อง สร้างวินัยทางการเงิน"
 
ลึกๆ แล้วนักเสรีนิยมที่มีสมองจะไม่ต้องการให้มหาวิทยาลัยต้องสูญเสียรายได้จาก การลดงบประมาณรัฐ เพราะเขามองว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการพัฒนาความสามารถในการแข่ง ขันของธุรกิจไทย ดังนั้นเขาจึงหวังว่ามหาวิทยาลัยจะหารายได้เองมาทดแทนส่วนที่ลดลงจากรัฐ (รัฐไทยต้องการลดภาระในงบประมาณมหาวิทยาลัยถึง 50%) การหา รายได้เสริมดังกล่าวจะมาจากการเก็บค่าเล่าเรียนแพงขึ้นและการรับเหมาทำการวิ จัย หรือการขายวิชาและปริญญา ซึ่งในที่สุดมีผลในการทำลายมาตรฐานทางวิชาการสำหรับสังคมทั่วไปอยู่ดี
 
นอกจากการลดภาระ ภาษีแล้ว นักเสรีนิยมมีอีกหนึ่งสาเหตุที่ต้องการแปรรูปบางสถาบันของรัฐ (ยกเว้นกองทัพ ศาล
ตำรวจ และสถาบันกษัตริย์) ในเรื่องของการบริหารบุคคล นักเสรีนิยมต้องการ "ตลาดแรง งาน" ที่มีความ "คล่องตัว" เพราะเขามองว่าการซื้อแรงงาน "อย่าง เสรีและคล่องตัว" ในราคาถูกจะเพิ่มประสิทธิภาพของ การใช้งบประมาณ ทั้งหมดนี้หมายความว่าเขาไม่ต้องการกฎเกณฑ์ใดๆ หรือสหภาพแรงงาน ที่เป็นอุปสรรคในการปลดคนออก โยกย้ายตำแห่ง หรือให้คุณให้โทษเพื่อฝึกให้แรงงานเชื่อง ดังนั้นวิธีบริหารต้องเพิ่มแรงจูงใจทางการเงินให้กับผู้บริหารระดับสูง ต้องไม่มีสหภาพแรงงาน ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ต้องทำลายความมั่นคงในการทำงาน ต้องตัดสวัสดิการ และงานใดเปลี่ยนเป็นการรับเหมาช่วงในราคาถูกก็ควรทำ
 
สรุปแล้ว หัวใจของแนวคิดที่จะนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบคือการลดงบประมาณรัฐ และการเพิ่มอำนาจในการ
บริหารของผู้ บริหารมหาวิทยาลัย แต่ทำไมไม่มีนักเสรีนิยมไหนกล้าสารภาพความจริงนี้?? ไม่ว่า จะเป็น อานันท์ ปันยารชุน ชัยอนันต์ สมุทวณิช นายกรัฐมนตรีเผด็จการ อดีตนายกชวน อดีตนายกทักษิณ หรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั่วไป??คนเหล่านี้ล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพยายามนำมหาวิทยาลัยออก นอกระบบ
 
คงเป็นเพราะ นักการเมืองและนักวิชาการเสรีนิยมต้องการหลอกประชาชนไทย เขากลัวว่าถ้าพูดตรงๆ ว่าหัวใจของเรื่องคือการลดงบประมาณรัฐ และการเพิ่มการขายบริการทางวิชาการในตลาด คนส่วนใหญ่จะไม่พอใจ เขาจึงไม่กล้าพูดตรงๆและเลือกที่จะเบี่ยงเบนประเด็น ไปแกล้งเสนอว่ามันจะเพิ่ม "เสรีภาพของมหาวิทยาลัย" พร้อมกับอาศัยกลไกเผด็จการในการผลักดัน
 
ในยุคนี้การมี เสรีภาพทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาของไทยน่าจะเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องสำคัญด้วยถ้าจะสร้าง
สังคมอารยะที่ ก้าวหน้า แต่ต้องรายงานว่าทุกวันนี้มหาวิทยาลัยของเราขาดเสรีภาพ ไม่เชื่อก็ไปดูพฤติกรรมของฝ่ายบริหารต่อขบวนการนักศึกษาในจุฬาฯและ หลายมหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดก็ได้ เผด็จการที่ว่านี้กระจายไปทั่วและกดขี่ทั้งนักศึกษา พนักงาน และอาจารย์ ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระดับคุณภาพการศึกษา ตราบใดที่ไม่มีเสรีภาพทางวิชาการ ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนในไทยที่จะมีคุณภาพเทียบเท่ามหาวิทยาลัยดีๆ ในต่างประเทศได้ เพราะคุณภาพมาจากเสรีภาพที่จะคิดเองเป็น เสรีภาพที่จะถกเถียง และเสรีภาพที่จะรวมตัวกันและแสดงออก
 
แหล่งสำคัญของ อิทธิพลมืดในมหาวิทยาลัยคือกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือเอกชน ซึ่งพวกเจ้าพ่อเหล่านี้สมคบคิดร่วมกับนักการเมืองในรัฐบาลเผด็จการปัจจุบัน เพราะเกือบทุกคนเข้าไปในรัฐสภาเถื่อนของทหาร รับเงินเดือนซ้ำซ้อนในลักษณะที่ขาดจริยธรรม และมีส่วนในการบริหารทรัพย์สินมหาศาลของบางมหาวิทยาลัยอย่างไม่โปร่งใส
 
สหภาพแรงงานเป็น เรื่องธรรมดาและเป็นเรื่องน่ายกย่อง น่าภาคภูมิใจ ในหมู่อาจารย์มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป หรือออสเตรเลีย การมีองค์กรของลูกจ้างแบบนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเราไม่ใช่ทาส แต่พวกหัวศักดินาแบบไทยๆ รับไม่ได้ที่จะให้อาจารย์และพนักงานอื่นรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมอย่างเท่า เทียมกันในการบริหารมหาวิทยาลัยพวกนี้มักจะใช้ข้ออ้างหลอกลวงโกหกว่าอาจารย์ หรือนักวิชาการไม่สมควรที่จะมีการรวมตัวแบบสหภาพแรงงาน แต่ลึกๆ แล้วสาเหตุแท้ก็เพราะเขากลัวว่าอำนาจเบ็ดเสร็จของฝ่ายบริหารจะถูกลดทอนให้ น้อยลง และเขากลัวว่ากลุ่มทุนเอกชนจะไม่สนใจลงทุนในธุรกิจที่มีสหภาพแรงงาน ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างอะไรจากการตั้ง "เขตพิเศษ" สำหรับอุตสาหกรรมส่งออกที่ "ปลอดสหภาพ" มันเป็นเรื่องของการคุมคนเพื่อใช้งานโดยตรงเท่านั้น ดังนั้น อาจารย์ทั้งหลายในมหาวิทยาลัยคงต้องคิดหนักว่าจะเป็นทาส เป็นวัวเป็นควาย หรือจะมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ผ่านการสร้างสหภาพแรงงาน
 
ถ้าอาจารย์ มหาวิทยาลัยไม่มีสิทธิเสรีภาพในการตั้งสหภาพแรงงาน และถ้านักศึกษาไม่มีเสรีภาพที่จะเคลื่อนไหว
คัดค้านการออกนอก ระบบและสิ่งอื่นๆ ที่ชั่วร้าย ประชาธิปไตยจะรุ่งเรืองในสังคมทั่วไปได้อย่างไร? เราจะ เห็นชัดว่าผู้ที่คัดค้านเผด็จการ 19 กันยา ต้องคัดค้านการที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วย และผู้ที่คัดค้านการออกนอกระบบต้องสู้กับเผด็จการ มันเป็นเรื่องเดียวกัน
 
การต่อสู้กับการ นำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ จะไม่จบกับการผ่านพ.ร.บ. แต่เราจะต้องต่อสู้ต่อไประยะยาว ใน
มหาวิทยาลัยทั่ว ประเทศเราต้องลุกขึ้นกบฏ ต้องฝืนกฏหมายและระเบียบเถื่อนที่ให้ประโยชน์กับนายทุนหรือผู้บริหาร เราต้องสร้างองค์กรเคลื่อนไหวหลากหลาย ต้องคัดค้านการขึ้นค่าเทอม ปกป้องความหลากหลายและคุณภาพการศึกษา ต้องผลักดันให้มีการสอนในห้องเล็ก เสนอให้ยกเลิกข้อสอบปรนัยที่ไม่ใช้ความคิดอาศัยแต่ท่องจำ ประท้วงเมื่อห้องสมุดมีหนังสือไม่พอ ต้องปกป้องมาตรฐานการจ้างงาน และต้องร่วมกันทำให้มหาวิทยาลัยปั่นป่วนอย่างสร้างสรรค์ด้วยการเมืองของภาค ประชาชน ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างเสรีภาพทางวิชาการ และเพื่อสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นธรรม

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net