นักสิทธิมนุษยชนเกาหลีแนะ รัฐต้องสร้างพื้นที่ให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ประชาไท-29 พ.ย.2549 เมื่อวันที่ 28 พ.ย.ฟอรั่มเอเชียได้จัดเวทีระดับชาติ ชื่อ Asia Regional Human Rights Defender is Forum ณ สหประชาชาติ ซึ่งจะมี 2 วันเพื่อหาประเด็นหรือข้อสรุปเกี่ยวกับเเผนปฏิบัติเรื่องสิทธิมนุษยชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด

 

Kyung-Seo Park ชาวเกาหลีได้พูดในประเด็น Role of governments in protecting Human Rights defenders

 

เขากล่าวว่า ตอนนี้เราพูดภาษาเดียวกันคือภาษาของนักสิทธิมนุษยชน และมาแลกเปลี่ยนประเด็นด้วยกันเพื่อที่จะยืนหยัดเพื่อหลักสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ สำหรับในเกาหลีนั้นได้กระตือรือร้นในเรื่องนี้ คนจากเกาหลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการของสหประชาชาติ และอีกหนึ่งคนที่ได้เป็นเลขาธิการของ UNESCAP ด้วย

 

ที่ผ่านมาForum Asia เป็นผู้ประสานงานและก็สร้างเครือข่ายสำหรับประเทศที่สนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งตอนนี้ก็พยายามทำให้เกิดการรวมตัวกันในอนุภูมิภาคต่างๆ แต่ว่ายังมีในบางภูมิภาค ในบางประเทศที่ยังไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้

 

เเต่ถึงอย่างไร ต้องตระหนักว่าในเส้นทางนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนจะต้องเต็มไปด้วยอุปสรรคไม่ว่าจะอยู่ภายใต้การถูกคุกคาม ละเมิดสิทธิ เป็นเส้นทางระยะยาวที่ทุกคนจะต้องต่อสู้เพื่อให้ผ่านพ้นไปได้ เพื่อที่จะส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนของเรา

 

Kyung-Seo Parkยกตัวอย่างประเทศ เกาหลีใต้ ว่าถึงแม้ว่าระบบสิทธิมนุษยชนจะเป็นตัวแทนของประเทศที่มีบทบาทสำคัญและมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลกับประชาสังคม เกาหลีใต้กำลังพยายามทำอย่างนั้น เพื่อที่เป็นการจะคุ้มครอง ส่งเสริมคนที่ทำงานเรื่องสิทธิ และการที่ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของแต่ละประเทศพยายามที่จะประสานงานระหว่างรัฐกับประชาสังคม นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่จะนำไปสู่การคุ้มครอง และปกป้องสิทธิ

 

แน่นอนประเด็นนักปกป้องสิทธิก็เป็นประเด็นค่อนข้างซับซ้อน แต่ในฐานะประชาสังคมก็ต้องมีความคาดหวังว่ารัฐบาลจะมีมาตรการอะไรพิเศษในการคุ้มครองสิทธิ แต่แน่นอนในความเป็นจริงคือ ไม่มีคำนิยามหรือกรอบด้านกฎหมายอันไหนที่ใช้ได้ด้วยกันทั้งหมดต่อเรื่องนักปกป้องสิทธิ เป็นเเค่การตระหนักเท่านั้น ไม่มีกรอบทางด้านกฎหมายที่ทุกประเทศสามารถทำได้

 

ถึงแม้ปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิ มาตราที่หนึ่ง ที่บอกว่า "ทุกๆ คนมีสิทธิแม้ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคล สมาคม หรือคนอื่นก็ตามในการทำงานเพื่อจะส่งเสริม ต่อสู้เพื่อการคุ้มครอง และการตระหนักถึงสิทธิมนุษยชน รวมถึงการต่อสู้ว่าด้วยเสรีภาพในการทำเพื่อที่จะให้สิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นได้รับการตระหนักทั้งระดับประเทศและระหว่างประเทศ

 

ในปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชนของ UN ปี 1998 พูดอย่างชัดเจนว่า ประเทศสมาชิกจะต้องให้การยอมรับกฎหมาย หรือมาตรการ หรือรูปแบบอื่น เพื่อที่จะสร้างการยอมรับกับคนที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งสามารถทำได้และควรจะทำ ถึงแม้ว่าคนจะมองว่า ปฏิญญาว่าด้วยการคุ้มครองนักสิทธิมนุษยชนของ UN ปี 1998 เป็น Soft law option เป็นกฎหมายที่มีทางเลือก บังคับใช้ไม่ได้กับประเทศสมาชิก แต่ว่าในการประชุมสมัชชา UNในครั้งที่ 53 ก็ได้มีฉันทามติที่จะบอกว่า จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเฉลิมฉลองปฏิญญาสิทธิมนุษยชน

 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันรัฐบาลของอินเดียให้การรับรองปฏิญญา (2005) อันนี้ คือปกป้องคุ้มครองผู้หญิงจากอันตรายในครอบครัว ปฏิญญาอันนี้ให้การตระหนักว่า ความรุนเเรงในครอบครัวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง

 

นอกจากประเด็นเรื่องผู้หญิงเเล้ว ก็มีข้อเสนอเเนะว่าให้รัฐระลึกไว้เสมอว่าต้องสร้างความมั่นคง สร้างพื้นที่ในการทำกิจกรรมของนักปกป้องสิทธิ ถึงเเม้ในความเป็นจริงจะเกิดขึ้นได้ยาก มิหนำซ้ำนักปกป้องสิทธิเหล่านี้ก็ยังถูกมองว่าเป้นกลุ่มที่คุกคามความมั่นคงของประเทศ รัฐพยายามที่จะใช้กฎหมายทำร้ายประชาชน เช่น การจับตัว คุมขัง เป็นต้น นี่เป็นมุมมองที่นักมนุษยชนส่วนหนึ่งมองรัฐว่าเป็นอย่างนี้

 

ถ้ารัฐเข้าใจว่านักปกป้องสิทธิเป็นผู้ที่สร้างความสงบและความเท่าเทียมเเก่สังคมแล้วทั้งสองกลุ่มก็จะไม่เป็นศัตรูกัน และหันมาร่วมมือกันเพื่อปกป้องสิทธิในที่สุด

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท