Skip to main content
sharethis

การสัมมนา "คนรุ่นใหม่กับการปฏิรูปการเมือง" ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ได้มีการเสวนาหัวข้อ "เศรษฐศาสตร์การเมืองขั้นพื้นฐาน" ซึ่งมี รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรนั้น มีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

รศ. ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

การสัมมนา "คนรุ่นใหม่กับการปฏิรูปการเมือง" ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมานั้น ได้มีการเสวนาหัวข้อ "เศรษฐศาสตร์การเมืองขั้นพื้นฐาน" ซึ่งมี รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรนั้น มีรายละเอียดดังนี้ ...

 

 

วัตถุนิยมประวัติศาสตร์

 

แนวทางการวิเคราะห์ มาร์กซ์ใช้วัตถุนิยมประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านพัฒนาการของสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย เช่น ก่อนที่จะมีทุนนิยมก็เป็นสังคมศักดินา เป็นต้น มีการเปลี่ยนแปลง มีการเกิด และมีการดับ บางคนเชื่อว่ามันจะอยู่กับเราตลอดไป แต่ความจริงแล้วมีเกิดต้องมีดับ

 

ในการศึกษาทางด้านวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มองสังคมดั้งเดิม เช่น สังคมชนเผ่าไม่มีชนชั้น จนถึงการกลายมาเป็นสังคมที่เป็นชนชั้น

 

มาร์กซ์มองการเปลี่ยนผ่านของสังคม เมื่อไม่มีชนชั้นแล้วกลายมามีชนชั้น ก็ต้องกลับไปไม่มีชนชั้นได้เช่นกัน ซึ่งหมายถึงการพัฒนาสังคมขั้นสูงสุด เขาไม่เคยบอกว่าสังคมนิยมคืออะไร แต่นิยามว่าสังคมคอมมิวนิสต์คือความเท่าเทียม  สังคมนิยม คนใช้ชีวิตเช้าทำงาน บ่ายตกปลา เย็นอ่านวรรณกรรม มนุษย์ต้องมีเวลาให้กับตนเอง ต่างกับสังคมทุนนิยมที่นายทุนเอาไปใช้หมด เป็นแรงงานที่ถูกแปลกแยก แยกความเป็นมนุษย์คือไม่ใช้สมองแต่เน้นการใช้แรงงาน ชาวนามองว่าการย้ายแรงงานจากเมืองสู่ชนบทชีวิตจะดีขึ้น แต่จากการวิจัยพบว่าคนที่ทำงานในโรงงาน ลูกหลานจบมาก็เข้าโรงงาน เพราะโอกาสไม่เท่าเทียม

 

พลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต

 

พลังการผลิตที่สัมพันธ์กับความสัมพันธ์ทางการผลิต ตัวอย่างในสังคมชนเผ่าจะมีการล่าสัตว์  มีเครื่องมือในการล่า เช่น ของที่หาได้จากธรรมชาติหมายความว่าคนมีเครื่องมือไปล่าสัตว์  การล่าสัตว์คือคนกับธรรมชาติ แต่อีกมิติหนึ่งคือคนกับคนต้องมาสัมพันธ์กัน ไปล่าด้วยกัน  เป็นความสัมพันธ์แบบเครือญาติ แบ่งปัน ไม่มีการสะสมส่วนเกิน ใช้หมดไป 

 

ส่วนในระบบศักดิ์นา เป็นสังคมชนชั้น มีชนชั้นนำ ขุนนาง ชั้นรองลงมาคือ ไพร่  ไพร่จะต้องพึ่งพิงขุนนางทั้งเสียค่าเช่าและการเกณฑ์แรงงาน  ขุนนางอยู่ได้จากค่าเช่าที่เก็บมาได้จากชาวนา  หรือที่เรียกว่าส่วนที่เกินที่ผลิตโดยชาวนา โดยอ้างการเป็นเจ้าของที่ดินและการคุ้มครอง ขุนนางได้ค่าเช่ามาจากชาวนาและต้องส่งค่าส่วยให้กับกษัตริย์ จะเห็นว่าสังคมที่ผลิตได้อยู่บนพื้นฐานการเปรียบคนอื่น อยู่บนพื้นที่เดียวกับระบบทุนนิยม

 

การเข้ามาของระบบทุนนิยม

 

การเข้าสู่ทุนนิยม  มีต้นแบบในยุโรป โตขึ้นมาจากการล่มสลายของระบบศักดินา เข้ามาผ่านกระบวนการต่อสู้กับชนชั้นศักดินาในเชิงวัฒนธรรม และที่เข้ามาคือ วัฒนธรรมของเหตุผล  ใช้การต่อสู้ระหว่างเหตุและผล คือกระบวนการ Renaissance

           

การใช้เหตุและผลคือการเชื่อในมนุษย์ ในท้ายที่สุดเหตุผลชนะ นำมาสู่ปรากฏการณ์ของการพิสูจน์ เช่น โคลัมบัสที่ออกเดินทางค้นพบอเมริกา พบชาวอินเดียแดง และมีชาวโปรตุเกสค้นพบเส้นทางเดินเรือไปยังอินเดีย มะลากา อินโดนีเซีย ถือเป็นยุคการขยายตัวของระบบการค้า หรือลัทธิพ่อค้านิยม โดยใช้อำนาจรัฐ เพื่อไปสร้างอาณานิคม การค้นพบเส้นทางเดินเรือนำมาสู่ลัทธิล่าอาณานิคมที่เข้ามาเอาเปรียบทรัพยากรและแรงงานราคาถูก อีกทั้งนำไปสู่การชื้อขายทาส เกิดพ่อค้ากับอำนาจรัฐ

           

คนที่รวยเก่าคือขุนนาง มีเงินแต่ไม่มีการสละทุน และคนที่รวยใหม่คือพ่อค้า และมีการสละสมทุน

 

การล่าอาณานิคม นำมาสู่การค้าและนำมาสู่กลุ่มชนนั้นใหม่คือกลุ่มคนรวยใหม่  และแปลงตัวเองมาเป็นนายทุน นายทุนเป็นคนผลิตสินค้าและพ่อค้นนำสินค้าไปขาย เช่น โลตัสไม่ได้ผลิตเอง แต่จะมีผู้ผลิต ผลิตตามความต้องการ หมายความว่าการเป็นนายทุนไม่ได้ทำการค้าขาย แต่มาทำหน้าที่ลงทุน เป็นผู้ที่ทำให้เกิดการผลิตสินค้า ในการผลิตสินค้าจะเป็นไปได้ คือการมีโรงงาน การเข้ามาของระบบทุนนิยม คือโรงงาน เป็นภาคการผลิตอุตสาหกรรม

 

การผลิตของโรงงานใช้ระบบ PUTTING OUT คือ ระบบการรับช่วงการผลิต พ่อค้านำวัตถุดิบเข้าไปใช้ในชนบทแล้วชาวบ้านผลิต ทุนไม่ได้ครอบงำเพราะเน้นแรงจูงใจ แต่ทุนนิยมเต็มตัว คือการป้อนผู้ผลิตเข้ามาในโรงงานในช่วงแรกเกิดขึ้นในเมือง เงื่อนไขในการผลิตจะต้องมีแรงงาน กลายเป็นชนชั้นกรรมาชีพ คือ คนที่ไม่มีปัจจัยการผลิต ที่สำคัญ คือ ที่ดิน ทำให้ต้องมีการขายพลังแรงงาน และความสามารถในการผลิต

 

ที่มาของแรงงาน กรรมชีพ

 

คนงาน คำนิยาม คือชนชั้นกรรมาชีพ คนที่จะมาเป็นคนงานได้คือ จะต้องถูกแยกออกจากที่ดิน (ทฤษฏีตะวันตก) คนงานในตะวันตก  นายทุนจะหาคนงานได้แห่งแรกคือชนบท แต่จะขัดแย้งกับขุนนางที่ต้องอาศัยแรงงานในการทำนา รายได้จากค่าเช่า ในประสบการณ์ของอังกฤษ ความขัดแย้งเหล่านี้ประนีประนอมกันได้ คือ เมื่ออังกฤษสร้างโรงงานในเมือง ยุคแรกคือ โรงงานทอและทักผ้า ผลประโยชน์ลงตัวกัน  เมื่ออุตสาหกรรมทอและถักเติบโตต้องมีวัตถุดิบคือ ขนแกะ ก็ต้องไปส่งเสริมให้ราคาของขนแกะสูงขึ้นกว่าข้าวสาลี เมื่อขุนนางเป็นเจ้าของที่ดินก็ต้องหันเหการผลิตจาการให้เช่าที่ดินมาเป็นการเลี้ยงแกะ   แต่ต้องเลี้ยงในที่โล่งกว้าง ทำให้ขุนนางล้อมรั้วและสร้างที่ดินผืนใหญ่ กระบวนการล้อมรั้วที่ดิน ทำให้ชาวนาไม่มีที่นาไม่มีงาน ถือว่าเป็นชาวนาที่ล้มลายในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต ทางเลือก คือการอพยพเข้าเมือง การโยกย้ายจากชนบทเข้าเมือง เป็นการโยกย้ายที่รุนแรง เนื่องจากชาวบ้านถูกผลักออกจากที่ดินและชนบท ชาวนาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชั้นกรรมชีพ

 

ที่ดินที่ถูกแปลงเป็นที่เลี้ยงแกะ ส่วนที่ดินในหมู่บ้านส่วนหนึ่ง เกิดการสร้างระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขณะที่แรงงานไหลออก ทุนได้เข้าครอบงำตะวันตก กลายเป็นเกษตรแบบทุนนิยม คือ นายทุนเป็นเจ้าของที่ดิน ทำการผลิตโดยเครื่องจักรและแรงงาน ( สร้างการกดดันและเบียดขับจากเกษตรสมัยใหม่)

 

ชนชั้นกรรมชีพส่วนหนึ่งมาจากชนบท ชนชั้นคนงานในอังกฤษมีสองส่วน คือแรงงานชนบท และแรงงานมีฝีมือในเมือง กลุ่มที่อพยพมาจากชนบทที่สำคัญ คือเป็นแรงงานที่ไม่มีฝีมือ  แต่ว่าชนชั้นแรงงานของอังกฤษนอกจากชาวนาแล้วยังมีแรงงานจากกลุ่มช่างฝีมือ  มีการรวมกลุ่มเป็นแรงงานอาชีพ เน้นการถ่ายทอดจากบิดาสู่ลูก แต่เมื่ออุตสาหกรรมรมเข้ามาพวกนี้ล้มละลายเนื่องจากใช้เวลามาก การต่อรองของคนกลุ่มนี้นำมาสู่การตั้งสหภาพแรงงานที่ตั้งมาจากคนที่มีทักษะ แต่สหภาพก็มีปัญหาเพราะเรียกร้องผลประโยชน์ของแรงงานที่มีทักษะเพียงอย่างเดียว และแรงงานส่วนล่างก็ลุกขึ้นมาจัดตั้งแรงงานไร้ฝีมือ  คือ การเข้าสู่ระบบทุนนิยม   

 

ระบอบทุนนิยม

 

การเข้าสู่ระบอบทุนนิยม 

 

-    เปลี่ยนมาสู่ระบบสาธารณรัฐ คือไม่ใช่ระบอบกษัตริย์ เกิดรัฐประชาชาติ เกิดความเป็นชาตินิยม นำมาสู่สงคราม การสร้างจิตสำนึกอุดมการณ์ชาตินิยมคือกระบวนการสร้างชาติ

 

-    การปกครองระบอบประชาธิปไตย คนที่เข้ามาสู่อำนาจได้คือนายทุน เพราะมีเงิน ระบอบนี้สร้างความชอบธรรมให้กับนายทุนที่จะเข้ามาสู่อำนาจ

 

-   กฎหมาย เกิดขึ้นในยุคทุนนิยม เป็นเรื่องการยอมรับสิทธิของคน แต่ในสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน  คนใดเขียนกฎหมายก็เอื้อต่อคนนั้น การเขียนกฎหมายสร้างภาพในความเท่าเทียมแต่ว่ามีข้อจำกัด เมื่อมีข้อจำกัดจะทำให้ดีกว่านี้ได้อย่างไร

 

-   ความเท่าเทียม ไม่เท่าเทียม เช่น นายทุนบอกว่าไม่ได้บังคับให้คนงานมาทำงานหากไม่พอใจค่าจ้าง   แต่ในความเป็นจริงต้องยอมรับ เพราะจะต้องขายแรงงานให้นายทุนคนใดคนใดคนหนึ่ง ระบบทุนนิยมมีเสรีภาพในทางการเมือง แต่ในทางเศรษฐกิจจะถูกบังคับ  นายทุนเลือกคนงานได้ แต่คนงานเลือกนายทุนไม่ได้

 

-   ทุนนิยมมีการขูดรีดทางชนชั้น เป็นการขูดรีดที่มองไม่เห็นหากไม่เข้าใจ เช่น ค่าจ้างที่นี้ต่ำก็ไปทำให้นายจ้างคนอื่น แต่แท้จริงเป็นสังคมการขูดรีด เพราะกำไรมาจากส่วนเกิน ไม่ได้มาจากการซื้อถูกขายแพง   คือจะต้องมีการสร้างความมั่งคั่งมาก่อน  นี้ไม่พ้นเรื่องการต่อสู้ทางชนชั้น  ในอดีตสังคมศักดินาก็มีการต่อสู้ เช่น หนีเข้าป่า  การต่อสู้ของทาสที่ได้รับชัยชนะ เช่น Spartacus แต่ชัยชยนะไม่ยั่งยืนเนื่องจากไม่มีการสร้างองค์กร เป็นการต่อสู้เฉพาะหน้า 

           

การต่อสู้ทางชนชั้น คือการเปลี่ยนแปลง  เป็นกระทำของโครงสร้าง  การต่อสู้ขั้นต้น คือการรวมกลุ่ม เช่นสหภาพแต่ท้ายที่สุดก็สมยอม การต่อสู้จะต้องอาศัยจิตสำนึกขั้นสูงกว่า การเมืองเป็นเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจ

           

 

การขูดรีดแรงงาน

 

อธิบายการขูดรีดที่ง่ายที่สุด คือใช้แรงงาน 8 ชั่วโมง ผลิตสินค้ามีมูลค่าเมื่อขาย 400 บาท แต่นายทุนจ่ายค่าแรงให้ 200 บาท ดังนั้นส่วนเกิน คือ 200 บาท นายทุนได้รับไป ความสามารถในการผลิตมากว่าค่าจ้างที่ได้รับ รวมทั้งการจ่ายค่าจ้างจะจ่ายเป็นเดือน หมายความว่าเราทำงานผลิตค่าจ้างของเราก่อน ถึงมาจ่าย และส่วนเกินที่เหลือก็เอาไปขาย นายทุนได้มูลค่าส่วนเกิน มีผลต่อกระบวนการสะสมทุน ธุรกิจก็โตขึ้น เป็นโลกาภิวัตน์  นำมาสู่บริษัทข้ามชาติ ขยายตัวและโตออกไปนอกประเทศ เน้นการล่าอาณานิคมแบบสมัยใหม่  บริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่มากจาอเมริกา  ยุโรป ญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่นำโดยอเมริกา ล่าอาณานิคม โดยไปตั้งองค์กรใหม่ เรียกว่าองค์กรการค้าของโลก/WTO ส่งนักกฎหมาย หรือทำการลอบบี้รัฐบาล ร่างกฎระเบียบและบังคับให้ประเทศอื่นเข้ามาเป็นสมาชิก ปัจจุบันมี 149  ประเทศ และปีหน้าเวียดนามจะเข้าร่วม

           

แต่ใน WTO จะมี Green Room หรือห้องสีเขียว คือ เมื่อมีการต่อต้านของสหภาพแรงงาน บริษัทจะมีการตั้งสหภาพซ้อนและเรียกคนงานเข้ามาในห้องเพื่อเกลี้ยกล่อมให้เลิกเข้ากับสหภาพแรก

           

แต่ Green Room ของ WTO มี 6  ประเทศ หรือ G-6  เพื่อสร้างข้อตกลงและเคลื่อนไหวให้สมาชิกเห็นด้วย เน้นกรอบคิด  ในการเปิดเสรีทางการค้า การเงิน แต่ตอนนี้ WTO หยุด ไม่รู้ว่าจะมีการเจรจาเมื่อไร (  ประชุมครั้งสุดท้ายที่โดฮา เน้นเรื่องการเปิดเสรีด้านการเกษตร)  เมื่อ WTO หยุดชะงักก็เกิด FTA   เมื่อ เมื่อ 2 ปี ก่อนสหรัฐทำกับสิงคโปร์ พยามให้การทำ FTA ครั้งต่อไป ยอมรับ FTA ครั้งนี้  เหตุผล คือ นายทุนที่เข้ามาลงทุนที่สิงคโปร์คือสหรัฐ ไม่มีนายทุนชาติ และที่สิงคโปร์ใกล้ชิดกับสหรัฐเนื่องจากไม่มีเกษตรกรรม ไม่มีทรัพยากร ไม่ต้องสนอะไรแต่เน้นการเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมรม หากยึดสิงคโปร์ไม่ใช่เพื่อการค้า แต่เพื่อขยายการลงทุนของสหรัฐ

           

สุดท้าย อาจารย์วรวิทย์เน้นถึงการต่อสู้ของแรงงาน โดยคนงานต้องรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง และมีพลังสู้

 

"แต่หากไม่มีสหภาพแรงงาน ค่าแรงอาจจะถูกกดลง เช่น แรงงานพม่าถูกกดให้เหลือ 80 บาทต่อวัน  ดังนั้นต้องมีสหภาพแรงงาน เพื่อกดดันขยับค่าจ้างและสวัสดิการสังคม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้"  อาจารย์วรวิทย์ทิ้งท้ายไว้.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net