Skip to main content
sharethis

เดือน เม.ย. 2561 พบผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม 155,559 คน เพิ่มขึ้น 10,769 คน จากเดือน มี.ค. 2561 ส่วนอัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคม ม.33 ลดลงอยู่ที่ระดับ 23,953 คน จาก 24,238 ในเดือน มี.ค. 2561

ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

23 พ.ค. 2561 จาก ข้อมูลเศรษฐกิจแรงงาน ประจำเดือน เม.ย. 2561 โดยกองเศรษฐกิจการแรงงาน สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่าภาวะการจ้างงานในตลาดแรงงาน เดือน เม.ย. 2561 การจ้างแรงงานในระบบประกันสังคมมีผู้ประกันตน (มาตรา 33) จำนวน 10,941,422 คน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.97 เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย. 2560 ซึ่งมีผู้ประกันตน จำนวน 10,523,934 คน แสดงให้เห็นว่ามีผู้ใช้แรงงานเข้าสู่การทำงานเพิ่มขึ้นถึง 417,488 คน

สถานการณ์การจ้างงาน จากข้อมูล ณ เดือน เม.ย. 2561 มีลูกจ้างที่มีนายจ้างในระบบประกันสังคม (ม.33) จำนวน 10,941,422 คน มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.97 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือน เม.ย. 2560) ซึ่งมีจำนวน 10,523,934 คน หากพิจารณาอัตราการเปลี่ยนแปลง (%YoY) ของเดือน เม.ย. 2561 เทียบกับเดือน มี.ค. 2561 พบว่าในเดือน เม.ย. 2561 มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.97 ขยายตัวจากเดือน มี.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.52 สถานการณ์การจ้างงานขยายตัวมากกว่าร้อยละ 1 จึงถือว่าสถานการณ์การจ้างงานอยู่ในภาวะปกติ

สถานการณ์การว่างงาน (ผู้ว่างงาน หมายถึง ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม: SSO) จากข้อมูล ณ เดือน เม.ย. 2561 มีผู้ว่างงานจำนวน 155,559คน มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.22 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (เดือน เม.ย. 2560) ซึ่งมีจำนวน 147,838 คน และเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (เดือน มี.ค. 2561) ซึ่งมีจำนวน 144,790 คน โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 7.44 และหากคิดเป็นอัตราการว่างงานจากตัวเลขผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือน เม.ย. 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.42 มีอัตราเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราการว่างงานของเดือน มี.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.33 ทั้งนี้จากข้อมูลอัตราการว่างงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเดือน เม.ย. 2561 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 มีอัตราการว่างงานลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. 2561 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.2

สถานการณ์การเลิกจ้าง อัตราการเลิกจ้างลูกจ้างในระบบประกันสังคมมาตรา 33 คิดจากจ านวนผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้าง ต่อจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 33 เดือนเม.ย. 2561 ผู้ประกันตนที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากสาเหตุเลิกจ้างมีจำนวนทั้งสิ้น 23,953 คน คิดเป็นร้อยละ 0.22 มีอัตราเทียบเท่ากับเดือน มี.ค. 2561 ที่มีอัตราการเลิกจ้างลูกจ้างที่ร้อยละ 0.22 และมีอัตราเทียบเท่ากับเดือน เม.ย. ปีที่แล้ว ที่มีอัตราการเลิกจ้างลูกจ้างที่ร้อยละ 0.22

ส่วนข้อมูลจาก วารสารสถานการณ์ตลาดแรงงานประจำเดือน เม.ย. 2561 ระบุว่าในเดือน มี.ค. 2561 ความต้องการแรงงานในประเทศโดยรวมลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.02 โดยลดลงในอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารมากที่สุดและสำหรับการเดินทางไปทำงานต่างประเทศเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาพบว่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.15 ส่วนใหญ่เป็ นการเดินทางไปทำงานในภูมิภาคเอเชีย โดยมีไต้หวันเป็นตลาดแรงงานหลักซึ่งแรงงานไทยนิยมเดินทางไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

ความต้องการแรงงานผ่านบริการจัดหางานโดยรัฐ มีตำแหน่งงานรองรับ ณ เดือน มี.ค. 2561 จำนวน 29,626 อัตรา อุตสาหกรรมการผลิตต้องการแรงงานมากที่สุด ต้องการผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวช.-ปวส./อนุปริญญามากที่สุด โดยความต้องการแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ 53.33 รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 17.07 ภาคใต้ ร้อยละ 16.80 และภาคเหนือ ร้อยละ 12.80 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีความต้องการแรงงาน 37,491 อัตรา และเดือนก่อนหน้าที่มีความต้องการแรงงาน 31,193 อัตรา พบว่าความต้องการแรงงานลดลง 7,865 อัตรา และ 1,567 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 20.98 และ 5.02 ตามลำดับ

ด้านการสมัครงาน (มี.ค. 2561) พบว่าผู้สมัครงานมาใช้บริการ จำนวน 31,011 คน เป็นผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 45.90 รองลงมาคือ ปริญญาตรีและสูงกว่า ร้อยละ 23.92 ปวช.-ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 20.33 และประถมศึกษาและต่ำกว่า ร้อยละ 9.85 พิจารณาตามช่วงอายุ พบว่าผู้มาสมัครงานที่มีอายุไม่เกิน 24 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 32.27 รองลงมาคือ อายุระหว่าง 30 - 39 ปี ร้อยละ 30.82 อายุระหว่าง 25 – 29 ปี ร้อยละ 19.01 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผู้สมัครงาน 37,638 คน พบว่าผู้สมัครงานลดลง 6,627 คน คิดเป็นร้อยละ 17.61 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่มีผู้สมัครงาน 27,729 คน พบว่าผู้สมัครงานเพิ่มขึ้น 3,282 คน คิดเป็นร้อยละ 11.84

ด้านการบรรจุงาน (มี.ค. 2561)  พบว่ามีการบรรจุงานจำนวน 25,344 คน เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 44.72 รองลงมาคือ ปริญญาตรีและสูงกว่า ร้อยละ 23.27 ปวช. – ปวส./อนุปริญญา ร้อยละ 21.45 และประถมศึกษาและต่ำกว่า 10.56 อุตสาหกรรมที่มีการบรรจุงานมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต 9,303 คน การขายส่ง การขายปลีก ซ่อมยานยนต์ และจักรยานยนต์ 7,097 คน ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 2,695 คน กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน 1,345 คนการก่อสร้าง 737 คน อาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด ได้แก่ อาชีพงานพื้นฐาน (แรงงานด้านการผลิต พนักงานขายและผู้นำเสนอสินค้า) 3,865 คน รองลงมาคือ พนักงานบริการ พนักงานขาย 3,540 คน เสมียน เจ้าหน้าที่ 2,509 คน ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง 2,187 คน ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักรและผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 441 คน เมื่อพิจารณาระหว่างการบรรจุงานกับตำแหน่งงานว่าง พบว่าตำแหน่งงานที่ยังไม่ได้รับการบรรจุ มีจำนวน 4,282 อัตรา ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.– ปวส./อนุปริญญา โดยตำแหน่งที่ไม่ได้รับการบรรจุ ได้แก่ พนักงานขาย เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย ช่างเย็บด้วยมือและจักรทั่วไป

ในส่วนของความต้องการแรงงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง และองค์กรมหาชนผ่านทางเว็บไซต์ (มี.ค. 2561) (เป็นการรวบรวมข้อมูลตำแหน่งงานที่ประกาศรับสมัครหรือเปิดสอบเพื่อบรรจุ เข้ารับราชการ พนักงาน รวมถึงลูกจ้างของหน่วยงาน ประจำเดือน มี.ค. 2561) พบว่ามีความต้องการแรงงาน 958 อัตรา (1) ภาครัฐ มีความต้องการแรงงาน 951 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 99.27 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มลูกจ้าง 349 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 36.43 โดยต้องการตำแหน่ง คนงานทั่วไป มากที่สุด 86 อัตรา รองลงมาคือ กลุ่มข้าราชการ 331 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 34.55 ต้องการตำแหน่ง นักตรวจสอบภาษี มากที่สุด 160 อัตรา และกลุ่มพนักงาน (พนักงานราชการ 133 อัตรา พนักงานมหาวิทยาลัย 138 อัตรา) คิดเป็นร้อยละ 28.29 ต้องการตำแหน่ง อาจารย์ (ระดับมหาวิทยาลัย) มากที่สุด 101 อัตราและเมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษา พบว่าหน่วยงานภาครัฐต้องการผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่าเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 69.51 รองลงมาได้แก่ ระดับ ปวช.-ปวส. ร้อยละ 11.88 ระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 1.58 และไม่ระบุระดับการศึกษา ร้อยละ 17.03 (2) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีความต้องการแรงงาน 7 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 0.73 โดยเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทั้งหมด 7 อัตรา โดยต้องการ ตำแหน่งวิศวกร มากที่สุด 3 อัตรา และเมื่อพิจารณาตามระดับการศึกษา พบว่าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ต้องการผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 100

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงและองค์กรมหาชนมีความต้องการแรงงานลดลง โดยภาครัฐมีความต้องการแรงงานลดลงมากที่สุด จำนวน 3,587 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 79.04 รองลงมาคือ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีความต้องการแรงงานลดลง 641 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 98.92 และเมื่อเปรียบเทียบความต้องการแรงงานกับเดือนก่อนหน้า พบว่าภาครัฐมีความต้องการแรงงานลดลง จำนวน 513 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 35.04 ขณะที่หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น 7 อัตรา และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง และองค์กรมหาชนไม่มีความต้องการแรงงานเช่นเดียวกับเดือนก่อนหน้านี้

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net