SEAPA: สื่อกับการกำกับกันเองในสังคมที่แตกแยก

แวดวงสื่อสารมวลชนรู้กันดีว่าระบบการกำกับดูแลกันเองของสือมวลชนมีปัญหา ไม่สามารถควบคุมจริยธรรมกันเองได้ ทำให้ประชาชนขาดความเชือถือและมองข้ามความสำคัญของสือในฐานะที่เป็นกระจกส่องสังคมและหมาเฝ้าบ้าน อีกทั้งพัฒนาการด้านเทคโนโลยืการสื่อสารทำให้เกิดสื่อที่หลากหลายขึ้นบนพื้นที่ออนไลน์และสือสังคม (social media) บทบาทดั้งเดิมของสื่อในฐานะเป็นผู้ส่งสารจึงถูกลดทอนความสำคัญลงไปเพราะประชาชนมีทางเลือกเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วและหลากหลายช่องทาง

ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปัญหาทั่วโลก ขณะนี้จึงมีความพยายามหลายระดับเพื่อหาแนวทางปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลกันเองของสื่อให้ทำหน้าที่ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมและภูมิทัศน์สื่่อที่เปลี่ยนไป

เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา สถานทูตสวีเดนและสถานทูตฟินแลนด์ ร่วมกับ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) จัดงานฉลองครบรอบ 250ปีกฎหมายสื่อมวลชน (พ.ศ.2309) ของสองประเทศ (ก่อนฟินแลนด์จะแยกตัวออกไปในปีพ.ศ. 2352) เพื่อให้เห็นความสำคัญของเสรีภาพสื่อมวลชนในระบอบประชาธิปไตย โดยกฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายฉบับแรกของโลกที่่รับรองเสรีภาพการแสดงออกของประชาชน ยกเลิกการเซ็นเซอร์สื่อ และให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางราชการ ทั้งสองประเทศยังเป็นต้นแบบของการกำกับดูแลกันเองของสื่อทีี่มีประสิทธิภาพ โดยสภาการหนังสื่อพิมพ์ของสวีเดนมีอายุครบ100 ปีเมือพ.ศ. 2559 และฟินแลนด์ฉลองครบรอบ 50 ปีในพ.ศ. 2561

งานดังกล่าวมีเวทีสาธารณะในหัวข้อ “จะพิทักษ์เสรีภาพสื่ออย่างไรในสังคมที่แตกแยก” และเวทีเฉพาะเรื่องการกำกับดูแลกันเองของสื่อจากประเทศสแกนดิเนเวียและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีความเห็นจากสือมวลชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกำกับดูแลกันเอง และนักเคลื่อนไหว ด้านสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในประเทศไทย อินโดนีเซีย เมียนมาร์ สวีเดน และฟินแลนด์ ที่่น่าจะใช้เป็นแนวคิดเพื่อปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนได้


 

ตัวอย่างการกำกับดูแลตัวเองจากนานาประเทศ
การกำกับดูแลกันเองจะมีประสิทธิภาพได้ต้องมี่องค์ประกอบสำคัญสามประการคือ หนึ่ง สิ่งแวดล้อมทางกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพของสื่อ สอง กลไกการกำกับดูแลกันเองทีี่อยู่บนหลักการของความน่าเชือถือ ความโปรงใส และเป็นประชาธิปไตย และสาม การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและประชาชน

องค์ประกอบดังกล่าวจะตอบคำถามว่า ทำไมการกำดับดูแลกันเองของประเทศสวีเดนและฟินแลนด์จึงมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีระบบกฎหมายที่่คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน และเสรีภาพของสืออย่างเต็มที่ ประชาชนทุกคนมีสิทธิเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอย่างไม่มีการปิดกั้น แต่ถ้าไปละเมิดใครก็จะถูกจัดการตามกรอบกฎหมายที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกคนเท่าๆกัน นอกจากนี้กลไกสภาการหนังสือพิ่มพ์เป็นที่นิยมของประชาชนเพราะ เป็นระบบที่รวดเร็ว ไม่แพง น่าเชื่อถื่อ และโปร่งใส

ตัวอย่างหนึ่งในกรณีฟินแลนด์คือ สภาสื่อทั้งในฟินแลนด์และสวีเดนเปิดให้การเป็นสมาชิกของสภาการหนังสื่อพิมพ์เป็นไปโดยสมัครใจ โดยสร้างแรงจูงใจให้สื่อที่เป็นสมาชิกได้รับความคุุ้มครองจากการถูกฟ้องร้องคดีที่ไม่เป็นธรรมเท่านั้น สภาสื่อฟินแลนด์ไม่ได้ใช้วิธีลงโทษสื่อที่ถูกร้องเรียนว่าละเมิดจริยธรรมด้วยวิธีการปรับหรือเพิกถอนใบอนุญาต แต่สามารถบังคับให้สื่อลงคำขอโทษหรือแก้ไขขัอมูลให้ถูกต้อง และในขณะที่ข้อร้องเรียนยังไม่มีการไต่สวน ก็มีการเปิดเผยข้อมูลด้วยการลงข่าวให้ประชาชนรับทราบและถือเป็นสถิติเพื่อให้เห็นความสำคัญของกลไกและสร้างการเรียนรู้เท่าทันสื่อไปในตัว

เมื่อย้อนกลับมาดููประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะพบมีปัญหาทั้งสามส่วน หลายประเทศยังมีกฎหมายหลายฉบับที่ส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ กลไกการกำกับดูแลที่ยังไม่มีประสิทธิภาพและน่าเชือถือ และภาคประชาชนที่ยังไม่เชื่อในบทบาทและการทำหน้าที่ของสื่อและมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อน้อย ทั้งยังนิยมใช้ช่องทางศาลฟ้องร้องสื่อ

กรณีของประเทศไทย ขณะที่สื่อถููกวิพากษ์ ความบกพร่องของสื่อก็กลายเป็นข้ออ้างให้รัฐเข้ามาจัดการปัญหาด้วยการผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งขัดกับหลักการพื้นฐานที่กำหนดว่า กลไกกำกับดูแลสื่อต้องสอดคล้องกับกระบวนการตามครรลองประชาธิปไตย ไม่ใช่ใช้อำนาจรัฐเข้าจัดการ เพราะนอกจากจะทำให้การปฏิรูปสื่อที่เคยริเริ่มไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 เสียเปล่า หรือถอยหลังไป 20 ปี มันยังสวนทางกับการกลับเข้าสู่สังคมประชาธิปไตยซึ่งรัฐบาลรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาใช้อ้างอยู่เสมอ

บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย กลุ่มสื่อวิชาชีพเป็นฝ่ายผลักดันให้มีกฎหมายเพื่อรับรองการมีอยู่ของกลไกการกำกับดูแลกันเอง (legal entity) ซึ่งยังคงรูปแบบให้สื่อดูแลกันเอง (self regulatory body) ผ่านสภาการหนังสือพิมพ์ ไม่มีตัวแทนภาครัฐหรือแต่งตั้งจากภาครัฐอยู่ในสภาการหนังสือพิมพ์ สื่อเป็นผู้กำหนดมาตรฐานกลางทางจริยธรรมและวิชาชีพสื่อ คอยตรวจสอบว่าเพื่อนร่วมวิชาชีพทำตามมาตรฐานเหล่านั้นหรือไม่ เพื่อให้ประชาชนทีได้รับความเสียหายจากการทำหน้าที่ของสื่อได้รับความเป็นธรรม และมีหน้าทีส่งเสริมและคุุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อ

 

ทั้งนี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากอินโดนีเซียแล้ว เมียนมาร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีกฎหมายกำหนดให้มีการกำกับดูแลกันเอง กฎหมายกำหนดให้มีสภาวิชาชีพสื่อเพื่อบังคับให้กระบวนการไต่สวนคำร้องเรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจัง ส่วนฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคที่ใช้วิธีกำกับดูแลกันเองแบบสมัครใจโดยไม่มีกฎหมายรับรอง ตามด้วยประเทศไทย

ความมีเสถียรภาพและความเป็นอิสระทางการเงิน (fiscal autonomy) จะช่วยให้การทำงานของสภาวิชาชีพสื่อเป็นอิสระและป้องกันการแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน บางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์ และติมอร์ตะวันออก มีกฎหมายระบุให้รัฐจัดสรรเงินเพื่ออุดหนุนการบริหารงานสภาวิชาชีพสื่อ แต่เงินจำนวนนั้นอาจไม่ครอบคลุมการทำงาน ยังต้องอาศัยการลงขันจากธุรกิจสื่อและประชาสังคมเพื่อให้เงินอุดหนุนสภาสื่อในการทำหน้าที่

 

สื่อจริง สื่อปลอม ระบบสมาชิกและใบอนุญาต
หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มใช้การ “จัดระเบียบ” ด้วยการใช้ระบบ “ออกใบอนุญาต” สำหรับวิชาชีพสื่อ เช่นในอินโดนีเซียที่สภาการหนังสือพิมพ์่สามารถออกใบรับรองว่า คนทำงานคนหนึ่งเป็นสื่อที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานทางวิชาชีพ (professional standard) หรือเป็นผู้สื่อข่าวที่ผ่านการทดสอบความสามารถทางวิชาชีพ (competency test) ระบบนี้คล้ายกับสภาการหนังสือพิมพ์ของติมอร์ตะวันออกซึ่งเป็นน้องใหม่่ล่าสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สภาสื่อจะออกใบรับรองการเป็นสือมวลชน (ID card) โดยกำหนดให้นักข่าวต้องผ่านการฝึกงานเป็นเวลา6-18 เดือนก่อนจึงจะสามารถสอบขอใบอนุญาตได้

อย่างไรก็ตาม การระบุว่าใครเป็นสื่อหรือไม่ ก็เป็นอันตรายต่อการใช้เสรีภาพของประชาชนด้วยเช่นกัน เพราะผู้ทำหน้าที่สื่อไม่ว่าจะอยู่บนแพลทฟอร์มไหน ย่อมต้องได้รับความคุ้มครองบนมาตรฐานเดียวกัน และทำงานภายใต้หลักจริยธรรมสื่อที่ไม่ต่างกัน

แต่ในสังคมที่ยังอยู่กับความขัดแย้ง มักมีการกล่าวหาว่าการทำงานสื่อนั้นๆ อาจสมประโยชน์กับซีกการเมืองเพียงแค่บางกลุ่ม แต่เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ในโลกเสรี ดังกรณีของฟินเลนด์ที่สื่อการเมืองเข้ามาเป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ได้ เพียงทุกคนต้องยึดมาตรฐานทางจริยธรรมเดียวกัน

 

คดีฟ้องสื่อ เรื่องคลาสสิคที่เกิดขึ้นทั่วโลก
ในประเด็นของการฟ้องคดีต่อสื่อ ที่สวีเดนมีกฎหมายห้ามนายกรัฐมนตรีและบริษัททางธุรกิจฟ้องร้องสื่อ เพราะถือว่าสื่อมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบความโปร่งใสของรัฐบาล และช่วยกำจัดปัญหาคอร์รัปชั่นในราชการและธุรกิจ ซึ่งสื่อมวลชนที่ปฎิบัติหน้าที่ตามกรอบจริยธรรมก็จะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่

ในกรณีของสวีเดนและฟินแลนด์ ถ้าผู้ร้องเรียนสื่อ สภาการหนังสือพิมพ์มีหน้าที่พิจารณา และจะมีการทำความตกลงกันก่อนว่าจะไม่ไปฟ้องร้องคดึในศาล ในกรณีของอินโดนี่เซียก็เช่นกัน สภาการหนังสื่อพิมพเป็นองค์กรที่กฎหมายรับรอง แต่มีความเป็นอิสระในการทำหน้าที มีการพัฒนาและปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลกันเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นมีการลงนามในข้อตกลงร่วมกับตำรวจที่ว่า หากมีคดีฟ้องสื่อ ก็ให้โอนมาให้สภาการหนังสื่อพิมพ์เป็นผู้พิจารณาไกล่เกลี่ย มีการออกจริยธรรมของสื่อออนไลน์

ส่วนกรณีของพม่า ซึ่งสภาการหนังสือพิมพ์ตั้งขึ้นได้ไม่ถึงสองปี และกำลังถูกท้าทายจากอำนาจรัฐ โดยกฎหมายสื่อมวลชนของเมียนมาร์ไม่ได้ระบุุชัดให้ใช้ช่องทางเดียวในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างผู้เสียหายกับสื่อ จึงเปิดโอกาสให้มีการฟ้องร้องในศาลได้อีกทาง ซึ่งเมื่อคดีเข้าสู่กระบวนการศาล แล้ว สภาการหนังสือพิมพ์จะเข้าไปยุ่งเก่ี่ยวไม่ได้

อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า อัตราการฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ในอินโดนีเซียเพิ่มสููงขึ้นทุกๆ ปี โดยคดีส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับคนทั่วไปที่ใช้สื่อ ไม่ใช่สื่ออาชีพ คล้ายกันที่เมียนมาร์ซึ่งมีคดีมากขึ้น หลังพรรคเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจี ชนะการเลือกตั้งเมื่อปีเดือนพย. ปีพ.ศ.2558 และมีกรณีหนังสือพิมพ์ทีมีกรอบออนไลน์ถูกฟ้องเพิ่มสูงขึ้นโดยใช้กฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่ที่ควบคุมเนื้อหาที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และมีบทลงโทษสูง
 

เฮทสปีช ข่าวปลอม ความท้าทายของสื่อสมัยใหม่
การกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนในสังคมประชาธิปไตยทั่วโลกล้วนประสบปัญหาในการคุุ้มครองเสรีภาพสื่อบนความรับผิดชอบและจริยธรรม และเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ท่ามกลางสภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่มีข้อจำกัดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาครัฐและนักการเมืองจ้องหาโอกาสที่จะใช้ข้ออ้างความมั่่นคง การรักษาความสงบและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อเข้ามาควบคุมสื่อ

ในฟินแลนด์ มีกระแสการต่อต้านผู้อพยพและคนเข้าเมืองโดยใช้พื้นที่ออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสาร และสร้างเฮทสปีช (hate speech) มีเว็บไซต์ “ข่าวปลอม” เพิ่มมากขึ้น อีเลน่า กรุนสตรัม (Elina Grundström)ประธานสภาการหนังพิมพ์ของฟินแลนด์กล่าวว่า แทนที่จะไปตามปิด ต้องทำให้สื่อมวลชนเข้มแข็งในเรืองจริยธรรม มีการตรวจสอบข่าวข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพก่อนออกข่าว ซึ่งเป็นวิธีการสร้างความน่าเชือถือ ส่วนเนื้อหาเหล่านั้นก็ไม่ต้องไปให้ความสนใจ

อิเลน่ายังกล่าวด้วยว่า จริยธรรมสื่อเป็นเรืองที่ต้องบ่มเพาะมาจากจิตสำนึกข้างในของผูัสื่อข่าว ถ้าผู่้สื่อข่าวปฎิบัตหน้าที่ิโดยชอบจะเป็นเกราะป้องกันตนเอง ท่ามกลางสังคมที่ไม่สนใจข้อเท็จจริง และกรณีของสวีเดน อูเล เวสต์เปอรี (Olle Wästberg) อดีตบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ Expresssen และอดีตผู้อำนวยการสถาบัน Swedish Instituteกล่าวว่า ต้องทำให้ประชาชนเห็นชัดว่า การทำหน้าที่สืออย่างเคร่งครัดนั้้นแตกต่างจากการการใช้เสรีภาพออนไลน์ทั่วไปของบุุคคลทั่วไป และการไปตามปิดช่องทางการสื่อสารต่าง ถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน และรัฐก็คงไม่สามารถไปตามปิดได้ท้ั้งหมด

ด้านสตัฟฟาน แฮร์สเติร์ม (Staffan Herrström) เอกอัครราชทูตสวีเดนประจำประเทศไทย เห็นว่า แม้ในยุคที่หัวข้อข่าวถูกครอบงำโดยข่าวของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แต่หลักพื้นฐานอย่างเรื่องสิทธิในการเผยแพร่ข่าวสาร สิทธิในการรับรู้ข่าวสาร การต่อต้านการเซ็นเซอร์ รวมถึงหลักพื้นฐานที่ห้ามไม่ให้เอาตัวนักข่าวไปดำเนินคดี ยังคงเป็นหลักสำคัญที่ต้องยึดถือเสมอทั้งนี้ ต้องส่งเสริมให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการกำกับดูแลกันเองไม่ใช่การเซ็นเซอร์ตัวเอง

“สื่ออาจจะดีหรือแย่ ก็ยังต้องมีเสรีภาพ เพราะถ้าไม่มีเสรีภาพสื่อ สังคมก็จะไม่เหลืออะไรเลยนอกจากเรื่องแย่ๆ” ทูตสวีเดนกล่าว

 

 

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ https://www.seapa.org/protectingmediaindividedworld/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท