ILO ประเมินปี 2560 ทั่วโลกว่างงานรวม 201.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 อีก 3.4 ล้านคน

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ประเมินปี 2560 มีแนวโน้มผู้ว่างงาน 201.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 197.7 ล้านคน ส่วนในปี 2561 ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 203.8 ล้านคน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจ

ILO ประเมินปี 2560 ทั่วโลกว่างงานรวม 201 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 อีก 3.4 ล้านคน ที่มาภาพ: skeeze (CC0)

จากรายงาน World Employment and Social Outlook – Trends 2017 ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2560 ที่ผ่านมาระบุว่าคาดว่าอัตราการว่างงาน (unemployment rate) ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.7 เป็นร้อยละ 5.8 ในปี 2560 และคงในระดับร้อยละ 5.8 ในปี 2561 และเมื่อวัดเป็นจำนวนคนว่างงานทั่วโลกในปี 2560 นั้นมีแนวโน้มอยู่ที่ 201.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 197.7 ล้านคน ส่วนในปี 2561 ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 203.8 ล้านคน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเผชิญภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กอปรกับความไม่แน่นอนทางการเมืองและเศรษฐกิจส่งผลให้ขาดการลงทุนเพิ่มโดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

และแม้หากมองแบบผิวเผินจะเห็นว่าอัตราการว่างงานโลกเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามปัญหาใหญ่กว่านั้นก็คือ จำนวนผู้ของผู้ที่ทำงานที่ไม่มั่นคง การทำงานด้อยคุณภาพ และคนทำงานยังเข้าถึงสวัสดิการรองรับทางสังคมได้อย่างจำกัด คนทำงานลักษณะนี้ยังคงมีมากถึง 1,400 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของการจ้างงานทั้งหมดของโลก

ที่มา: ILO

เมื่อพิจารณาสัดส่วนอัตราการว่างงานจากการประเมินของ ILO ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging countries)  มีอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 5.6, 5.7 และ 5.7 ตามลำดับ ส่วนประเทศกำลังพัฒนา (Developing countries) อัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 5.6, 5.5 และ 5.5 ตามลำดับ ส่วนประเทศพัฒนาแล้ว (Developed countries) กลับมีอัตราว่างงานที่สูงกว่าโดยในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 6.3, 6.2 และ 6.2 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในด้านจำนวนผู้ว่างงาน จากการประเมินของ ILO ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ มีผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 143.4, 147 และ 149.2 ล้านคน ตามลำดับ ส่วนประเทศกำลังพัฒนามีผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 15.7, 16.1 และ 16.6 ล้านคน ตามลำดับ ส่วนประเทศพัฒนาแล้วมีผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 38.6, 37.9 และ 38 ล้านคน ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นภูมมิภาคจากการประเมินของ ILO พบว่าภูมิภาคแอฟริกา มีสัดส่วนอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 8 ทั้ง 3 ปี ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 37.1, 38.3 และ 39.4 ล้านคน ตามลำดับ ภูมิภาคตะวันออกกลาง มีสัดส่วนอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 10.7, 10.6 และ 10.5 ตามลำดับ ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 5.8, 5.9 และ 5.9 ล้านคน ตามลำดับ

ภูมิภาคอเมริกาเหนือ มีสัดส่วนอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 5.1, 5.1 และ 5.3 ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 9.4, 9.5 และ 9.7 ล้านคน ตามลำดับภูมิภาคอเมริกาใต้และแคริบเบียน มีสัดส่วนอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 8.1, 8.4 และ 8.5 ตามลำดับ ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 25.1, 26.6 และ 27.1 ล้านคน ตามลำดับ

ที่มา: ILO

สำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกนั้น ILO ประเมินว่ามีสัดส่วนอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.2, 4.2 และ 4.3 ตามลำดับ ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 84.4, 85.4 และ 86.5 ล้านคน ตามลำดับ ทั้งนี้ประเทศที่มีสัดส่วนอัตราการว่างงานสูงลำดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคืออินโดนีเซีย ที่มีสัดส่วนอัตราการว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ร้อยละ 5.6, 5.8 และ 5.9 ตามลำดับ ส่วนประเทศที่มีจำนวนผู้ว่างงานสูงสุดในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกได้แก่จีน ที่มีจำนวนผู้ว่างงานในปี 2559, 2560 และ 2561 อยู่ที่ 37.3, 37.6 และ 37.9 ล้านคนตามลำดับ

นอกจากนี้ในรายงานของ ILO ยังระบุว่าปัญหาในตลาดแรงงานสะท้อนปัจจัยต่าง ๆ เช่น ศักยภาพการผลิตต่ำและความไม่เท่าเทียมทาง รายได้ที่เพิ่มขึ้นและอาจทำให้การว่างงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น ส่วนแรงงานต่างชาติยังคงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากต่อตลาดแรงงานทั่วโลก เป็นปัจจัยช่วยเหลือการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ในปัจจุบันแรงงานต่างชาติกับต้องเผชิญกับอุปสรรคด้านสังคมและการเมืองที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก นอกจากนี้ ILO ยังระบุว่าหากภาครัฐมีนโยบายทางการคลังเพื่อช่วยฟื้นเศรษฐกิจ จะทำให้จำนวนผู้ว่างงานลดลงไปได้ 7 แสนคน ในปี 2560 และอีก 1.9 ล้านคน ในปี 2561

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท