Skip to main content
sharethis

ก่อนการมาถึงของ Grindr หรือ Jack'd หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ และ ชานันท์ ยอดหงษ์ เล่าเรื่องประวัติศาสตร์การใช้สื่อหาคู่ของคนรักเพศเดียวกัน หรือ LGBT ในสังคมไทย ที่เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ผ่านคอลัมน์เพื่อนใจของ "โก๋ ปากน้ำ" ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร "แปลก" ซึ่งเริ่มจากจดหมายระบายความทุกข์ของชีวิตรัก ก่อนนำมาสู่คอลัมน์จดหมายหาคู่ นอกจากนี้นิตยสารที่มีกลุ่มผู้อ่านเป็นคนรักเพศเดียวกันอย่าง "มิถุนา" ก็เปิดคอลัมน์หาคู่เช่นกัน และต่อมาในช่วงทศวรรษ 1990 นิตยสารวัยรุ่น "Pop" ก็เปิดคอลัมน์หาเพื่อนสำหรับทุกเพศวิถีด้วย

โดยรูปแบบของคอลัมน์หาคู่ เริ่มแรกไม่ได้ลงรูปถ่ายของผู้ลงประกาศ แต่จะเป็นการบรรยายรูปร่างลักษณะของผู้ประกาศ วุฒิการศึกษา และนิสัยใจคอ โดยต่อมาจะมีการเปิดโอกาสให้ลงรูปถ่ายด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่เปิดเผยรูปร่างหน้าตาแทนการใช้คำบรรยายแล้ว ภาพที่ส่งมายังเผยให้เห็นอัตลักษณ์ รสนิยม สถานะทางสังคม เศรษฐกิจ อาชีพของผู้ลงประกาศมากขึ้น

กระทั่งถึงปลายทศวรรษ 1990 จนถึง 2000 ที่อินเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลาย การหาคู่ผ่านสื่อตีพิมพ์แม้จะยังมีบ้าง แต่ก็เริ่มลดความสำคัญลง โดยการหาคู่ผ่านเว็บไซต์มีมากขึ้น เช่น ห้องสนทนาใน Pirch98 หรือ Camgfrog รวมทั้งเว็บไซต์ที่มีมีหมวดหาเพื่อน เช่น Dek-D หรือ PostJung จนกระทั่งในปัจจุบันที่เป็นยุคสมาร์ทโฟนจึงเป็นการหาคู่ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ

 

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่

https://www.facebook.com/maihetpraphetthai หรือ

https://www.youtube.com/playlist?list=PLyjd9jzMpO2Xby4FyxWMwY8auIFY01eVQ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net