Skip to main content
sharethis

จากข้อมูลผู้ประกันตนเดือน เม.ย. 2559 ที่ผ่านมา พบโดนเลิกจ้าง 7,587 คน ลาออก 50,838 คน สาเหตุที่ถูกเลิกจ้างเพราะนายจ้างลดจำนวนพนักงานมากที่สุด 37.38% นายจ้างปิดกิจการ 35.50%

8 พ.ค. 2559 จากข้อมูลผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พบว่าสถิติผู้ประกันตนที่มาขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเดือนเมษายน 2559 มีจำนวน 58,425 คน โดยถูกเลิกจ้าง 7,587 คน และลาออก 50,838 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.97 โดยผู้ถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.64 และผู้ที่ลาออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.91

ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทน จำแนกตามสาเหตุการออกจากงาน

 สาเหตุที่ถูกเลิกจ้าง

เมษายน 2559

สาเหตุที่ลาออกจากงาน

เมษายน 2559

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

นายจ้างลดจำนวนพนักงาน

2,836

37.38

ต้องการเปลี่ยนงาน

43,304

85.18

นายจ้างปิดกิจการ

2,693

35.50

ต้องการพักผ่อน

2,175

4.28

ไม่ผ่านการประเมิน/ทดลองงาน

201

2.64

สิ้นสุดโครงการ/หมดสัญญาจ้าง

2,762

5.43

มีความผิด

41

0.54

เกษียณอายุ

31

0.06

นายจ้างใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยแทน

14

0.18

ไม่ระบุ

2

0.01

อื่น ๆ /ไม่ระบุ

1,802

23.75

อื่น ๆ

2,564

5.04

 รวม

7,587

100.00

รวม

50,838

100.00

ที่มา: กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

โดยเมื่อพิจารณาผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้าง สาเหตุเนื่องมาจากนายจ้างลดจำนวนพนักงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.38 รองลงมาได้แก่ นายจ้างปิดกิจการคิดเป็นร้อยละ 35.50 สาเหตุอื่นๆ เช่น สุขภาพไม่ดี หยุดกิจการชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 23.75 ไม่ผ่านการประเมิน/ทดลองงาน คิดเป็นร้อยละ 2.64 มีความผิด คิดเป็นร้อยละ 0.54 นายจ้างใช้เครื่องจักรที่ทันสมัย คิดเป็นร้อยละ 0.18

สำหรับผู้ที่ลาออกจากงานนั้นสาเหตุเนื่องมาจากต้องการเปลี่ยนงานมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.18 รองลงมาได้แก่ สิ้นสุดโครงการ/หมดสัญญาจ้าง คิดเป็นร้อยละ 5.43 สาเหตุอื่นๆ เช่น ประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย ทำไร่/ทำนา ดูแลคนในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 5.04 ต้องการพักผ่อน คิดเป็นร้อยละ 4.28 เกษียณอายุ คิดเป็นร้อยละ 0.06 และไม่ระบุ ร้อยละ 0.01

ในด้านความต้องการแรงงานนั้น พบว่าเดือนเมษายน 2559 มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่างมายังหน่วยงานของกรมการจัดหางาน จำนวน  41,117 อัตราเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่าเพิ่มขึ้นจำนวน 6,969 อัตรา หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.41  โดยเมื่อพิจารณาความต้องการแรงงานจำแนกตามประเภทอาชีพ  พบว่าอาชีพงานพื้นฐาน (แรงงานด้านการประกอบ แรงงานบรรจุภัณฑ์) มีความต้องการแรงงานมากที่สุดจำนวน  16,189 อัตรา คิดเป็นร้อยละ  39.37  รองลงมาได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด จำนวน  7,244 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 17.62 เสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 5,833 อัตรา คิดเป็นร้อยละ 14.19 

ความต้องการแรงงานจำแนกตามหมวดอาชีพ

2559

เมษายน

รวม

41,117

1. ผู้บริหาร  ผู้จัดการ

769

2. ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ

2,137

3. ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

4,010

4. เสมียน เจ้าหน้าที่

5,833

5. พนักงานบริการ  พนักงานขายในร้านค้าและตลาด

7,244

6. ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและประมง 

84

7.   ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ

2,291

8.  ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน  ผู้ควบคุมเครื่องจักรฯ

2,544

9. อาชีพงานพื้นฐาน

16,189

ผู้ฝึกงาน

16

 

ที่มา: กองวิจัยตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net