Skip to main content
sharethis

ความขัดแย้งระหว่างบริษัททุ่งคำ ที่ได้รับสัมปทานทำเหมืองแร่ทองคำ ในพื้นที่อ.วังสะพุง จ.เลย กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมือง มีมายาวนานกว่า 10 ปีแล้ว ชาวบ้านซึ่งรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง รวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านการทำเหมืองอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันบริษัททุ่งคำ ก็ยืนยันว่าเหมืองไม่ได้ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และยื่นฟ้องคดีชาวบ้านหลายสิบคดี ทั้งคดีบุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ และหมิ่นประมาท

เทคนิค ที่บริษัททุ่งคำใช้ฟ้องคดีหมิ่นประมาท คือ การอาศัยช่องว่างของกฎหมายที่ตีความได้ว่า เมื่อพบเห็นข้อความที่ใด ก็ถือว่าความผิดเกิดขึ้นและสำเร็จที่นั่น สามารถดำเนินคดีที่นั่นได้ ในปี 2557 สุรพันธ์ [1] และพรทิพย์ [2]

ชาวบ้านสองคนถูกฟ้องหมิ่นประมาทที่จังหวัดภูเก็ตจากการให้สัมภาษณ์นักข่าว ในปี 2558 สุรพันธ์ถูกฟ้องอีกครั้ง ที่อ.แม่สอด จังหวัดตาก [3] จากข้อความบนเฟซบุ๊กที่คนอื่นเป็นคนโพสต์ ซึ่งชาวบ้านต้องเดินทางไกลเพื่อไปต่อสู้คดี แต่สุดท้ายคดีจบโดยบริษัทถอนฟ้อง

นอกจากนี้ ปลายปี 2558 บริษัททุ่งคำยังดำเนินคดีหมิ่นประมาท ต่อสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และ "น้องพลอย" นักข่าวเยาวชนวัย 16 ปี อีก จากการรายงานข่าวเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมือง เหมือนเดิม โดยคดีนี้เลือกดำเนินคดีที่กรุงเทพ [4]

ปรากฏการณ์การดำเนินคดีหมิ่นประมาทระหว่างบริษัททุ่งคำ กับชาวบ้าน อย่างน้อย 4 คดี จากการใช้เสรีภาพการแสดงออกเพื่อปกป้องสิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม แสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือ สร้างภาระให้กับประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อพยายามบอกกล่าวเล่าเรื่องราวของตัวเอง

วีดีโอนี้ เป็นผลงานของผู้เข้าร่วมโครงการ "อาสาสมัครเยาวชนผลิตสื่อวิดีโอ ส่งเสริมเสรีภาพออนไลน์" โดย ประชาไท ทำงานร่วมกับ ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ โดย ไอลอว์ วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นสิทธิเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต และสื่อสารเรื่องเสรีภาพการแสดงออกในสังคมไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net