Skip to main content
sharethis

 

เนื่องในที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล ซึ่งตลอดช่วงสัปดาห์นี้หลายประเทศทั่วโลกได้ออกมาฉลองพร้อมรณรงค์เรื่องสิทธิสตรีและสิทธิแรงงาน สำหรับประเทศไทย อีกหนึ่งประเด็นที่อาจถูกละเลยไปคือเรื่องของ 'นักโทษการเมืองหญิง' โดยเมื่อวันที่ 5 มี.ค. ที่ผ่านมา Thaisvoicemedia โดย จอม เพชรประดับ ได้สัมภาษณ์ สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานักโทษทางการเมือง( สมยศ พฤกษาเกษมสุข) ถึงประเด็นเกี่ยวกับชีวิตนักโทษการเมืองหญิงที่ถูกคุ­มขังอยู่ในเรือนจำทั่วประเทศว่า หลังการรัฐประหาร มีนักโทษทางการเมืองที่เป็นผู้หญิงประมาณ 25 คน ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยก่อนที่ คสช. รัฐประหาร แทบจะไม่มีนักโทษการเมืองที่เป็นผู้หญิงเลย มีกรณีของคุณ ดา ตอร์ปิโด แต่หลังรัฐประหารเมือง 2 ปี ที่แล้ว มีจำนวนนักโทษการเมืองที่เป็นผู้หญิงเพิ่มขึ้นมาก 

มีนักโทษ ม.112 หญิง โดยคุกหนักสุด 28 ปี

สุกัญญา กล่าวว่า ข้อมูลจาก iLaw รวบรวมไว้ มีนักโทษการเมืองตาม ประมวลกฏหมายอาญามาตรา 112 หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และเป็นผู้หญิงอยู่ 12 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีเพียงคนเดียวที่ได้รับการปล่อยตัว เนื่องจากได้พักโทษ โดยล่าสุดมีการยกฟ้องไปหนึ่งคดี ส่วนที่เหลือจะอยู่ในเรือนจำ และส่วนมากเกี่ยวข้องกับกรโพสต์ในเฟซบุ๊ก บางกรณีเป็นเพียงการแชร์ข้อมูลก็ถูกจับ บางกรณีใช้การคำนวนการลงโทษได้ตามกรรม เช่น โพสต์ 1 ครั้งหรือแชร์ 1 ครั้งก็นับไป 1 กรรม คูณกับจำนวนโทษไป ตัวอย่างกรณีหญิงที่เชียงใหม่ถูกตัดสินจำคุกจากคดีนี้ 28 ปี หลังจากสารภาพแล้ว จากโทษเต็มคือ 56 ปี นอกจากนั้นยังมีกรณีคดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. เช่น กลุ่มนักศึกษาที่ออกมาเคลื่อนไหว แม้จะไม่ถูกคุมขัง แต่ก็มีโทษที่ถูกดำเนินคดีและขึ้นศาลทหารด้วย 

สุกัญญา ยังระบุด้วยว่า เรือนจำได้นำกฎระเบียบการจำกัดผู้เข้าเยี่ยมได้เพียง 10 คนเท่านั้นตามนักโทษระบุชื่อไว้มาใช้ ทำให้ผู้ที่ต้องการเข้าเยี่ยมแต่ไม่มีอยู่ในรายชื่อไม่สามารถเข้าเยี่ยมได้ หากญาติพี่น้องอยู่ต่างจังหวัดเกือบจะหมดสิทธิ์ที่จะมีคนมาเยี่ยม มีการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภาย­นอก บางคนมีลูกเล็กต้องดูแล ต้องให้สามีทำหน้าที่เลี้ยงแทน โดยเฉพาะผู้ต้องหาคดี ม.112 เกือบจะไม่มีความหวังอะไรเลยว่าจะได้รับอิ­สรภาพออกมาสู่โลกภายนอกได้

กองทุนเพื่อการเข้าถึงความยุติธรรมของนักโทษการเมือง

สุกัญญา ระบุด้วยว่า ขณะนี้มมีการตั้งกองทุนเพื่อการเข้าถึงความยุติธรรมของนักโทษการเมืองขึ้นมา โดยกลุ่มอาจารย์และนักวิชาการในมหาวิทยาลั­ย ซึ่งผู้สนใจสามารถส่งความช่วยเหลือไปได้ที­่ ธนาคารกรุงไทย สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เลขที่บัญชี 9834008139 ชื่อบัญชี น.ส.จันจิรา สมบัติศิริ หรือ น.ส.เบญจลักษณ์ ฉั่ว หรือ น.ส.ปฐมพร แก้วหนู ( กลุ่มอาจารย์และตัวแทนญาติผู้ต้องขัง)

รณรงค์ปล่อยนักโทษการเมืองหญิง กลางลอนดอน

ขณะที่กรุงล­อนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ผ่านมา กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยช­นและประชาธิปไตยในประเทศไทย เป็นกลุ่มเอ็นจีโอไทยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ หรือ Thailand Human Rights Campaign UK ได้จัดกิจกรรม รณรงค์เรียกร้อ­งปล่อยตัวนักโทษการเมืองหญิงในประเทศไทย เนื่องในวันสตรีสากล เนื่องในวันสตรีสากลด้วย โดยด้วยการสวมหน้ากากที่เป็นรูปนักโทษการเมืองหญิงในไทยเดินจาก ถนน Duke ไป ที่ลานจตุรัส Trafalgar Square
การรณรงค์ปล่อยนักโทษการเมืองหญิงในไทย ที่กรุงลอนดอน 5 มี.ค.59
 
Thaisvoicemedia ยังได้สัมภาษณ์ พัชรินทร์ พาบูตะ ตัวแทนกลุ่มดังกล่าว เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมร่วมรณรงค์เรียกร้อ­งปล่อยตัวนักโทษการเมืองหญิงในประเทศไทยว่า ทางกลุ่มฯต้องการสื่อสารให้ชาวโลกเห็นปัญ­หาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยเฉพาะ ผู้หญิงที่กลายเป็นนักโทษทางการเมืองเพิ่ม­ขึ้นหลังรัฐประหาร และเพื่อให้ชาวโลกได้เห็นว่า การบังคับใช้ ม.112 ของเผด็จการทหารไทยเป็นเรื่องที่เลวร้าย ซึ่งกิจกรรมที่จัดขึ้นได้รับความสนใจจากอง­ค์กรสตรีทั่วโลก และทางกลุ่มยังได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้องค์การสหประชาชา­ติและนานาชาติร่วมกันกดดันเผด็จการทหารไทย­ให้หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน และคืนประชาธิปไตยสู่สังคมไทยโดยเร็ว
 
พัชรินทร์ ยังกล่าวด้วยว่าว่า ทางกลุ่มจะขับเคลื่อนเพื่อฟ้องชาวโลกให้เห็นถึงปัญ­หารละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไปในท­ุกเวที โดยร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรด้านสิทธิมนุษ­ยชนทั่วโลกต่อไป

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net