Skip to main content
sharethis

เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขอประยุทธ์ ยกเลิกคำสั่งยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายผังเมืองและการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชี้จะทำให้เกิดการใช้อำนาจอิทธิพลเพิ่มขึ้น สร้างความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่

สมนึก จงมีวศิน และเครือข่ายประชาสังคม109องค์กร  อ่านแถลงการณ์ เรียกร้องให้นายก ยกเลิกคำสั่งภายใต้ ม44 คำสั่งที่3 ที่4 ที่แก้กม และปลดล๊อคผังเมือง เพื่อเปิดทางให้ตั้งโรงงานสะดวกพื้นที่ใดได้ตามที่กม.เอื้อ (ที่มาภาพ Anchan Mooky Korphakdee)

4 ก.พ. 2559 สำนักข่าวไทย รายงานว่า ที่ศูนย์บริการประชาชน เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และองค์กรภาคประชาชน 109 องค์กร ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านศูนย์บริการประชาชน เรียกร้องให้ คสช.และรัฐบาลยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และคำสั่งที่ 4/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท

นายสมนึก จงมีวศิน ตัวแทนเครือข่ายฯ อ่านแถลงการณ์ว่า เนื่องจากทางเครือข่ายฯ เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นการเปิดทางให้มีการบริหารจัดการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและกฏหมายควบคุมอาคารเพื่อให้เกิดการจัดการพื้นที่โดยละเลยกระบวนการกลั่นกรอง การพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชนอันเป็นการทำลายหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม และเห็นว่ากระบวนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาล กลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับนายทุนได้รับสิทธิพิเศษด้านต่าง ๆ มาก อีกทั้งยังมีคำสั่งพิเศษเปิดทางให้กลุ่มทุ่มมีการประกอบกิจการ โดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมือง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนไทย
 
นายสมนึก กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมากฎหมายผังเมืองได้ทำหน้าที่ให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเขตการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามลักษณะภูมิประเทศในแต่ละจังหวัด คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุดและเป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับประเทศในปัจจุบัน สอดคล้องกับการพัฒนาของโลก แต่ขณะนี้ไทยกำลังล้าหลังด้วยการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองทั่วประเทศในกิจการโรงงานบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะ ซึ่งเห็นว่าจะก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมา จะมีการใช้อำนาจอิทธิพลเพิ่มขึ้น และมีความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งถือเป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตและไม่บรรลุประโยชน์ในการปฏิรูป หรือส่งเสริมความสามัคคีสมานฉันท์ของประชาชน จึงเห็นควรให้มีการยกเลิกคำสั่งทั้ง 2 ฉบับเพื่อคลี่คลายวิกฤติโดยเร่งด่วน
 
แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ขอให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 และที่ 4/2559" ที่ยื่นถึงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อขอให้ยกเลิกคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ เนื่องจากเป็นการออกคำสั่งที่ทำลายหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม
 
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และคำสั่งที่ 4/2559 เรื่องการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท ซึ่งการประกาศคำสั่งทั้งสองฉบับดังกล่าวมีผลเป็นการยกเลิกหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชนตามกฎหมายหลายประการ เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และเครือข่ายภาคประชาชนตามรายชื่อด้านท้ายแถลงการณ์ฉบับนี้จึงขอเสนอความเห็นและข้อเรียกร้องต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลดังนี้
 
                    1.       การใช้อำนาจมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มีเจตนารมณ์เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน แต่การที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีคำสั่งที่ 3/2559 และ 4/2559 โดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น เครือข่ายฯ เห็นว่า คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2559  เป็นการเปิดทางให้มีการบริหารจัดการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมือง และกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อให้เกิดการจัดการพื้นที่โดยละเลยกระบวนการกลั่นกรองการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับชุมชน อันเป็นการทำลายหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม
 
                    2.       การพัฒนาเขตเศรษฐกิจควรเป็นไปด้วยความรอบคอบคำนึงถึงศักยภาพหรือความสามารถพิเศษของคนในพื้นที่นั้น แต่กระบวนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลนี้กลับกลายเป็นการเปิดโอกาสให้กับนายทุนได้รับสิทธิพิเศษด้านต่างๆ มากมาย อีกทั้งยังมีคำสั่งพิเศษ คสช.เปิดทางให้กลุ่มทุนมีการประกอบกิจการโดยไม่ต้องคำนึงถึงผังเมือง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคนไทย การดำเนินการแบบนี้จะไม่นำไปสู่การปฏิรูปดังที่รัฐบาลกล่าวอ้าง
 
                     3.       ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการวางทิศทางการพัฒนาตามแนวนโยบายแห่งรัฐโดยกำหนดหลักการพัฒนาต้องเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งการจัดทำผังเมืองเพื่อประโยชน์ในการดูแลและรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และกฎหมายผังเมืองก็ได้ทำหน้าที่ให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเขตการพัฒนาด้านต่างๆ ตามลักษณะภูมิประเทศในแต่ละจังหวัด คำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุดและเป็นมาตรการที่สำคัญสำหรับประเทศในปัจจุบัน โดยสอดคล้องกับการพัฒนาของโลก  แต่ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเดินไปสู่ความล้าหลังด้วยการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองทั่วประเทศในกิจการโรงงานบางประเภท เช่น โรงไฟฟ้า โรงงานที่เกี่ยวข้องกับการกำจัดขยะฯ ด้วยการประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 4/2559 เครือข่ายฯ จึงมีความเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวของ คสช.จะก่อให้เกิดความวุ่นวายตามมาในบ้านเมือง การใช้อำนาจอิทธิพลจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่จะเกิดขึ้นทั่วประเทศ อันเป็นการก้าวเดินที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลและ คสช.
 
จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด การประกาศคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติไม่เข้าเงื่อนไขตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 44 เป็นการใช้อำนาจเกินขอบเขตที่พึงกระทำ ไม่บรรลุประโยชน์ในการปฏิรูปหรือส่งเสริมความสามัคคี สมานฉันท์ของประชาชนตามที่มาตรา 44 ได้กำหนดไว้ โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลต้องยกเลิกคำสั่งทั้ง 2 ฉบับ เพื่อคลี่คลายวิกฤติโดยเร่งด่วน
 
เราในนามเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และองค์กรภาคประชาชนตามรายชื่อแนบท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเรียกร้องต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติและรัฐบาลให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 3/2559 และที่ 4/2559 ในทันที โดยเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะมาติดตามคำตอบและทวงถามความยุติธรรมอีกครั้งในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559
 
ประเทศไทยเป็นของประชาชน มิได้เป็นของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
เครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4 ก.พ. 2559
 
รายชื่อเครือข่ายประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และองค์กรภาคประชาชนที่ร่วมลงชื่อ
 
 
1.      เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน
 
2.      เครือข่ายเชียงรากใหญ่
 
3.      มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม – EnLAW
 
4.      ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น
 
5.      กลุ่มรักลันตา
 
6.      กลุ่มพิทักษ์ปกาสัย
 
7.      สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวลันตา
 
8.      สมาคมผู้ประกอบการโรงแรมเกาะลันตา
 
9.      มูลนิธิอันดามัน
 
10.     กลุ่มภูเก็ตจัดการตนเอง
 
11.  คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 9 องค์กร จังหวัดพังงา (หอการค้าจังหวัดพังงา/สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพังงา/สมาคมธุรกิจ ท่องเที่ยวจังหวัดพังงา/ชมรมธนาคารจังหวัดพังงา/สภาเกษตรกรจังหวัดพังงา/ ชมรมผู้สื่อข่าวจังหวัดพังงา/ชมรมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพังงา/ชมรมองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดพังงา/ภาคประชาสังคมจังหวัดพังงา)
 
12.  ศูนย์สร้างเสริมจิตสำนึกนิเวศวิทยา
 
13.  สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
 
14.  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช.)
 
15.  โครงการปกป้องพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งภาคใต้
 
16.  กลุ่มรักตรังปกป้องตรัง
 
17.  กลุ่มรักษ์อันดามัน
 
18.  กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมปกาสัยจังหวัดกระบี่
 
19.  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขจังหวัดกระบี่
 
20.  เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดกระบี่
 
21.  องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
 
22.  เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านอ่าวพังงา อันดามัน
 
23.  เครือข่ายสิทธิผู้ป่วยแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
 
24.  เครือข่ายติดตามผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ตำบลเขาหินซ้อน
 
25.  เครือข่ายถ่านหินประเทศไทย Thailand Coal Network
 
26.  เครือข่ายถ่านหินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia Coal Network
 
27.  มูลนิธินโยบายสุขภาวะ
 
28.  เครือข่ายนักวิชาการ EIA EHIA Watch Thailand
 
29.  กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
30.  สมาคมคนรักษ์เลกระบี่
 
31.  มูลนิธิพื้นที่ชุ่มน้ำไทย
 
32.  กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อมบ้านเกาะกลาง จ.กระบี่
 
33.  เครือข่ายประชาชนพัฒนาเมืองเทพา สงขลา
 
34.  เครือข่ายปกป้องพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง นครศรีธรรมราช
 
35.  สภากาแฟทับเที่ยง จังหวัดตรัง
 
36.  เครือข่ายประมงพื้นบ้าน จังหวัดตรัง
 
37.  สมาคมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา
 
38.  เครือข่ายชุมชนรักอ่าวปากบารา จังหวัดสตูล
 
39.  เครือข่ายประชาชนติดตามแผนพัฒนา จังหวัดสตูล
 
40.  สมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
 
41.  สมาคมรักษ์ทะเลไทย
 
42.  สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน
 
43.  สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
 
44.  เครือข่ายคนสงขลา – ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน
 
45.  เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา
 
46.  เครือข่ายติดตามผังเมืองรวมจังหวัดนครศรีธรรมราช
 
47.  เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ
 
48.  เครือข่าย เพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
 
49.  เครือข่ายภาคประชาสังคม 8 จังหวัดภาคตะวันออก
 
50.  เครือข่ายเยาวชนเปลี่ยนตะวันออก
 
51.  เครือข่ายปกป้องผืนป่าตะวันออก
 
52.  เครือข่ายคุ้มครองสิทธิทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสระแก้ว
 
53.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดตราด
 
54.  เครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และ ตราด
 
55.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง
 
56.  เครือข่ายสภาพลเมือง จังหวัดชลบุรี
 
57.  กลุ่มอนุรักษ์อ่าวนาเกลือ จังหวัดชลบุรี
 
58.  กลุ่มอนุรักษ์อ่าวบางละมุง จังหวัดชลบุรี
 
59.  กลุ่ม PATTAYA WATCHDOG จังหวัดชลบุรี
 
60.  เครือข่ายรักษ์บ่อวิน จังหวัดชลบุรี
 
61.  เครือข่ายรักษ์พระแม่ธรณี จังหวัดชลบุรี
 
62.  กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
 
63.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
64.  เครือข่าย304กินได้
 
65.  กลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำบางปะกง
 
66.  เครือข่ายคุ้มครองบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
67.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดปราจีนบุรี
 
68.  ชมรมรักษ์เขาไม้แก้ว จังหวัดปราจีนบุรี
 
69.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดจันทบุรี
 
70.  เครือข่ายเฝ้าระวังผังเมืองรวม จังหวัดนครนายก
 
71.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครนายก
 
72.  เครือข่ายต่อต้านโรงไฟฟ้าขยะนครนายก
 
73.  เครือข่ายรักษ์พรหมณี จังหวัดนครนายก
 
74.  เครือข่ายต่อต้านบ่อขยะ แพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ
 
75.  เครือข่ายสิ่งแวดล้อม จังหวัดสระบุรี
 
76.  เครือข่ายกฎหมายและสิ่งแวดล้อม สระบุรี
 
77.  กลุ่มฅนรักบ้านเกิดบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
 
78.  เครือข่ายชาวบ้าน บ้านธาตุคัดค้านโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ ต.บ้านธาตุ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
 
79.  เครือข่ายนิคมสงเคราะห์ จ.อุดรธานี
 
80.  มูลนิธิชุมชนเกษตรนิเวศน์
 
81.  สมาคมป่าชุมชนอีสาน
 
82.  มูลนิธิพัฒนาอีสาน เครือข่ายพลังงานยั่งยืน จังหวัดสุรินทร์
 
83.  สถาบันชุมชนอีสาน
 
84.  สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น
 
85.  เครือข่ายชาวบ้านอนุรักษ์แก่งละว้า
 
86.  สมาคมเครือข่ายชาวไร่ชาวนา ภาคอีสาน
 
87.  เครือข่ายป่าไม้ที่ดินอีสาน
 
88.  เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน
 
89.  โครงการทามมูน
 
90.  ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชน จังหวัดนครราชสีมา
 
91.  เครือข่ายไทบ้านผู้ไร้สิทธิ์ จ.สกลนคร
 
92.  ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์การจัดการทรัพยากรชุมชนลุ่มน้ำชี
 
93.  เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ภาคอีสาน
 
94.  เครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีสาน
 
95.  กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
 
96.  ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพ (ศสส.) อีสาน
 
97.  กลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำชี
 
98.  กลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา
 
99.  กลุ่มลุ่มน้ำโขงศึกษา
 
100. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโคกหินขาว (กสค.)
 
101. กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูลุ่มน้ำลำพะเนียง จ.หนองบัวลำภู
 
102. เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน (คสข.)
 
103. ศูนย์ศึกษาชุมชนท้องถิ่นอีสาน (ศศอ.)
 
104. กลุ่มแม่สอดรักษ์ถิ่น
 
105. มูลนิธิบูรณะนิเวศ
 
106. ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา
 
107. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน
 
108. คณะทำงานโลกเย็นที่เป็นธรรม
 
109. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net