Skip to main content
sharethis

 

การลงทุนและธุรกิจจากต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทย นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจบนฐานของหลายปัจจัย ไม่ไม่ใช่เพราะนโยบายรัฐบาลหรือโครงสร้างพื้นฐานของประเทศนั้นๆ เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวพันกับระบบยุติธรรมในประเทศด้วย

ล่าสุด ปี 2015 Global Opportunity Index Ranking ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความน่าลงทุนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีตัวชี้วัดเรื่องระเบียบข้อบังคับและกระบวนการยุติธรรมด้วย ได้จัดอันดับให้ไทยอยู่ในลำดับ 44 จาก 136 ประเทศ ดีขึ้นกว่าปีก่อนที่มีการรัฐประหาร แต่เทียบกับก่อนหน้านั้นแล้วไทยเคยไต่ขึ้นไปได้ถึงลำดับที่ 40

ขณะที่ World Justice Project มีดัชนี Rule of Law Index 2015 ซึ่งไทยได้อันดับที่ 56 จาก 102 ประเทศ และหากเทียบกับ 15 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ไทยอยู่อันดับที่ 11 โดยตัวชี้วัดด้านกระบวนการยุติธรรมทางอาญานั้นได้คะแนนต่ำที่สุดในบรรดาตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น การจำกัดอำนาจของรัฐบาล, การปราศจากคอร์รัปชั่น, การบริหารแบบเปิด, สิทธิขั้นพื้นฐาน, ระเบียบและความปลอดภัย, การบังคับใช้กฎระเบียบ เป็นต้น  

จึงไม่น่าแปลกที่ศาลยุติธรรมจะเริ่มขยับในเรื่องนี้เพื่อเปลี่ยนภาพและทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการดำเนินงานของศาลไทยที่มีการปรับเปลี่ยนมากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ 30 พ.ย.2558 สำนักงานศาลยุติธรรมมีการจัดงานพบปะกับสื่อมวลชนขึ้นเป็นครั้งแรก มีการรวบรวมคดีความทั้งหมดทั้งปี และ “ความสำเร็จ” อันดูจากการทำคดีเสร็จสิ้นเป็นจำนวนมากมาแถลงแก่สื่อมวลชน หลังจากที่กระบวนการยุติธรรมไทยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักมากว่าทศวรรษเรื่องความล่าช้า มีคดีค้างพิจารณาจำนวนมากในทุกชั้นศาล

ในการแถลงครั้งนี้มีข้อมูลที่น่าสนใจหลายส่วน

1.       จำนวนข้าราชการตุลาการ มีทั้งหมด 4,488 คน (รวมผู้ช่วยผู้พิพากษา, ผู้พิพากษาอาวุโส, ดะโต๊ะยุติธรรม)

แบ่งเป็น ชั้นศาลฎีกา 122 คน, ชั้นศาลอุทธรณ์ 591 คน, ศาลชั้นต้น 3,278 คน

 

2.       ศาลฎีกา จำนวนคดีปี 2558: ค้างมา 18,307     รับใหม่ 11,997     เสร็จไป 18,330     ค้างไป 11,974

คดี 5 อันดับแรกคือ ความผิดต่อชีวิต1,016 อาวุธปืน 946 ลหุโทษ 886 ยาเสพติด 533 ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ 393

ต้องหมายเหตุไว้ด้วยว่า คดียาเสพติดซึ่งมีปริมาณเป็นอันดับหนึ่งของไทย และเป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตผู้ต้องขังล้นคุกนั้นขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาค่อนข้างน้อยเพราะมักสิ้นสุดในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์

3.       ศาลอุทธรณ์ จำนวนคดีปี 2558: ค้างมา 9,893     รับใหม่ 47,233     เสร็จไป 48,307     ค้างไป 8,817

คดี 5 อันดับแรก คือ อาวุธปืน, ลหุโทษ, ความผิดต่อชีวิต, ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์, จราจรทางบก

หากพิจารณาเฉพาะคดียาเสพติดให้โทษที่ขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ จะพบว่า

>9,423     >504     >468      >85      >34

หากแบ่งคดียาเสพติดตามฐานความผิด จะพบว่า  

>7,523>4,764  > 2,866    > 2,169

4.       ศาลชั้นต้น จำนวนคดี ปี 2558: ค้างมา 184,153    รับใหม่ 1,331,060    เสร็จไป 1,316,639    ค้างไป 198,574

ต้องหมายเหตุว่าโดยมาตรฐานสากลแล้วทุกชั้นศาลไม่ควรพิจารณาเกิน 1 ปี นโยบายในช่วงหลังของศาลชั้นต้นก็พยายามให้พิจารณาคดีเสร็จไปโดยเร็วภายใน  1 ปี แม้ปัจจุบันยังคงมีคดีที่พิจารณาเกิน 1 ปี อาจล่วงไปถึง 2, 3, 4 หรือ 5 ปี แต่จำนวนก็ลดลงเรื่อยๆ

จะเห็นได้ว่าจำนวนคดีมีเยอะมาก แม้มีการเพิ่มบุคลาการผู้พิพากษาแล้วแต่จำนวนมากก็ยังอยู่ระหว่างการอบรมบ้าง รอถวายสัตย์บ้าง ยังไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่

คดี 5 อันดับแรก

ยาเสพติด 285,794   จราจรทางบก 159,805   การพนัน  76,141   อาวุธปืน 37,416  คนเข้าเมือง 27,841

คดีผู้บริโภคสูงสุด 5 อันดับแรก

สินเชื่อบุคคล กู้ยืม ค้ำประกัน 244,801  บัตรเครดิต 97,416  กยศ. 92,781   เช่าซื้อรถยนตร์ 67,477  เช่าซื้อจักรยานยนตร์  7,733

คดีค้ามนุษย์: ค้างมา 313   รับใหม่ 213   เสร็จไป  232   ค้างไป 294

คดีความมั่นคงในศาลจังหวัดชายแดนภาคใต้

ศาลจัหงวัดนราธิวาส:  พิจารณา 30    เสร็จไป 24   ค้างพิจารณา 6

ศาลเยาวชนนราธิวาส: พิจารณา 1   เสร็จไป –  ค้างพิจารณา 1

ศาลจังหวัดนาทวี:  พิจารณา 9  เสร็จไป 6   ค้างพิจารณา 3

ศาลจังหวัดปัตตานี:  พิจารณา 36   เสร็จไป 20    ค้างพิจารณา 16

ศาลจังหวัดยะลา:   พิจารณา 24    เสร็จไป 15     ค้างพิจารณา 9

คดีที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ยของศาลชั้นต้น

คดีแพ่ง          สำเร็จ 29,910 คดี คิดเป็น 53% ของทั้งหมด

คดีผู้บริโภค    สำเร็จ 158,482 คดี คิดเป็น 83% ของทั้งหมด

คดีสิ่งแวด้อม  สำเร็จ 1 คดี จากทั้งหมด 3 คดี

คดีอาญา        สำเร็จ 17,955 คดี คิดเป็น 74% ของทั้งหมด

อธิคม อินทุภูมิ เลขาธิการศาลยุติธรรมคนใหม่ที่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อเดือนส.ค. 2558 ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงบทบาทของศาลในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายต่างๆ ด้วยว่า

ที่ผ่านมาทางศาลยุติธรรมมีการแก้ไขกฎหมายหลายฉบับเพื่ออำนวยความยุติธรรม

1.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ให้ศาลมีอำนาจสั่งผู้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวให้ใช้กำไลอิเล็กทรอนิกส์ แทนการวางเงิน เรื่องนี้ผ่านความเห็นชอบของ สนปช.แล้ว และรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ทั้งนี้ กำไลอิเล็กทรอนิกส์ ถูกนำมาใช้ทดลองในการคุมความประพฤติตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยใช้ในกรณีที่ศาลพิพากษาแล้วว่าผิดแต่รอการลงโทษและให้คุมประพฤติ บุคคลเหล่านี้สุ่มเสี่ยงจะหลบหนีน้อยกว่าคนที่คดียังไม่มีพิพากษา ซึ่งที่ผ่านมาในปีหนึ่งๆ มีการหลบหนีประกัน 4,000-5,000 ราย และโดยปกติศาลก็ให้ปล่อยชั่วคราว (ประกันตัว) 98-99% อยู่แล้ว

2. แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง เรื่องอนุญาตฎีกา

ให้นำระบบอนุญาตฎีกามาใช้ในคดีแพ่ง ทำให้คดีคนเล็กคนน้อยที่มีทุนทรัพย์ต้องห้ามตามเกณฑ์เก่า (ทุนทรัพย์ไม่ถึง 200,000 บาท) สามารถเข้าสู่ศาลฎีกาได้มากขึ้น เรื่องนี้ผ่าน สนช.และประกาศแล้ว

3.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่ง เรื่องการยื่นส่งหมายคู่ความ

จากเดิมการส่งหมายให้คู่ความในต่างประเทศ ต้องใช้วิธีทางการทูต ซึ่งใช้เวลา 3-5 ปี ปัจจุบันสามารถส่งไปรษณีย์ระหว่างประเทศได้  เปิดโอกาสให้คู่ความสามารถส่งถึงคู่ความทาง electronic ได้ด้วยโดยไม่ต้องเดินทางมาศาล เรื่องนี้ประกาศใช้แล้ว และเหลือเพียงให้ศาลฎีกากำหนดรายละเอียด

4.แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับ 26 การดำเนินคดีแบบกลุ่ม

ทำให้ผู้ได้รับความเสียหายทางแพ่งจำนวนมากๆ สามารถดำเนินคดีได้เร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อย เรื่องนี้บังคับใช้แล้ว

5.แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา การรอการลงโทษ

เดิมจำคุกไม่เกิน 3 ปี จึงจะรอการลงโทษได้ ได้มีการแก้ไขเป็น 5 ปี และแก้ให้รอการลงโทษใช้กับโทษปรับได้ เช่น กฎหมายภาพยนตร์ที่โทษปรับสูงมาก ศาลก็อาจรอกการลงโทษในโทษปรับได้สำหรับกรณีจำเลยที่ยากจนมาก

6.แก้การคำนวณโทษกักขังแทนค่าปรับจากวันละ 200 บาท เป็น 400 บาท

เลขาธิการศาลยุติธรรม ยังระบุด้วยว่า เดือนเมษายน 2559 จะมีการตั้งศาลเพิ่ม 3 แห่งเพื่อกระจายความยุติธรรมสู่พื้นที่ห่างไกล นั่นคือ ศาลชุมแพ จ.ขอนแก่น , ศาลแขวงพยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม, ศาลเชียงคำ จ.พะเยา

นอกจากนี้ 1 ตุลาคม 2559 ยังจะเปิดศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษที่มีการจัดตั้งขึ้นใหม่ ได้แก่ ศาลแรงงาน, ศาลล้มละลาย, ศาลทรัพย์สินทางปัญญา, ศาลเยาวชน, ศาลภาษี ซึ่งแต่เดิมนั้น ศาล 4 ประเภทแรกนั้นมีศาลชำนาญพิเศษในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น เมื่อมีการอุทธรณ์ก็จะข้ามไปศาลฎีกาเลย ระบบดังกล่าวไม่สามารถสร้างผู้พิพากษาชำนาญพิเศษได้ เมื่อเชี่ยวชาญแล้วในศาลชั้นต้นก็เป็นอันต้องว่างเว้นไป เพราะระดับศาลอุทธรณ์ไม่มี จึงเห็นควรมีการจัดตั้งเพิ่มเพื่อให้ผู้พิพากษาชำนาญพิเศษสามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญต่อไปได้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อต่างประเทศที่จะมาลงทุนว่าคดีจะได้รับการพิจารณาจากผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญ   

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net