Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา เครือข่ายประชาชนผู้ไร้สิทธิ์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ทบทวนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างการพัฒนาที่เป็นธรรม โดยจดหมายดังกล่าวมีการวิจารณ์การดำเนินการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีลักษณะที่เป็นปัญหาร่วมคือ ความไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาล

เครือข่ายประชาชนผู้ไร้สิทธิ์ ประกอบด้วย กลุ่มแม่สอดรักษ์ถิ่น กลุ่มรักษ์เชียงของ กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน เครือข่ายวาระเปลี่ยนตะวันออก เครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดมุกดาหาร มูลนิธิเพื่อการพัฒนาภาคเหนือ สภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี สหพันธ์ที่ดินจังหวัดสระแก้ว เครือข่ายผู้นาองค์กรประชาชน และคนทางานพิทักษ์แม่นาโขง 7 จังหวัดภาคอิสาน และสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)

รายละเอียดดังนี้

จดหมายเปิดผนึก

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558

เรื่อง ทบทวนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หยุดละเมิดสิทธิมนุษยชน สร้างการพัฒนาที่เป็นธรรม

เรียน หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ดำเนินการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมลา ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ไขปัญหาความมั่นคง โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จานวน 5 จังหวัดได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด และสงขลา ระยะที่ 2 จานวน 5 จังหวัดได้แก่ เชียงราย หนองคาย นครพนม กาญจนบุรี และนราธิวาส

เครือข่ายประชาชนผู้ไร้สิทธิ์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ นำเสนอข้อเท็จจริงจากพื้นที่ ในการสัมมนาสาธารณะ “เสียงจากคนไร้สิทธิ์ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเบ็ดเสร็จ เมื่อประชาชนถูกบังคับให้พัฒนา” เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยรังสิต พบข้อเท็จจริงว่า การดำเนินการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีลักษณะที่เป็นปัญหาร่วมคือ ความไม่โปร่งใส ขาดธรรมาภิบาล ดังนี้

1) นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อาจไม่มีความเหมาะสมกับบริบทปัญหาสังคมความต้องการพื นฐานและรากฐานทางวัฒนธรรมประเทศไทย

2) การนานโยบายสู่การปฏิบัติ ไม่ได้คำนึงเป้าหมายที่จะยังประโยชน์สุขที่จะเกิดขึ้นแก่ชุมชนท้องถิ่นอย่างชัดเจนที่มีความเป็นเหตุผลเพียงพอ

3) ขาดการมีส่วนร่วมประชาชนตั้งแต่ประชาพิจารณ์ที่มีลักษณะเร่งรีบ ประชาชนรับรู้ข้อมูลเพียงด้านเดียว คือ เฉพาะด้านที่เป็นคุณต่อการยอมรับนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่ไม่ได้รับรู้ด้านผลกระทบเสียหายแก่วิถีชีวิตชุมชน สิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชน

4) การจัดหาที่ดินเพื่อเร่งจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ขาดการวางระบบระเบียบกฎเกณฑ์อย่างรอบคอบที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ

5) การมีลักษณะอาศัย มาตรา 44 เป็นเครื่องมือ เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มอิทธิพล การเมืองท้องถิ่น และกลุ่มทุนบางกลุ่มที่ต้องการได้ประโยชน์จากการเก็งกำไรและค้าที่ดิน

6) พื้นที่ที่คัดเลือกมีทั้งพื้นที่สาธารณะที่มีคนยากจนและด้อยโอกาสได้พึ่งอาหารจากป่า อันเป็นปัจจัยความมั่นคงอาหาร และบางพื้นที่มีความขัดแย้งเรื่องที่ดินถือครองโดยไม่มีการพิสูจน์สิทธิอย่างถูกต้องตามหลักมนุษยธรรม ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

7) การมีแนวโน้มที่จะยกเลิกกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งขัดกับหลักการพื้นฐานการพัฒนาที่จะนาพาประเทศสู่ความยั่งยืน

8) การกำหนด 13 กิจการที่จะส่งเสริมการลงทุน ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม ทั้งเอื้อประโยชน์ต่อทุนขนาดใหญ่ และนักลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า

9) การทบทวนและจัดทำผังเมืองรวมจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการลงทุนและอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการจัดกลุ่มจังหวัดสาหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Super Cluster) มีผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นรากฐานวิถีชีวิตไทยที่ดีงามและมีความสุข โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและไม่สอดรับกับเศรษฐกิจฐานราก เป็นต้น

เครือข่ายฯ มีความห่วงใยต่อภาพลักษณ์รัฐบาลและคณะคสช.ที่มีเจตนาอย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปบ้านเมืองสู่ความสงบสุข แต่การใช้ มาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่เป็นอยู่ต่อกรณีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนี้ ไม่ได้เอื้อต่อความมั่นคง ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจสังคมและทิศทางการพัฒนาของพื้นที่แต่กลับมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรม และเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งขัดแย้งอย่างชัดแจ้งต่อวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการกระจายรายได้ การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชน และสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และหลักเศรษฐกิจพอเพียง องค์กรประชาชนตามรายนามด้านล่าง จึงขอให้ท่านได้พิจารณาและสั่งการให้มีการดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาก่อประโยชน์สุขแก่คนไทยทุกคน

1. ทบทวนนโยบายหรือชะลอการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และจัดให้มีการทบทวนพื้นที่ แผนงาน และกิจการที่จะส่งเสริมการลงทุน โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามหลักประชารัฐหรือนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐที่ต้องทาหน้าที่อำนวยการ สร้างการมีส่วนร่วมในนโยบายแห่งรัฐ ที่ประเทศไทยได้ปฏิบัติเป็นบรรทัดฐานมาโดยตลอด

2. การปรับปรุงผังเมืองต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ประชาชนมีส่วนร่วม และคงหลักการไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียว ซึ่งต้องมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับสิทธิของประชาชนที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีสุขภาพที่ดี รวมทั้งบังคับใช้กฎหมาผังเมืองอย่างเคร่งครัด

3. ทบทวนนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซุปเปอร์คลัสเตอร์ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง เป้าหมายหรือออกแบบการพัฒนาร่วมกัน และให้มีกลไกตัวแทนองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนมีส่วนร่วมในกลไกดำเนินงานในทุกระดับ

4. ยุติและมีคำสั่งให้หน่วยปฏิบัติในพื้นที่ยุติ การข่มขู่คุกคามประชาชน การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการแย่งยึดที่ดิน ขับไล่ประชาชนออกจากหมู่บ้าน

5. พิจารณาการใช้อำนาจตามมาตรา 44 อย่างรอบคอบ เฉพาะกิจการที่จำเป็นเพื่อความสามัคคี สมานฉันท์ ความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ตามวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

6. ในระยะเฉพาะหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

6.1 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งด้านการจัดหาที่ดินกรณีบ้านวังตะเคียน ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

6.2 ติดตามและตรวจสอบปัญหาความไม่โปร่งใสในการจัดหาที่ดินเพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย และจังหวัดตาก รวมทั้งพื้นที่อื่นหรือที่กำลังจะดำเนินการ เช่น ป่าชุ่มนาที่ตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ

6.3 การยืนยันให้กิจการในพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษต้องจัดให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

 

ขอแสดงความนับถือ

กลุ่มแม่สอดรักษ์ถิ่น

กลุ่มรักษ์เชียงของ

กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน

เครือข่ายวาระเปลี่ยนตะวันออก

เครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดสระแก้ว

เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดมุกดาหาร

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาภาคเหนือ

สภาพลเมืองจังหวัดชลบุรี

สหพันธ์ที่ดินจังหวัดสระแก้ว

เครือข่ายผู้นาองค์กรประชาชน และคนทางานพิทักษ์แม่นาโขง 7 จังหวัดภาคอิสาน

สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net