Skip to main content
sharethis

คลิปรายการรัฐธรรมนูญไทย 101: #3 ความหมายและองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ

รายการ "รัฐธรรมนูญไทย 101" กับ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ หลังจากตอนที่แล้วว่ากันด้วยเรื่องที่มาของรัฐธรรมนูญในบริบทโลกจนถึงเมืองไทยแล้ว (รับชมตอนก่อนหน้านี้)

ตอนนี้ว่ากันด้วยเรื่องความหมายของรัฐธรรมนูญ ทั้ง (1) ความหมายเชิงบวกที่มองรัฐธรรมนูญเป็นการวางรูปแบบทางการของรัฐ (2) ความหมายเชิงสัมบูรณ์ มองรัฐธรรมนูญเป็นระเบียบระดับมูลฐานในสังคม และเป็นรากฐานของระเบียบอื่นๆ (3) ความหมายเชิงหน้าที่ มองรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องสำแดงออกของการดำรงอยู่ขององคาพยพต่างๆ และ (4) ความหมายเชิงเครื่องมือ ในการกำกับการใช้อำนาจของสังคมและการเมือง

ในองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญ ได้แก่ (1) คำปรารภ (2) การจัดองค์กรของรัฐและการปกครอง (3) การรับรองสิทธิของปัจเจกบุคคล รวมถึง (4) กำหนดวิธีการแก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ แก้ง่ายหรือแก้ยาก แก้ด้วยเงื่อนไขอย่างไร ฯลฯ

บัณฑิตกล่าวด้วยว่า โดยหลักการทั่วไปของรัฐธรรมนูญ จะมีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่าองค์ประกอบ 4 ส่วนตามที่กล่าวมา ในรายละเอียดจะพบว่ารัฐธรรมนูญจะกำหนดเรื่องเหล่านี้ด้วย เช่น ระยะเวลาในการเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้มีสิทธิลงคะแนนและเงื่อนไข สิทธิหน้าที่พลเมือง ขอบข่ายของการใช้อำนาจรัฐ อำนาจของฝ่ายตุลาการ วิธีการเข้าสู่อำนาจของฝ่ายบริหารและการตั้งรัฐบาล บทบาทและอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ บทบาทและอำนาจของประมุขแห่งรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net