จอห์น เดรเปอร์: การข่มขู่ครอบครัว ทหารกองเกียรติยศ และ 'ความมั่นคงแห่งชาติ' วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาหนังสือพิมพ์ เดอะเนชั่น (The Nation) ได้รายงานเรื่องการข่มขู่คุกคามและการละเมิดครอบครัวและพ่อแม่ของหนึ่งในสิบสี่นักศึกษา สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่มีการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการทหาร การข่มขู่นักศึกษา เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจนชิน นักศึกษากลุ่มนี้ได้รายงานต่อสหภาพยุโรปเรื่องการถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานความมั่นคงตั้งแต่หลังจากที่พวกเขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ที่ผ่านมา การให้น้ำหนักเต็มในเรื่องของความมั่นคงจะถูกโยนไปอยู่เบื้องหลังการคุกคามของนักศึกษามหาวิทยาลัยและครอบครัวของพวกเขา รวมทั้งทหารที่สันนิษฐานว่ามาจากหน่วยงานความมั่นคงภายใน เจ้าหน้าที่จังหวัด และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย

ความพยายามล่าสุดดูเหมือนจะเป็นความคิดริเริ่มโดยผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายสมศักดิ์ จันทร์ตระกูล ที่ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทหารและรัฐที่จะแยก นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ ออกจากกลุ่มสิบสี่คน ที่ได้ถูกตั้งข้อหาภายใต้มาตรา 116 (การปลุกระดม) โดยเสนอให้เขาเป็นทหารอาสาสมัครป้องกันเพื่อทำงานหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และให้ลาออกจากการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น นายเฉลิม สุนทรารักษ์ บิดาของนายอภิวัฒน์ ซึ่งมีอาชีพเป็นครูถูกเจ้าหน้าที่กว่า 40 นาย ไปเยี่ยมทั้งที่ทำงานและที่บ้าน ซึ่งก่อให้เกิดความตกใจทั้งต่อนักเรียนและเพื่อนบ้านของนายเฉลิมเองด้วย

กลายเป็นเรื่องโชคร้ายที่การข่มขู่ครอบครัวนักกิจกรรมกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วสำหรับประเทศไทย ครอบครัวของชลธิชา แจ้งเร็ว เป็นอีกหนึ่งในสิบสี่นักศึกษาของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ที่ถูกคุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐ แม่ของชลธิชาถูกตั้งคำถามจากเจ้าหน้าที่เมื่อครั้งที่มีการเข้าไปเยี่ยมครอบครัวของเธอ "คุณเลี้ยงลูกสาวยังไงให้เป็นคนที่มีทัศนคติเช่นนี้?" รูปแบบการข่มขู่แบบวิพากษ์วิจารณ์นักเรียนและครอบครัวเห็นได้ชัดว่ามันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานของหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งวิธีการนี้ได้ถูกนำมาใช้ในกรณีของการอภิวัฒน์ด้วย

บางทีมันควรจะชี้ให้เห็นว่ามันน่าเศร้าแค่ไหนที่เหตุผลของวิธีการแบบนี้ มันแสดงถึงธรรมาภิบาลของประเทศไทยภายใต้ตัวชี้วัดสากล ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้ตัวชี้วัดตามโครงการดัชนีธรรมาภิบาลโลกของธนาคารโลก ประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่แย่ ด้วยคะแนนต่ำสุดในอาเซียน (9%) สำหรับเสถียรภาพทางการเมืองของไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียน 44% ส่วนภายใต้ตัวชี้วัดอื่น ๆ ก็แซงสิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ในแง่ของการส่งเสียงเรียกร้องและความรับผิดชอบ และที่แย่กว่านั้นคือ ไทยอยู่อันดับที่สี่สำหรับความมีประสิทธิผลของรัฐบาล ความเสมอภาคในการกำกับดูแล หลักนิติธรรม และการควบคุมการทุจริตคอรัปชั่น ตามหลังสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน

การขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ใน 'สังคม' ไทย เป็นเรื่องที่เราเห็นได้ทั่วไปตามคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์และงานศึกษาทางวิชาการ และนั่นทำให้เราต้องหันกลับไปตรวจสอบระบบการศึกษาของไทย เรื่องนี้มีผลกระทบจริงๆต่อประเทศไทยอย่างไร ที่กองทัพไทยยังไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาในเบื้องต้น มี 5 ประเด็นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องนี้: การลดระดับอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยลงไประดับ Tier 3 ในรายงานการค้ามนุษย์ ซึ่งถือว่าแย่สุดในประเด็นการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การไร้ความสามารถของประเทศไทยในการควบคุมอุตสาหกรรมสายการบินของตัวเอง การให้บัตรเหลืองของประเทศไทยในกรณีการกระทำผิดกฎหมาย, การไม่มีรายงาน และการไม่ข้อจำกัดในการทำประมง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เศรษฐกิจประเทศอ่อนแอ และประเทศไทยไม่เคยหลุดพ้นจากวงจรของการทำรัฐประหาร พูดอีกแบบก็คือ ประเทศไทยมีบุคลิกลักษณะหลายอย่างที่คล้ายกับความล้มเหลวของยุคหลังอาณานิคมของรัฐในประเทศแอฟริกา มีเพียงเรื่องของการค้าระหว่างประเทศ (รวมทั้งการท่องเที่ยว) ทำให้ไทยดูเหมือนจะมีอัตราที่สูงพอสมควรในการพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์

วิธีการข่มขู่สมาชิกในครอบครัว ยังถูกนำมาใช้กับกรณีผู้ที่แสวงหาความจริงเกี่ยวกับการฆาตกรรมในเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อปี 2553 และในเดือนธันวาคม 2557 แม่และน้องชายของพยาบาลที่ถูกฆ่าตายขณะที่ทำหน้าที่รักษาผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเขตกรุงเทพมหานคร ถูกจับกุมในข้อหาชูป้ายประท้วงต่อต้านการเข้าดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ เมื่อเดือนสิงหาคม ที่บอกว่าทหารไม่มีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ในเดือนพฤษภาคม แม้จะมีหลายคำตัดสินของศาลอาญาได้ตัดสินชี้ขาดไปแล้ว การปฏิเสธความจริงหน้าด้านๆ แม้ว่าหลักฐานจะชัดเจนมาก ซึ่งในทางตรงกันข้ามวิธีการแบบนี้ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์หนึ่งของกองทัพไทยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักในเรื่องการตอบคำถามเรื่องศึกษา ที่ดูเหมือนจะเสริมสร้างวินัยแบบไม่สะทกสะท้าน ผ่านการจัดการทางประวัติศาสตร์และไม่พยายามที่จะรับรู้ว่าโลกเขาพัฒนาไปอย่างไรแล้ว

การขาดความสามารถในการตัดสินใจที่มีเหตุผล คือในทางเข้าใจและแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจสังคมในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เป็นครั้งคราวในสื่อระดับชาติ เพื่อทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ผลักดันให้กองทัพไทยพยายามบังคับให้คนเชื่อฟังคำสั่งตนแบบหูหนวกตาบอด ก็คงต้องกลับมาที่การปฏิวัติ 2475 และพัฒนาต่อมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านคุณธรรม 12 ประการ ในปี 2482-2485 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของ 'ฟาสซิสต์อ่อนแอ' หรือลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

ความกล้าหาญของกองทัพไทยในการล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อาจจะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ในความคิดของกองทัพไทย การสละราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าในเดือนมีนาคม 2478 ได้เปิดทางการใช้อำนาจที่สมบูรณ์ให้กองทัพไทยได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ: ถ่วงดุลอำนาจของจักรวรรดินิยมอังกฤษกับลัทธิล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสในด้านการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การจัดการปัญหาของชาวไทยมุสลิมในสี่จังหวัดภาคใต้ รวมถึงประวัติของการก่อกบฏ การบูรณาการของจีนในการเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของลัทธิชาตินิยมจีนและคอมมิวนิสต์ ปรับเปลี่ยนการเรียกลาวเป็นตะวันออกเฉียงเหนือ และคนเมืองเป็นเหนือ และการจัดการกับการเลือกตั้งกับอัตราของประชากรที่รู้หนังสือเฉลี่ยที่ 5%

คำตอบของกองทัพกับวิธีการที่จะมีกฎที่ใช้ควบคุมคนในองค์กรตัวเองได้ก็คือการนำเอาวิธีการของทางตะวันตกมาใช้ เช่น เครื่องแบบและรูปลักษณ์ แต่อุดมการณ์หลักที่ถูกใช้ในการโฆษณาชวนเชื่อ คือในช่วงปี 2476 โดยหลวงวิจิตร วาทการ ผู้ที่ถอดแบบโรงเรียนสอนการโฆษณาชวนเชื่อ Goebbels คือแนวคิดแบบ บูชิโด ที่เรียกว่า “วิถีนักรบ” ของญี่ปุ่น

หลักเกณฑ์การต่อสู้นี้ได้ไปไกลมากเกินกว่าที่หลักปกติของเกียรติยศทหารชาติตะวันตกที่มีกติกาว่าจะไม่โกหก หลอกลวง และฉ้อฉล ในขณะที่มักจะได้รับการอธิบายว่ามันเป็น 'หลักเกณฑ์ที่ไม่ได้ถูกเขียนไว้' ซึ่งแน่นอนว่าไม่จริง เพราะแน่นอนว่ามันได้มีการศึกษาโดยหลากหลายนักวิชาการ โดยหลักเกณฑ์ดังกล่าว มีคุณสมบัติที่ดี 7 ประการ ดังนี้  1. ความชอบธรรม 2. ความกล้าหาญ 3. ความเมตตากรุณา 4. ความเคารพ 5. ความจริงใจ 6. การให้เกียรติ และ 7. ความจงรักภักดี และมีปัจจัยเสริมอีก 3 ข้อ คือ 1. ความกตัญญู กตเวที 2. ภูมิปัญญา และ 3. การเคารพในความเป็นพี่น้องกัน

เมื่ออิทธิพลทางประวัติศาสตร์ของหลักบูชิโด บูรณาการกับการพัฒนาระบอบการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรของไทย และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบใหม่ในยุคของรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผลกระทบโดยรวมก็คือเป็นการผนึกกำลังของสังคมทหารที่แข็งแกร่งมาก ที่เน้นย้ำและให้ความสำคัญกับเรื่องความจงรักภักดี หลักเกณฑ์ร่วมนี้ยิ่งตอกย้ำความชัดเจนของกรอบที่อธิบายโดยนักวิชาการของไทยในเรื่องการ “ไม่มีรัฐ” หรือ “เครือข่ายกษัตริย์

เรื่องความจริงใจ และความภาคภูมิในเกียรติยศ หลักเกณฑ์ภายในยังเป็นแนวคิดแบบกฎเหนือกฎของความจริงใจและภูมิใจที่นำไปใช้ในสังคมวงกว้าง ดังที่มีสักขีพยานปรากฏในกรณีการปฏิบัติต่อนักโทษของประเทศตะวันตกในยุคที่มีการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะที่น่าอับอาย ซึ่งกรณีนี้มันทำให้เราสามารถนำมาอธิบายได้ว่าทำไมการตอบสนองในทันทีของกองทัพไทยในการจับกุมนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพไทยที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ คือ พลโทมนัส คงแป้น คือการแสดงความคิดเห็นและสนับสนุนการทำงานของตุลาการในทันทีที่เกิดกรณีนี้

การข่มขู่ครอบครัวนักศึกษาที่เป็นนักกิจกรรม เช่นเดียวกับผู้ที่ถูกสังหารและผู้ที่เสื่อมเสียอื่นๆ จะเห็นได้ชัดว่าทหารเห็นเป็นเรื่องน่าเชิดชูเกียรติในหน้าที่การทำงาน แต่กรณีเช่นนี้ได้นำความส่วนตัวของผู้เสียหายมาเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านทรมานและการล่วงละเมิด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามจิตวิทยา ทหารจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องนี้และถามว่าการนำเอาชีวิตของผู้บริสุทธิ์มานำเสนอเช่นนี้ เป็นธรรมแล้วหรือ แนวคิดบูชิโดเป็นแนวคิดที่ล้าสมัย ที่ไม่เหมาะสมสำหรับการปกป้องอธิปไตยของประเทศในศตวรรษที่ 21

ไม่มีกฎข้อไหนในบทบัญญัติของค่านิยมหลัก 12 ประการ หรือวัฒนธรรม 12 ประการฉบับล่าสุด ได้บอกไว้ว่าการข่มขู่ คุกคาม และการล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้บริสุทธิ์เป็นความชอบธรรม นอกจากนี้ การพัฒนาในเรื่องวัฒนธรรมการเรียนรู้ของ “ความมั่นคงของชาติ” มีนัยของค่านิยมหลัก 12 ประการ และปัจจุบันที่กำลังมีการดำเนินการโดยกระทรวงศึกษาธิการก็ไม่ได้เข้ากันเลยกับวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่แท้จริงของการพัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และการศึกษาเพื่อให้คนรู้จักคิดมากกว่าการเป็น “คนดี” ที่ปฏิบัติตามคำสั่งได้ แต่คิดเองไม่เป็น

ดูเหมือนว่ากองทัพไทยจะไม่ทราบว่าการที่จะมีศีลธรรมระดับสูงได้ คนเราจะต้องได้รับผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมและที่สำคัญเพื่อขจัดความเข้าใจที่คลุมเครือในเรื่องความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ยังต้องตั้งคำถามต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากผู้คนมีภาพไม่ชัดเจนเสียแล้วในเรื่องเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่สาธารณะ เช่นการมุ่งจับตาไปที่ภรรยาของ พล.เอก ประยุทธ์ คือ ดร.นราพร จันทร์โอชา หรือลูกสาวฝาแฝด คือ ธัญญาและณิฏฐา ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นสมาชิกวงดนตรีพังก์ร็อก หรือการเลือกวิถีการดำเนินชีวิตของบรรดาพระโอรสและพระธิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช บางสิ่งบางอย่างยังเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ และกองทัพไทยจะต้องตระหนักถึงนี้ หรือเสี่ยงที่จะถูกมองว่าเป็นพวกอันธพาล ซึ่งจะทำให้เสียชื่อเสียง ที่เลวร้ายยิ่งกว่า คือพวกเขาอาจจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามหลักค่านิยมหลัก 12 ประการ ที่ตัวเองได้ประกาศไว้เสียเอง โดยเฉพาะในข้อ 2 เรื่อง "จะซื่อสัตย์ จะยินดีที่จะเสียสละเพื่อคนอื่น ๆ จะใจกว้าง และยึดมั่นในหลักการเพื่อความดีร่วมกัน" และข้อ 6  "มีคุณธรรม มีความจริงใจ ปรารถนาให้คนอื่น ๆ มีความสุข เป็นคนมีน้ำใจ และแบ่งปันผู้อื่น

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท