องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติจี้ คสช. ยุติดำเนินคดี 16 นศ.

องค์กร-นักสิทธิมนุษยชนนานาชาติ เรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนักศึกษา 16 คนที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 
 
10 ก.ค. 2558 องค์กร-นักสิทธิมนุษยชนนานาชาติ เรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนักศึกษา 16 คนที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยมีรายละเอียดทั้งหมดดังต่อไปนี้
 
เรียน 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 
หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)
ทำเนียบรัฐบาล
ถนนพิษณุโลก
ดุสิต กรุงเทพฯ ประเทศไทย 
 
พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชั้น 7 ตึก 1 ถนนพระรามหนึ่ง
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย 
 
เจ้ากรมพระธรรมนูญ
สำนักงานพระธรรมนูญทหาร 
กองบัญชาการกองทัพไทย (แจ้งวัฒนะ) อาคาร 4 ชั้น 8 
ถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 ประเทศไทย 
โทรศัพท์ +66 2 575 6327
 
เรื่อง: ยกเลิกข้อกล่าวหาต่อนักศึกษา 16 คนที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน 
เรียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พลตำรวจเอก ดร.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ
 
พวกเราซึ่งเป็นหน่วยงานสิทธิมนุษยชนตามรายชื่อด้านล่าง เขียนจดหมายนี้ถึงท่านเกี่ยวกับข้อกล่าวหาและการจับกุมนักเคลื่อนไหวที่เป็นนักศึกษาและเพื่อนของพวกเขา 16 คน ประกอบด้วยเจ็ดคนจากกลุ่มดาวดินจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเก้าคนจากกรุงเทพฯ  นักศึกษาทั้ง 14 คนยังคงถูกขังอยู่ในคุก นักศึกษา 16 คนนี้ถูกตั้งข้อหาเนื่องจากการชุมนุมประท้วงอย่างสงบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ในโอกาสครบรอบหนึ่งปีของการทำรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 ในปัจจุบันนักศึกษา 14 คนที่ยังคงอยู่ในคุกถูกแจ้งข้อหาขบถภายในราชอาณาจักรเพิ่มเติม และมีการใช้อำนาจตามข้อหาดังกล่าวเพื่อจับกุมนักศึกษาทั้ง 14 คนเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 นักศึกษาทั้ง 14 คนมาจากขบวนการประชาธิปไตยใหม่ พวกเขาถูกนำตัวไปสั่งฟ้องที่ศาลทหารกรุงเทพฯ ช่วงเที่ยงคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2558  พวกเขาได้ถูกสั่งขังเป็นเวลา 12 วันระหว่างรอการพิจารณาของศาลทหารและ วันที่ 7 ก.ค. 2558  หลังจากพนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขัง 14 ผู้ต้องหาในผัดที่สอง ศาลทหารได้พิจารณาคำร้องและมีคำสั่งยกคำร้องเนื่องจากเห็นว่าไม่มีเหตุในการ ควบคุมตัวต่อ นักศึกษาและนักกิจกรรมทั้งหมดจึงจะน่าได้รับอิสรภาพในวันที่  8 กรกฎาคมเช้า 
 
นักศึกษาทั้ง 14 คนซึ่งถูกขังในเรือนจำนวน 12 วัน ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเจ็ดคน ได้แก่ นายจตุภัทร บุญภัทรรักษา นายอภิวัฒน์ สุนทรารักษ์ นายพายุ บุญโสภณ นายภาณุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ นายสุวิชา พิทังกร นายศุภชัย ภูครองพลอย และนายวสันต์ เสตสิทธิ์ ทั้งหมดถูกจับกุมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 ระหว่างการประท้วงอย่างสงบที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อต่อต้านระบอบปกครองของทหารที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน และคนยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ต่อมาพวกเขาได้รับการประกันตัว หลังจากส่งฟ้องศาลทหารจังหวัดขอนแก่นฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558  ในทำนองเดียวกัน นักศึกษาและเพื่อนทั้งเจ็ดคนที่มาจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ประกอบด้วยนายรัฐพล ศุภโสภณ นายรังสิมันต์ โรม นายทรงธรรม แก้วพันพฤกษ์ น.ส.ชลธิชา แจ้งเร็ว นายอภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์ นายปกรณ์ อารีกุล และนายพรชัย ยวนยีได้ประท้วงอย่างสงบที่ใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 พวกเขาถูกตั้งข้อหาละเมิดคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ส่วนข้อหาที่นักศึกษาและเพื่อน จำนวน 14 คนต้องเผชิญนั้นตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา เกิดขึ้นภายหลังการชุมนุมประท้วงอย่างสงบเพื่อต่อต้านระบอบทหารที่กรุงเทพฯ ทั้งในช่วงวันที่ 24 และ 25 มิถุนายน 2558 
 
เราประณามการใช้และการออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 เพราะเป็นคำสั่งของคสช.ที่อ้างอิงคำสั่งที่เคยประกาศใช้ระหว่างวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และ 1 เมษายน 2558 ส่งผลให้มีการลิดรอนสิทธิทางพลเรือนและทางการเมืองและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยอ้างความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไม่ชอบธรรม ในขณะที่มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญาเป็นการจำกัดอย่างรุนแรงต่อเสรีภาพในการแสดงออก และได้ถูกนำมาใช้เพื่อเอาผิดทางอาญากับนักเคลื่อนไหวทางการเมือง 
 
การออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางและให้การคุ้มครองรัฐบาลทหารที่ไม่ต้องถูกฟ้องร้องเพื่อรับผิด ให้อำนาจในการใช้กำลังทหารในการบังคับใช้กฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น คำสั่งเหล่านี้ส่งผลให้มีการใช้ศาลทหารและเจ้าพนักงานทหารเพื่อบังคับใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ยิ่งกว่านั้นหน่วยงานที่ใช้อำนาจตามคำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกฟ้องคดีทั้งในทางปกครองและไม่ถูกตรวจสอบจากกระบวนการทางศาล 
 
การใช้ศาลทหารกับพลเรือนเป็นการละเมิดอย่างชัดเจนต่อสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามหลักสากล ซึ่งเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อ 14 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองเมื่อปี 2539 ข้อ 14 ย่อหน้า 1 คุ้มครองสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาจาก “คณะตุลาการที่มีอำนาจ มีความเป็นอิสระ และไม่ลำเอียง” การใช้ศาลทหารกับพลเรือนจึงเป็นการละเมิดหลักการนี้ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าทหารเป็นผู้มีอำนาจเหนืออำนาจรัฐทุกสาขา ทั้งด้านบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการในปัจจุบัน ข้อ 14 ย่อหน้า 5 คุ้มครองอย่างชัดเจนให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลในลำดับถัดไปพิจารณาการตัดสินลงโทษและบทลงโทษ ซึ่งผู้ขึ้นศาลทหารในไทยจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว 
 
นอกจากนั้น เราขอประณามการข่มขู่และคุกคามกลุ่มนักศึกษา กติกา ICCPR กำหนดพันธกรณีตามกฎหมายให้รัฐภาคีต้องเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานหลายประการ รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออก (ข้อ 19) และสิทธิที่จะชุมนุมโดยสงบ (ข้อ 21) 
 
เรายังขอเรียนให้ท่านทราบถึงข้อ 17 ของกติกา ICCPR ที่คุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกแทรกแซง “ความเป็นส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน หรือการติดต่อสื่อสารโดยพลการหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย (และ) การลบหลู่เกียรติและชื่อเสียงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย” การปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐเป็นการขัดขวางโดยตรงต่อการใช้สิทธิเหล่านี้ เนื่องจากที่ผ่านมามีการข่มขู่และคุกคามกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับพวกเขาอย่างต่อเนื่อง มีการใช้เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบ (ทั้งตำรวจและทหาร) เพื่อถ่ายภาพบ้านพักของครอบครัวนักศึกษา มีการสอบปากคำพ่อแม่ของนักศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก มีการกดดันมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อให้เรียกประชุมผู้ปกครองนักศึกษา และทางการได้ให้การอบรมกับผู้ปกครองเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558   และทหาร ตำรวจ และหน่วยงานอื่น ๆ ยังขู่ที่จะดำเนินการหากนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในชุมชนไปเกี่ยวข้องกับสมาชิกกลุ่มดาวดินอีก 
 
ประการสุดท้าย การออกคำสั่งของท่านตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่คุ้มครองตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งยังมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยแม้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ที่สำคัญได้แก่ ข้อ 25 ของกติกา ICCPR ซึ่งคุ้มครองสิทธิที่จะเข้าร่วมในกิจกรรมสาธารณะของประชาชน การชะลอการเลือกตั้ง การลิดรอนสิทธิชุมชน การขัดขวางไม่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ล้วนเป็นการละเมิดข้อ 25 อำนาจเบ็ดเสร็จตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิเหล่านี้ได้
 
การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 และการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 และ 25 มิถุนายน 2558 เป็นการแสดงออกของนักศึกษาและเพื่อนเพื่อต่อต้านการละเมิดอย่างเป็นระบบและปัญหาเชิงโครงสร้างต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน  ควรเน้นว่าข้อ 19 ของกติกา ICCPR ยังคุ้มครองสิทธิของสื่อมวลชนในการเสนอความเห็นและแสดงออก ที่ผ่านมานักศึกษาเหล่านี้เพียงแต่ใช้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของตน เพื่อประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนของปวงชนชาวไทยโดยรัฐบาลทหารของท่าน การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนักศึกษาและเพื่อนเหล่านี้ อีกทั้งการคุกคามกลุ่มผู้ใกล้ชิดกับนักศึกษาเหล่านี้โดยเจ้าหน้าที่ เป็นการละเมิดโดยตรงต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  หากนักกิจกรรมและนักศึกษาเหล่านี้ถูกตัดสินจากศาลทหารว่ามีความผิด ถือได้ว่านักศึกษาและเพื่อนของพวกเขาเหล่านี้เป็นนักโทษการเมืองภายใต้รัฐบาลที่กดขี่ของท่าน
 
นักศึกษาและเพื่อนที่มีจิตใจเพื่อพลเมืองและบรรดาผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในชุมชนที่พวกเขาทำงานด้วย ควรได้รับการยกย่อง ไม่ใช่ถูกฟ้องเอาผิดทางอาญา ผู้มีจิตใจเพื่อสังคมโดยเฉพาะเยาวชนที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการโดยสงบเพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมเปิดประชาธิปไตยและมีส่วนช่วยให้เกิดความยุติธรรมทางสังคม
 
เราจึงขอเรียกร้องให้ท่าน 
 
1. ยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดและยุติการดำเนินคดีต่อนักศึกษาและเพื่อนทั้ง 16 คนรวมถึงเครือข่ายของพวกเขาโดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข  
2. ยุติการคุกคามจากเจ้าหน้าที่ทนายความของนักศึกษาและเพื่อนโดยทันที
3. ยุติการคุกคามและข่มขู่กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษาและเพื่อน รวมทั้งครอบครัวของพวกเขา เพื่อนนักศึกษา กลุ่มเพื่อนอื่น ๆ กลุ่มในชุมชนที่ให้ความสนับสนุน นักข่าวพลเมืองและนักวิชาการ  
4. ให้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ใด ๆ และมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และให้คืนอำนาจบริหารและนิติบัญญัติให้กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของพลเมืองโดยทันที 
 
ลงนาม:
 
1. ALIRAN (Malaysia) 
2. Article 19 
3. Arus Pelangi (Indonesia) 
4. ASEAN Parliamentarians for Human Rights (APHR, ASEAN) 
5. ASEAN Youth Forum (ASEAN) 
6. Association of Human Rights Defenders and Promoters (Burma/Myanmar) 
7. Arakan Observer Group (Arakan, Burma) 
8. All Arakan Students' and Youths' Congress (AASYC, Arakan, Burma) 
9. Australian Burmese Rohingya Association (ABRA, Australia) 
10. Australia Asia Worker Links (Australia) 
11. Australian Unions (ACTU, Australia) 
12. Cambodian Human Rights and Development (ADHOC, Cambodia) 
13. Centre for Development Resources (CENFORD, Vietnam) 
14. Cross-Cultural Foundation (Thailand) 
15. Committee for Asian Women and Persatuan Sahabat Wanita Selangor (Malaysia) 
16. De Nieuwe Universiteit (The Netherlands) 
17. Democratic Commission for Human Development (Pakistan) 
18. Focus on the Global South 
19. Globalization Monitor 
20. INSTITUT PEREMPUAN ,Women ‘s Institute ( Indonesia )
21. Kuala Lumpur & Selangor Chinese Assembly Hall Youth Section (KLSCAHYS, Malaysia) 
22. Malaysia Support Group for democracy in Thailand (Malaysia) 
23. Malaysian against Death Penalty & Torture (Malaysia) 
24. Malaysian Youth and Students' Democratic Movement (DEMA, Malaysia) 
25. Migrante International 
26. Myanmar Ethnic Rohingya Human Rights Organization (MERHROM, Malaysia) 
27. National Fisheries Solidarity Movement (Sri Lanka) 
28. National Free Trade Union (Sri Lanka) 
29. North South Initiative 
30. Socialist Party of Malaysia (Malaysia) 
31. Southeast Asia Women's Caucus on ASEAN (ASEAN) 
32. Pax Romana ICMICA Asia 
33. Pax Romana International Movement of Catholic Students (IMCS) Asia Pacific 
34. People Like Us Satu Hati (PLUSH, Yogyakarta, Indonesia) 
35. People’s Empowerment Foundation (Thailand) 
36. Persatuan Kesedaran Komuniti Selangor (Malaysia) 
37. Protection International 
38. Rohingya American Society (RARS, Milwaukee, USA) 
39. Rohingya Arakanese Refugee Committee (RARC, Malaysia) 
40. Rohingya Concern International (RCI, New York, USA) 
41. Rohingya Youth Development Forum (RYDF, Arakan, Burma) 
42. Think Centre (Singapore) 
43. Vietnamese Women for Human Rights (Vietnam) 
44. Worker Hub for Change (Malaysia) 
 
Individual endorsements
 
1. David Anthony 
2. David Suber, co-President of the Students Union of the London School of Oriental and African Studies (United Kingdom) 
3. Jonelle Twum, supporter from Sweden 
4. K Aingkaran, Attorney-at-Law, supporter from Sri Lanka 
5. Niza Concepcion, supporter from the Philippines 
6. Dr. Paiboon Hengsuwan, Lecturer of Department of Women’s Studies, Faculty of 
 
Social Sciences, Chiang Mai University (Thailand) 
 
7. Rahmayana Fitri, Leader of Youth Development at The Leader and Peace activist in Aceh (Indonesia) 
8. Dr. Ronald McCoy, Malaysian Physicians for Social Responsibility (Malaysia) 
9. Shruti Upadhyay 
10. S.K. Priya, 110 Law Chambers (India) 
11. William Nicholas Gomes, Human Rights Defender and Freelance Journalist (United Kingdom) 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท