Skip to main content
sharethis

โตโยต้าประเทศไทย เผยรายงานยอดขายรถยนต์ในประเทศ กุมภาพันธ์ 58 ยอดขาย 6.39 หมื่นคัน ลดลง 10.8% เมื่อเทียบช่วงเดียวกัน สาเหตุมาจากกำลังซื้อไม่ขยายตัว รายได้เกษตรกรทรงตัวในระดับต่ำเนื่องจากภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อ ขณะที่หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ด้านส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ โตโยต้า 35.2% อีซูซุ 18.4% ฮอนด้า 13.8% 

5 เม.ย. 2558 - นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ภายในประเทศ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาว่า มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 63,949 คัน  ลดลง 10.8%  ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 25,425 คัน ลดลง 12.5%  รถเพื่อการพาณิชย์   38,524 คัน ลดลง 9.6% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 30,719 คัน ลดลง 12.6%

ในรายงานสถิติของ โตโยต้า ประเทศไทย ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 26 มี.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่า ตลาดรถยนต์เดือนกุมภาพันธ์ มีปริมาณการขาย 63,949 คัน ลดลง 10.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 12.5% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 9.6% เนื่องจากกำลังซื้อที่ยังไม่ขยายตัว อันเป็นผลมาจากภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อผลิตผลทางการเกษตร ทำให้รายได้เกษตรกรทรงตัวในระดับต่ำ และส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อ

ในส่วนของตลาดรถยนต์สะสม 2 เดือน รายงานของโตโยต้าเปิดเผยว่า มีปริมาณการขาย 123,670 คัน ลดลง 11.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 12.0% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 11.7% เป็นผลต่อเนื่องมาจากภาระหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย

ขณะที่ ตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคม แนวโน้มทรงตัว จากเสถียรภาพทางการเมืองที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดี ควบคู่ไปกับจากการเร่งรัดการใช้จ่ายและการดำเนินโครงการที่สำคัญของภาครัฐ ประกอบกับการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ จากค่ายรถยนต์ต่างๆ ตลอดจนการจัดงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ในช่วงปลายเดือนมีนาคม ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญในการกระตุ้นการเติบโตของตลาดรถยนต์ แต่อย่างไรก็ตามดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลง จากความกังวลต่อความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้เกิดความกังวลต่อการฟื้นตัวของการส่งออก รวมทั้งกำลังซื้อโดยรวมในประเทศมีสัญญาณชะลอตัว ส่งผลให้แนวโน้มตลาดรถยนต์ในเดือนมีนาคมยังอยู่ในสภาวะทรงตัว

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ในรายงานของโตโยต้า ประเทศไทย มีดังนี้

000

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 63,949 คัน ลดลง 10.8%                              

อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,516 คัน ลดลง 17.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ   11,758 คัน ลดลง 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า  8,793 คัน เพิ่มขึ้น 17.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.8%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,425 คัน ลดลง 12.5%                                

อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,568 คัน ลดลง 27.9%  ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า  6,622 คัน เพิ่มขึ้น 6.5%  ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ  1,798 คัน ลดลง 18.2%  ส่วนแบ่งตลาด  7.1%

3. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย  30,719 คัน ลดลง 12.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,041 คัน ลดลง 10.4%  ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ  10,861 คัน ลดลง 13.1%  ส่วนแบ่งตลาด 35.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ  2,527 คัน ลดลง 25.8%  ส่วนแบ่งตลาด  8.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,521 คัน
อีซูซุ 1,007 คัน – โตโยต้า 908 คัน – มิตซูบิชิ 513 คัน - เชฟโรเลต 90 คัน - ฟอร์ด 3 คัน

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 28,198 คัน ลดลง 8.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,133 คัน ลดลง 5.0%  ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ   9,854 คัน ลดลง 5.7%  ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ  2,014 คัน ลดลง 30.6%  ส่วนแบ่งตลาด  7.1%

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 38,524 คัน ลดลง 9.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,948 คัน ลดลง 7.8%  ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ  11,758 คัน ลดลง 12.4%  ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 3 นิสสัน  3,077 คัน เพิ่มขึ้น   11.0%  ส่วนแบ่งตลาด  8.0%

 

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2558

1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 123,670 คัน ลดลง 11.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 42,610 คัน ลดลง 20.4% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ   22,960 คัน ลดลง 12.7% ส่วนแบ่งตลาด 18.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 18,892 คัน เพิ่มขึ้น 42.6% ส่วนแบ่งตลาด 15.3%

2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 48,830 คัน ลดลง 12.0%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,011 คัน ลดลง 27.3%  ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 14,309 คัน เพิ่มขึ้น 32.5%  ส่วนแบ่งตลาด 29.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน  3,184 คัน ลดลง 28.5%  ส่วนแบ่งตลาด  6.5%

3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย  59,457 คัน ลดลง 15.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,802 คัน ลดลง     16.1%  ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ  21,212 คัน ลดลง     13.3%  ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ  5,171 คัน ลดลง     19.1%  ส่วนแบ่งตลาด  8.7%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 5,023 คัน อีซูซุ 2,034 คัน – โตโยต้า 1,806 คัน – มิตซูบิชิ 1,000 คัน - เชฟโรเลต 179 คัน - ฟอร์ด 4 คัน

4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 54,434 คัน ลดลง 11.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,996 คัน ลดลง 11.4%  ส่วนแบ่งตลาด 38.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ  19,178 คัน ลดลง 6.9%  ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ  4,171 คัน ลดลง 20.3%  ส่วนแบ่งตลาด  7.7%

5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 74,840 คัน ลดลง 11.7%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 24,599 คัน ลดลง 14.5%  ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ  22,960 คัน ลดลง 12.7%  ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน  5,839 คัน เพิ่มขึ้น 4.5%  ส่วนแบ่งตลาด 7.8%

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net